ทารกดิ้นในครรภ์ เห็นชัดมาก ด้วยเครื่องสแกน MRI - amarinbabyandkids

เครื่อง MRI เอ็มอาร์ไอ สแกนดูทารกในครรภ์แนวใหม่ เห็นชัดเว่อร์!

event

ในคลิปวีดีโอสั้น ๆ นี้จะเห็นการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์แม่อย่างชัดเจน การใช้เทคโนโลยี MRI แบบใหม่นี้ Dr. David Lloyd แห่งลอนดอน ผู้คิดวิธีการสแกนแบบใหม่นี้กล่าวว่า การดูเด็กทารกจากวิธีนี้จะเห็นหัวใจ สมอง และอวัยวะสำคัญหลายอย่างชัดเจนกว่าการอัลตร้าซาวด์ หลายเท่า

ส่วนใหญ่การตรวจ MRI ของทารกในครรภ์ มีประโยชน์ในการตรวจหาความผิดปกติในไตรมาสที่ 2 และ 3 MRI ไม่มีบทบาทมากนักในการตรวจทารกในไตรมาสที่ 1 เนื่องจากเหตุผล 2 ประการ คือ

  • ในไตรมาสที่ 1 ทารกอยู่ในช่วงสร้างอวัยวะของร่างกาย (organogenesis) อาจมีความเสี่ยงแต่การได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามากขึ้น
  • ทารกยังมีขนาดเล็ก ทำให้ตรวจหาความผิดปกติได้ยาก ในระยะนี้การตรวจทารกด้วยอัลตร้าซาวด์มีความละเอียดชัดเจนมากกว่า

อย่างไรก็ตาม หากการตรวจ MRI เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของคุณแม่ท้อง สามารถทำในไตรมาสใดก็ได้ หากแพทย์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการตรวจมีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยและรักษาของมารดามากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อทารกในครรภ์

√ ความปลอดภัยของการตรวจ MRI ของทารกในครรภ์

ทารกดิ้นในครรภ์

ก่อนที่จะส่งผู้ป่วยเข้าตรวจ MRI ผู้ป่วยควรรับทราบประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการตรวจ นอกจากนั้นควรให้ผู้ป่วยลงนามในหนังสือยินยอมการตรวจทุกครั้ง
ความเสี่ยงของการตรวจ MRI ของทารกในครรภ์ นั้นมีน้อยมาก ไม่มีผลการวิจัยในมนุษย์ที่สามารถยืนยันได้ว่าการตรวจ MRI ในช่วงเวลาสั้นๆมีผลต่อการสร้างอวัยวะและพัฒนาการของทารกในครรภ์ ผลการวิจัยในสัตว์ทดลองโดยการตรวจ MRI ในสัตว์ที่ตั้งครรภ์โดยใช้คลื่น MRI ที่มีความเข้มข้นสูงและให้เป็นเวลานาน พบว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีผลต่อการสร้างอวัยวะ โครโมโซม และการพัฒนาของเด็ก (1, 2) อย่างไรก็ตามไม่พบว่ามีผลดังกล่าวในมนุษย์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

♥ ข้อห้ามในการตรวจ MRI ในคุณแม่ตั้งครรภ์

ทารกดิ้นในครรภ์

ข้อห้ามของการตรวจคือข้อห้ามในการตรวจ MRI ทั่วไป เช่น มีคลิปของเส้นเลือดโป่งพองในสมอง ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ผู้ที่กลัวที่แคบ (claustrophobic) หญิงที่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 อาจรู้สึกไม่สบายหากนอนหงายเวลาตรวจเป็นเวลานานๆ ซึ่งสามารถช่วยได้โดยการตรวจในท่านอนตะแคง

อย่างไรก็ดีการสแกนดูทารกในครรภ์ด้วยเครื่อง MRI แบบใหม่นี้ยังอยู่ในช่วงพัฒนาโครงการอยู่ค่ะ ยังไม่มีใช้ตามโรงพยาบาลทั่วไป แต่ในอนาคตอีกไม่นานนี้คาดว่าจะถูกนำมาใช้ทั่วโลกอย่างแน่นอน ถ้ามีความคืบหน้าในเรื่องนี้ทางทีมงานจะรีบนำมาแจ้งให้ทราบทันทีค่ะ

อ่านต่อบทความอื่นน่าใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.vcharkarn.com , rachvipamri.com

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up