คนท้องกินกระชายได้ไหม? อันตรายต่อลูกในท้องหรือไม่? - Amarin Baby & Kids
คนท้องกินกระชายได้ไหม

คนท้องกินกระชายได้ไหม? อันตรายต่อลูกในท้องหรือไม่?

Alternative Textaccount_circle
event
คนท้องกินกระชายได้ไหม
คนท้องกินกระชายได้ไหม

ที่ผ่านมา กระชาย ได้รับการแชร์ข้อมูลกันอย่างมากว่าอาจมีสรรพคุณในการป้องกันโรคโควิด มาดูกันว่าจริงหรือไม่? และ คนท้องกินกระชายได้ไหม? อันตรายต่อลูกในท้องหรือเปล่า?

คนท้องกินกระชายได้ไหม? อันตรายต่อลูกในท้องหรือไม่?

กระชาย มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และกระชายเหลือง โดยกระชายเป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยต่างรู้จักกันเป็นอย่างดี สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำมาใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในแกงป่า หรือผัดต่าง ๆ โดยส่วนที่นิยมนำมาใช้ประกอบอาหารกันมากที่สุดคือ รากสะสมอาหาร หรือที่เรียกว่า “นมกระชาย” ซึ่งรากกระชายนี้จะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สามารถใช้เป็นผักจิ้มได้โดยตรง แต่คนส่วนใหญ่มักจะนิยมนำมาใช้เป็นเครื่องแกงซะมากกว่า เพราะมีคุณสมบัติในการช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์เนื้อปลาได้เป็นอย่างดี

สมุนไพรกระชาย มีสรรพคุณทางยานานับประการ จนได้ชื่อในวงการแพทย์แผนไทยว่าเป็น “โสมไทย” เนื่องจากกระชายกับโสมมีความคล้ายคลึงกันหลายอย่าง เช่น สรรพคุณในการบำรุงกำลังและเสริมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสมุนไพรทั้งสองชนิด ทั้งกระชายและโสมต่างก็เป็นพืชที่มีส่วนสะสมอาหารที่ใช้เป็นยาอยู่ใต้ดินเหมือนกัน แถมยังสามารถเรืองแสงในที่มืดได้เหมือนกันด้วย

คนท้องกินน้ำกระชายได้ไหม
คนท้องกินน้ำกระชายได้ไหม

ประโยชน์ของกระชาย

  • สามารถนำมาทำเป็นน้ำกระชายปั่น ดื่มเพื่อเพิ่มความสดชื่น บำรุงร่างกาย ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าได้เป็นอย่างดี
  • น้ำกระชายช่วยทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่ายิ่งขึ้น
  • ช่วยทำให้เส้นผมแข็งแรง เปลี่ยนผมขาวให้กลับเป็นดำ ช่วยทำให้ผมบางกลับมาหนาขึ้น และช่วยแก้ปัญหาผมหงอก ผมร่วงได้
  • รากนำมาใช้เป็นเครื่องแกงในการประกอบอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อและปลาได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาดุก ปลาไหล ปลากุลา เป็นต้น และยังทำให้อาหารมีกลิ่นและรสที่หอมแบบเป็นเอกลักษณ์อีกด้วย
  • รากกระชายสามารถช่วยไล่แมลงได้ ด้วยการนำตะไคร้ ข่า หอมแดง ใบสะเดาแก่ นำมาตำผสมกันแล้วใช้ผสมกับน้ำฉีดในบริเวณที่มีแมลงรบกวน

