ตั้งครรภ์
ตั้งครรภ์ คู่มือแม่ท้อง ที่ให้ข้อมูลครบตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์ การดูแลครรภ์ของคุณแม่ท้อง การเตรียมตัวคลอดอย่างปลอดภัย
และเรื่องน่ารู้คุณแม่หลังคลอด เพื่อให้คุณแม่มีครรภ์คุณภาพ และลูกน้อยสุขภาพดี
ลูกตัวใหญ่แต่อยากคลอดธรรมชาติ ได้หรือไม่
ถ้าหากลูกในครรภ์ของว่าที่คุณแม่แลดูตัวใหญ่ จะคลอดธรรมชาติได้ไหม ยากแค่ไหนกันนะ?
คุณแม่มือใหม่เครียด… ฟังทางนี้เลยจ้า
สำหรับหญิงสาวที่กำลังจะเตรียมตัวเป็นคุณแม่ เชื่อว่าจะต้องตื่นเต้น กังวลกันทุกคน
4 เทคนิค ลดปัญหาเลือดกำเดาไหลแม่ท้อง
ว่าที่คุณแม่หลายคนต้องรำคาญใจกับอาการเลือดกำเดาไหล เพราะระดับฮอร์โมนทำให้หลอดเลือดในโพรงจมูกขยายตัว ปริมาณเลือดก็มากขึ้น เพิ่มแรงดันในหลอดเลือดให้มากขึ้นจนหลอดเลือดฝอยแตกง่าย นอกจากนี้ ช่วงตั้งครรภ์ เยื่อบุผิวในโพรงจมูกของคุณแม่จะแห้งเป็นพิเศษ ยิ่งถ้าอยู่ในที่ที่อากาศเย็นและแห้งอย่างห้องปรับอากาศ เลือกกำเดาก็ยิ่งไหลง่ายขึ้น หรือบางทีอาการไซนัสอักเสบหรือการติดเชื้อในโพรงจมูกอื่นก็อาจทำให้เกิดเลือดกำเดาไหลได้เหมือนกัน 1. ดื่มน้ำมากขึ้น เพื่อให้เยื่อบุผิวโพรงจมูกที่ผลิตน้ำมูกชุ่มชื้นขึ้น 2. หายใจเบาๆ การสูดลมหายใจหรือสูดน้ำมูกแรงๆ อาจกระตุ้นให้หลอดเลือดฉีกขาดได้ 3. หลีกเลี่ยงที่ที่อากาศแห้ง ถ้าต้องอยู่ในห้องปรับอากาศตลอดทั้งวัน ควรมีเครื่องเพิ่มความชื้น หรือเดินออกจากห้องเพื่อเปลี่ยนอากาศบ้าง 4. ถ้าจะจาม พยายามอ้าปากให้กว้างขึ้นเพื่อลดแรงดันในจมูก ที่มา: กองบรรณาธิการเรียลพาเรนติ้ง ภาพ: shutterstock
แม่ท้องรับมือ โรคผิวหนัง
ปกติผิวของแม่ท้องก็คล้ำขึ้นเพราะฮอร์โมนอยู่แล้ว แต่เรื่องผิวคล้ำยังไม่น่ากลัวเท่าอาการผิวไหม้หรือแสบร้อนเพราะโดนแดดเผา ซึ่งอาจทำให้ผิวไหม้ เกิดผดผื่น และอาการคัน ซ้ำยังนำไปสู่โรคมะเร็งผิวหนังได้
แม่ท้องกับปัญหาการนอน 3 ไตรมาส
สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ การนอนหลับถือเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นมากกว่าคนทั่วไป เพราะร่างกายของคุณแม่ต้องการการพักผ่อนและควรนอนหลับอย่างมีคุณภาพ
ทำไมแม่ท้องถึงฝันร้ายบ่อย
หากว่าที่คุณแม่มีความรู้สึกว่าตั้งแต่ท้อง เหมือนจะฝันร้ายบ่อย และไม่อยากคิดว่าเป็นลางไม่ดี เรื่องนี้มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์รองรับไหม?
คุมกำเนิดหลังคลอด เมื่อไหร่? อย่างไรดี!
คำถามยอดฮิตหลังคลอด “แล้วจะคุมกำเนิดเมื่อไรดีล่ะ?”
เมื่อแม่ท้องต้องเฝ้าไข้
ท้องได้ 4 เดือน คุณสามีก็มีเหตุต้องผ่าตัดต่อมทอมซิลค่ะ ที่บ้านอยู่กันแค่ 2 คน สงสัยว่าดิฉันจะต้องเป็นคนไปเฝ้าไข้เขาที่โรงพยาบาลเอง จะเป็นอะไรไหมคะ?
8 คำถามคาใจ เรื่อง “เซ็กซ์ตอนตั้งครรภ์”
ถึงว่าคุณแม่จะตั้งครรภ์อยู่แต่คู่รักก็ต้องมีช่วงเวลาอยากจะจู๋จี๋กันอยู่แล้วถูกไหมคะ แต่ด้วยความที่ลูกน้อยอยู่ในพุง คุณแม่หรือแม้แต่คุณพ่อเองก็คงกังวลสารพัดว่ามีแล้วจะมีผลกระทบอะไร หรือแตกต่างจากตอนปกติไหม เราขออาสาไขคำตอบให้คุณ!
