ตั้งครรภ์ เตรียมตัวตั้งครรภ์ การดูแลครรภ์ การคลอด และหลังคลอด - Amarin Baby & Kids

เรียลพาเรนต์ส เดอะซีรีส์ 2 ตอน เป็นได้แค่ “ที่สอง” ฉันก็พอใจ

ฉันเป็นหมอที่ดูแลอนุรีย์ ฉันไม่ได้เห็นด้วยกับการเป็นเมียน้อยใคร แต่ฉันเพิ่งพบคนที่มีความสุข สมหวัง เพราะเป็นเมียน้อย เป็นคนแรกในชีวิตการเป็นหมอ

การทำกิฟท์ยังมีอยู่หรือไม่?

วิธีการทำ กิฟท์ (GIFT: Gamete intrafallopian transfer) ที่ช่วยให้ผู้มีบุตรยาก มีลูกกันสมใจที่เคยได้ใช้กันนั้น ปัจจุบันไม่นิยมทำและเลิกทำกันมานานแล้ว เพราะวิธีทำกิฟท์ต้องผ่าตัดผ่านทางหน้าท้อง คือเราจะเก็บไข่มาแล้วนำอสุจิมาวางไว้รอบๆ ไข่ให้ผสมกัน เมื่อผสมเสร็จแล้วก็ใส่หลอด แล้วเจาะรู ฉีดเข้าไปในปีกมดลูก ขั้นตอนยุ่งยากและต้องเจ็บตัวมาก และสมัยก่อนกระบวนการทางห้องทดลองยังไม่ดีเหมือนปัจจุบัน แต่ขณะนี้กระบวนการในห้องปฏิบัติการต่างๆ มีความทันสมัย แม่นยำ และได้ผลดี จึงไม่นิยมทำกิฟท์ และเปลี่ยนมาเป็น ไอวีเอฟ อิ๊กซี่ และบลาสโตซิสท์ กันในปัจจุบันนั่นเอง วิทยาศาสตร์ช่วยให้ตัวอ่อนฝังหรือตั้งครรภ์ไม่ได้ สิ่งสำคัญที่อยากให้คู่สมรสทุกท่านที่ใช้เทคโนโลยีช่วยในการมีลูกได้เข้าใจ นอกจากการที่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถบังคับให้ไข่กับอสุจิปฏิสนธิกันได้แล้วนั้น หลังจากทำไอวีเอฟ อิ๊กซี่ และบลาสโตซิสท์แล้วเมื่อนำกลับไปใส่หรือหยอด วิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถบังคับให้ตัวอ่อนฝังในมดลูกคุณแม่ได้ เนื่องจากการนำตัวอ่อนไปใส่ ไม่ใช่การนำไปฝัง หลายท่านมักเข้าใจว่าเวลานำตัวอ่อนใส่คืนให้ หมอจะเอาไปฝัง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะหมอจะนำไปหยอดในจุดที่ตัวอ่อนควรจะฝังเท่านั้น แต่การจะฝังในมดลูกหรือไม่อยู่ที่ตัวลูกกับตัวของคุณแม่ที่ต้องมีความพร้อมอย่างเหมาะสมจึงจะเกิดการฝังหรือตั้งครรภ์เป็นผลสำเร็จ   จากคอลัมน์ Get Pregnant นิตยสารเรียลพาเรนติ้ง ฉบับเดือนสิงหาคม 2558 เรื่องโดย นพ.สันธา ศรีสุภาพ หัวหน้าหน่วยผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลราชวิถี เรียบเรียงโดย กองบรรณาธิการ […]

บลาสโตซิสท์ ช่วยให้มีลูกคืออะไร

คราวนี้เรียลพาเรนต์สขอนำเสนอวิธีการล่าสุดที่ช่วยแก้ปัญหาคู่สมรสที่มีบุตรยาก นั่นคือ การทำ บลาสโตซิสท์ มาอธิบายให้เข้าใจกันมากยิ่งขึ้นค่ะ

เรียลพาเรนต์ส เดอะซีรีส์ 1 ตอน ลูกฉันเป็นทารกกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด

เรียลพาเรนต์ส เดอะซีรีส์ 1 / เรื่องจริงของแม่ที่หมออยากแบ่งปัน “ลูกฉันเป็นทารกกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด!!”   ฉันชื่อรวีวรรณ (ชื่อสมมุติ) ตอนนี้อายุ 33 ปี มีลูกชายแล้วหนึ่งคน ฉันเคยแต่งงานมาก่อน สามีเป็นลูกชายคนเล็กในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 4 คน แต่แรกชีวิตครอบครัวก็มีความสุขดี สามีมีอาชีพเป็นเกษตรกร ขยันขันแข็งมาก สร้างฐานะให้พ่อแม่ จนซื้อที่นาเพิ่มได้เป็นร้อยไร่ เมื่อมีลูก สามีเริ่มเก็บเงินที่เคยแบ่งให้พ่อแม่พี่น้องไว้ให้ลูก เหตุการณ์มาเกิดขึ้นเมื่อพ่อแม่สามีแบ่งมรดกให้ลูกๆ และให้สามีของฉันมากกว่าใคร ต่อจากนั้นการยุแยงตะแคงรั่วก็เกิดขึ้น พี่น้องของสามีใส่ความว่าฉันเป็นคนขี้เกียจ ชอบแต่เรื่องสนุกสนาน บอกพ่อแม่สามีว่า ฉันยุยงสามี ไม่ให้ช่วยเหลือพ่อแม่และพี่ๆ เหมือนดังแต่ก่อน น้ำหยดลงหินทีละหยดหินยังกร่อน นับประสาอะไรกับเสียงที่กรอกหูสามีทุกวัน สามีเริ่มเหินห่างจากฉัน เอาลูกไปนอนบ้านพ่อแม่ เมื่อสืบก็พบว่าพ่อแม่สามีหาแฟนใหม่ให้สามี เมื่อทะเลาะกัน สามีก็หอบลูกไปอยู่บ้านพ่อแม่สามี ไม่กลับมาอยู่กับฉันอีก ฉันทั้งเสียใจ ทั้งเหงา จึงไปอาศัยอยู่กับเพื่อนที่เปิดร้านคาราโอเกะ จึงได้รู้จักยุทธ (ชื่อสมมุติ) เขาอายุอ่อนกว่าฉัน 10 ปี เป็นลูกคนเดียวของพ่อแม่ที่เปิดฟาร์มเลี้ยงหมูขนาดใหญ่ รู้จักกันไม่นาน ฉันก็ย้ายไปอยู่บ้านของยุทธ พ่อแม่พี่น้องของเขาให้การต้อนรับฉันดีมาก ทุกคนอยากให้ฉันมีลูก เพราะไม่เคยมีเด็กในบ้านมาก่อน […]

เรียลพาเรนต์ส เดอะซีรีส์ 4 ตอน ต่อให้รู้ว่าลูกพิการ ฉันก็ไม่มีวันทำแท้ง

เรียลพาเรนต์ส เดอะซีรีส์ 4 / เรื่องจริงของแม่ที่หมออยากแบ่งปัน ต่อให้รู้ว่าลูกพิการ ฉันก็ไม่มีวันทำแท้ง เสี้ยวจันทราบนท้องนภา เป็นรูปเคียวสีเหลืองนวลราวจะคล้องโลกหล้า แผ่รัศมีกระจายเป็นชั้น ๆ รอบล้อมด้วยหมู่ดวงดาวกะพริบกะพราวเต็มผืนฟ้าที่มีสีดำสนิท โอ…โลกเราสวยเหลือเกิน เหมือนเทพยดามาเนรมิต…ฉันคิดในใจ ขณะยืนชมจันทร์ที่บนระเบียงบ้าน สามีใช้ไม้ค้ำยันเดินมา ฉันหันไปหาเขา เขาโอบไหล่ฉัน มองท้องที่เริ่มนูนของฉัน ยิ้มอย่างดีใจเมื่อบอกฉันเบา ๆ ว่า ขอบคุณของขวัญจากสรวงสวรรค์ ฉันชื่อจินตนา (ชื่อสมมุติ) อายุ 34 ปี สามีอายุเท่ากัน แต่งงานมาสิบปีไม่มีลูก จึงไปปรึกษาเรื่องมีลูกยากกับหมอพรรณี (ชื่อสมมุติ) หมอตรวจเช็คทุกอย่างอย่างละเอียด สรุปว่าเป็นเพราะสามีน้ำเชื้ออ่อน และฉันไม่มีไข่ตก หมอว่าเราสองคนอาจเครียดไป หมอจัดยาให้ฉันและสามีกิน แนะนำให้ไปพักผ่อน ไม่น่าเชื่อว่า 6 เดือนหลังรักษา ฉันก็ตั้งครรภ์ ฉันรีบไปฝากท้องกับหมอพรรณี เจาะเลือดฉีดวัคซีนทำตามคำแนะนำของหมอทุกอย่าง ความดีใจที่จะมีลูกน้อย ทำให้ฉันและสามีมีความสุขมาก แม้ตอนที่ฉันตั้งครรภ์ 2 เดือน สามีได้รับอุบัติเหตุ รถคว่ำ กระดูกแขนขาหัก ใบหน้าเป็นแผล สามียังบอกว่า เป็นมากกว่านี้ก็ยอม […]

หาชมยาก สายสะดือฝาแฝดพันกันเป็นเปีย แพทย์ทึ่งเด็กรอดชีวิต

คู่แฝดร่วมถุงน้ำคร่ำรอดชีวิตจากภาวะรกพันกันอย่างน่ามหัศจรรย์ คุณแม่นำเรื่องราวของทั้งคู่มาแชร์ให้เป็นกำลังใจแก่เหล่าคุณแม่มือใหม่

พยาบาลแนะ! อุ้มลูก ถูกท่าช่วยลูกน้อยมีพัฒนาการดี!!