สรรพคุณของกระชาย

  • กระชายเหลืองมีสรรพคุณช่วยแก้ลมวิงเวียน แน่นหน้าอก
  • ช่วยบำรุงกำลัง เสริมสมรรถภาพทางเพศ
  • บำรุงหัวใจ
  • ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยทำให้กระดูกไม่เปราะบาง
  • ปรับสมดุลของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย
  • ช่วยบำรุงสมอง เพราะช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนกลางได้ดีมากขึ้น
  • ช่วยปรับสมดุลของความดันโลหิตในร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิตเมื่อความดันโลหิตสูง แต่เมื่อความดันโลหิตต่ำก็จะช่วยทำให้ความดันเพิ่มขึ้นจนเป็นปกติ
  • เหง้าใต้ดินมีรสเผ็ดร้อนและขม มีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดท้อง มวนในท้อง อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ช่วยบำรุงตับและไตให้แข็งแรง ช่วยรักษาโรคไต ช่วยทำให้ไตทำงานได้ดียิ่งขึ้น
  • ช่วยขับน้ำคาวปลาของสตรีหลังคลอดบุตร
  • ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ด้วยการใช้เหง้าหรือรากแก่ ๆ นำมาหั่นเป็นแว่นบาง ๆ แล้วนำไปตากแห้งและนำมาชงกับน้ำดื่ม (ราก, เหง้า)
  • งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ศึกษาพบว่าสารสกัดจากกระชายสามารถช่วยต้านการเสื่อมของกระดูกอ่อนในหลอดทดลองได้ และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
  • งานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พบว่าสารสกัดคลอโรฟอร์มและเมทานอลจากรากของกระชายมีฤทธิ์ในการต้านการเจริญเติบโตของเชื้อ Giardia intestinalis ซึ่งเป็นพยาธิเซลล์เดียวในลำไส้ที่ก่อให้เกิดภาวะท้องเสีย ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างมากสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • งานวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่าสาร Pinostrobin, Pinocembrin, Panduratin A และ Alpinetin ของกระชายนั้นมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียได้หลายชนิด

และสารที่อยู่ในกระชายนี่เอง ทำให้กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้ร่วมมือกับรามาธิบดี ได้ทำการศึกษาว่า ‘กระชาย’ กับ ‘โควิด-19’ เชื่อมโยงกันในด้านใดบ้างหรือไม่? ทีมแม่ ABK จึงขอนำคำตอบจาก พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดี กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ดังนี้

อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเผย การศึกษาเกี่ยวกับกระชายและโควิด!

“เราพบว่าในกระชายมีสารสำคัญโดดเด่นมากๆ 2 ตัว คือ พิโนสโตรบิน (Pinostrobin) และ แพน​ดูราทิน เอ (Panduratin A)มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งไวรัสให้แบ่งตัวไม่ได้ ถ้าไวรัสเข้าไปในร่างกายแล้วไปเจอสารสำคัญของกระชายในปริมาณที่เหมาะสม ก็มีแนวโน้มว่าเขาแบ่งตัวไม่ได้ ไปต่อไม่ได้ เขาก็จะฝ่อสลายไปก็เป็นสัญญาณว่าอาจใช้รักษาโควิด-19 ก็ได้นะ

เราพบว่ากระชายมีแนวโน้มแบบเดียวกับแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide)ในฟ้าทะลายโจร นั่นก็คือ ช่วยลดการอักเสบได้ จึงน่าจะมีฤทธิ์ในการพยุงให้ร่างกายกลับคืนสู่ความเป็นปกติได้เร็ว และกระชายยังมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นลักษณะการทำให้สุขภาพดีอีกด้วย นี่คือสัญญาณบวกต่อการสู้กับโควิด-19 โดยกระชาย”

ซึ่งในขณะนี้ ‘กระชาย’ กับ ‘โควิด’ อยู่ในการศึกษาทางคลินิก ระยะที่ 1 แปลว่านำปริมาณกระชายที่ศึกษาพบว่าช่วยกำจัดโรคได้ และไม่เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากระดับสัตว์ทดลอง มาวิจัยในมนุษย์ต่อ