การนับวันไข่ตก เขานับกันยังไง?
แค่กุ๊กกิ๊กให้ถูกช่วงเวลา คุณก็อาจจะมีลูกได้ไม่ยาก มาคำนวณวันไข่ตกกันนะคะ
คลอดแล้ว 3 เดือน ทำไมยังมีเลือดออก
ปรกติหลังคลอดบุตรคุณแม่จะมีน้ำคาวปลาซึ่งมีสีแดงไหลในช่วง 2 อาทิตย์แรก จากนั้นน้ำคาวปลาจะเปลี่ยนสีเป็นน้ำใสๆ แต่ถ้ามีออกนานถึง 3 เดือน ถือว่าเป็นอาการผิดปกติ
คลอดก่อนกำหนดเมื่อไร ลูกจึงจะปลอดภัย
ต้องอายุครรภ์กี่สัปดาห์จึงจะปลอดภัยถ้าคุณแม่เกิดมีเหตุสุดวิสัยที่ต้องคลอดก่อนกำหนด
กิน ‘กรดโฟลิก’ ก่อนท้อง ดีจริงไหม?
วางแผนจะมีลูก เพื่อนแนะนำว่า ควรกินกรดโฟลิกเสริมก่อนปล่อยท้อง กรดโฟลิกเสริมนี้มีประโยชน์จริงหรือ
มีลูกไม่ง่าย เพราะคุณต้องพร้อมมากๆ ทั้งสองคน!
สำหรับคู่สมรสที่กำลังวางแผนมีลูกคล้องใจ เรามีให้อ่านตั้งแต่การเตรียมพร้อมกายใจเพื่อมีลูก ไปจนถึงเทคโนโลยีที่ช่วยมีลูกในปัจจุบัน
ปัจจัยเสี่ยงที่ควรมาตรวจ ว่าพร้อมมีลูกหรือไม่?
หากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ควรพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการมีบุตรค่ะ
เตรียมตัวท้องอย่างไร..ในวัย 40
ถึงจะย่างเข้าวัย 40 ก็ท้องได้ปลอดภัย ราบรื่น เพียงรู้จักข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวังต่างๆ หากพร้อมแล้ว เรามาศึกษาไปด้วยกันนะคะ
Birth Plan แผนการคลอด
ถ้าคุณแม่เปิดเวบไซต์หรืออ่านตำราของต่างประเทศ จะได้เห็นคำว่า ‘Birth Plan’ บ่อยๆ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมตัวตั้งครรภ์ของคุณแม่ทางฝั่งตะวันตก Birth plan หรือ แผนการคลอด คือ บันทึกที่ระบุความต้องการและความตั้งใจของคุณแม่ เกี่ยวกับวันคลอด เช่น วิธีการคลอด คนที่จะคอยให้กำลังใจในห้องคลอด จะเตรียมอะไรไประหว่างรอคลอดฯลฯ เมื่อเขียนเสร็จแล้ว คุณแม่ชาวตะวันตกจะทำสำเนา 2 ชุด ชุดหนึ่งมอบให้สูติแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ (Midwife) ส่วนอีกชุดเก็บไว้กับตัว ถ้าหากอยากเปลี่ยนใจแก้ไขหัวข้อไหน ระหว่างที่ตั้งครรภ์ ก็สามารถปรับแก้ไปได้เรื่อยๆ ถ้าคุณแม่คนไทยสนใจจะจับปากกามาเขียน Birth Plan บ้างก็เป็นเรื่องดี เพราะจะได้ทบทวนความต้องการและความตั้งใจก่อนจะนำไปปรึกษาสูติแพทย์ประจำตัวอีกครั้ง เพื่อให้การคลอดครั้งนี้น่าประทับใจและน่าจดจำค่ะ เรื่องโดย: แพทย์หญิงกันดาภา ฐานบัญชา ภาพ: shutterstock
“เสียงหัวเราะ” ยาวิเศษ สำหรับคนมีบุตรยาก
คำกล่าวที่ว่า “เสียงหัวเราะเป็นยาวิเศษ” ไม่ใช่คำกล่าวเกินจริง แม้แต่ ‘ภาวะมีบุตรยาก’ เสียงหัวเราะก็อาจช่วยแก้ไขได้ ผลวิจัยจากประเทศเกาหลีใต้ชี้ว่า การหัวเราะส่งผลดีต่อการทำเด็กหลอดแก้ว ช่วยให้คุณแม่คลายความเครียดและความกังวลลง ทำให้โอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้น เริ่มต้นจากการผ่อนคลายความเครียด ควรหาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าทำงานหนักเกินไป ที่สำคัญคือ อย่ารู้สึกผิด หรือโทษว่าเป็นความผิดของสามีหรือภรรยา ที่ทำให้พวกคุณไม่มีลูก ควรให้กำลังใจกันและกัน มอบรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กันวันละหลายๆ ครั้ง ถ้าพ่อแม่สุขภาพจิตดี โอกาสจะมีบุตรก็มากขึ้น แถมยังเตรียมจิตใจให้พร้อม ก่อนเจ้าตัวเล็กจะมาเยือนด้วย บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง ภาพ: shutterstock