เพราะทารกแรกเกิดยังบอบบาง คอ และกระดูกยังไม่แข็งแรง การ อุ้มลูก จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ มาดูคำแนะนำจากพยาบาลให้พ่อแม่ได้อุ้มทารก เพื่อกระตุ้นพัฒนาการกันค่ะ

ตั้งครรภ์ อายุมาก แต่ท้องได้สบายใจ (ไตรมาส 2)

ในช่วงไตรมาสนี้ มี 2 เรื่องที่คุณหมอแนะนำให้แม่ท้องอายุมากควรรู้และใส่ใจตรวจค่ะ

ตั้งครรภ์ อายุมาก แต่ท้องได้สบายใจ (ไตรมาส 3)

ไตรมาสที่ 3 ขนาดท้องของคุณแม่ใหญ่ขึ้น จึงอาจทำให้กังวลมากกว่าช่วงไตรมาสอื่นๆ ทว่า… ไม่ต้องกังวลไปค่ะ มีอีกสองสิ่งที่คุณแม่ควรตรวจเพื่อความมั่นใจ!

ตั้งครรภ์ อายุมาก แต่ท้องได้สบายใจ (ไตรมาส 1)

สมัยนี้คุณแม่จะมีลูกกันเมื่ออายุมากขึ้น แต่หากตรวจพบเร็วในช่วงอายุครรภ์ที่เหมาะสม จะช่วยให้สบายใจได้ค่ะ

39 สัปดาห์แล้ว ลูกยังไม่เอาหัวลง อันตรายไหมคะ

ตอนนี้อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ค่ะ แต่ยังไม่มีอาการว่าจะเจ็บท้องคลอดเลย คุณหมออัลตร้าซาวนด์ดูแล้วบอกว่า ลูกกลับหัวแล้วแต่หัวยังไม่ลง ตอนนี้รู้สึกกังวลมากจริงๆ ค่ะ

พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ อายุ 12-14 สัปดาห์

พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ อายุ 12-14 สัปดาห์ ช่วงลำตัวของลูกน้อยจะโตเร็วกว่าส่วนศีรษะ สามารถหรี่ตา ขมวดคิ้ว หน้าบึ้ง ดูดนิ้ว กำมือ ได้แล้ว

พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ อายุ 28-41 สัปดาห์

พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ อายุ 28-41 สัปดาห์ สมองของลูกน้อยมีรอยย่นมากขึ้น

พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ อายุ 8-10 สัปดาห์

พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ อายุ 8-10 สัปดาห์ ลูกน้อยจะเริ่มมีเค้าโครงของใบหน้า เห็นจมูก ริมฝีปาก หู

พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ อายุ 4-6 สัปดาห์แรก

พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ อายุ 4-6 สัปดาห์แรกมีขนาดเท่าลูกพลัม

Ultrasound ไตรมาส 3

ในไตรมาส 3 นี้จะตรวจตามวินิจฉัยของแพทย์ และ/หรือมีสัญญาณของภาวะผิดปกติ เราจะได้ข้อมูลสำหรับการวางแผนการคลอด รวมถึงตรวจติดตามการเจริญเติบโตของทารกและระมัดระวังภาวะผิดปกติต่างๆ

Ultrasound ไตรมาส 2

ส่วนใหญ่ตรวจอัลตราซาวนด์ในช่วงกลาง คือประมาณสัปดาห์ที่ 16-20 เนื่องจากร่างกายทารกเจริญเติบโตจนดูโครงสร้าง อวัยวะ เพศ รวมถึงข้อบ่งชี้ความผิดปกติต่างๆ ได้แล้ว

Ultrasound ไตรมาส 1

การตรวจอัลตราซาวนด์ในช่วงไตรมาสแรกเป็นอย่างไร ตรวจเพื่ออะไร และตรวจอย่างไร หากไม่สะดวกหรือประจำเดือนไม่ปกติจนรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ช้า จะทำอย่างไร เรามาเรียนรู้ไปพร้อมกันๆ ค่ะ

keyboard_arrow_up