ก่อนหน้านี้เราทดลองในหนูเสร็จเรียบร้อย ตอนนี้จะย้ายจากหนูมาสู่คนแล้วค่ะ ซึ่งต้องใช้ในร่างกายคนปกติดี เมื่อเขารับกระชายเข้าไปในร่างกายแล้ว สารสำคัญในกระชายที่เราเฝ้ามองต้องกินเท่าไรแล้วจะย่อยได้เท่าไร จะดูดซึมเหลือเท่าไร ไปถึงเซลล์เท่าไร พอไหมที่ระดับเซลล์แค่นั้นจะกำจัดเชื้อโรคได้เหมือนกับที่เราพบในเซลล์ของหนู และที่ระดับขนาดนั้นนอกจากกำจัดเชื้อโรคจัดการเชื้อโรคสู้ได้แล้ว เซลล์อื่นพลอยตายไปด้วยหรือเปล่า หรือคนๆ นั้นจะท้องอืดท้องเฟ้อปวดท้องทรมานมาก..กินไม่ไหวหรือเปล่า เราต้องหาความพอดีตรงนี้และปลอดภัยให้ได้ก่อน

จากการประชุมหารือขับเคลื่อนงานวิจัยและนว้ตกรรมสมุนไพรกระชาย ครั้งที่สาม/2564 (1 เม.ย.2564) เราพบว่า เมื่อนำผลการศึกษาในสัตว์ทดลองมาวิเคราะห์และเทียบเป็น น้ำหนักมนุษย์แข็งแรงคนหนึ่ง 50-60 กิโลกรัม ต้องใช้สารสกัดกระชายวันหนึ่งประมาณ 1,250 มิลลิกรัม คือมาจากกระชายสด 1 กิโลกรัมกว่าๆ

ทีนี้เราจะต้องนำกระชายหนึ่งกิโลกรัมกว่าๆ ไปทำให้เป็นสารสกัดในขนาด 1,250 มิลลิกรัมต่อวันแบบไหน ถึงจะเข้าสู่ร่างกายได้เหมาะสม ซึ่งเป็นการรับประทานยาปริมาณยาสูงพอสมควร”

ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น โดยจะใช้เวลาอีกอย่างน้อย 6 เดือน 1 ปี

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ได้กล่าวสรุปไว้ว่า ส่วนที่เราใช้ ต้มน้ำดื่ม อันนั้นเป็นในรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ ฤทธิ์เขาช่วยในเรื่องแอนตี้ออกซิแดนท์ในระดับหนึ่ง ทำให้ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ หรือแม้แต่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสได้ในระดับหนึ่ง แต่เราจะคาดหวังว่าดื่มแบบนี้แล้วไม่เป็นโควิด อันนี้คงไม่ไหว เชื้อนั้นดุร้าย ต้องการยาเยอะกว่าที่การต้มน้ำดื่มจะเพียงพอ และสำหรับหลายๆ ท่านที่สงสัยว่าจริงหรือไม่จริง ในแง่มุมของสมุนไพรหลายๆ ตัว รวมถึงกระชายด้วย เราสามารถคาดหวังได้ว่าเขาจะช่วยส่งเสริมให้เรามีสุขภาพที่ดี แต่การที่ใช้จัดการกับโรคนั้น ยังต้องเป็นประเด็นที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโควิด-19 คนติดเชื้อต้องอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอ รักษาตัวเองไม่ได้ นั่นก็หมายความว่า เราดูแลสุขภาพตัวเองไป ถ้าติดเชื้อต้องปรึกษาแพทย์ และการดูแลสุขภาพตัวเองที่ว่านั้นยังคงต้องเชื่อฟังคุณหมอนะคะ ใส่หน้ากากอย่างรัดกุม ล้างมือ รักษาระยะห่าง ไม่ไปในที่ที่มีคนแออัด หลีกเลี่ยงการสร้างความเสี่ยงให้ตัวเองติดเชื้อค่ะ

ขอบคุณข่าวจาก : กรุงเทพธุรกิจ
คนท้องกินสมุนไพร
คนท้องกินสมุนไพร

คนท้องกินกระชายได้ไหม? อันตรายต่อลูกในท้องหรือไม่?

โดยสรุปแล้วกระชายที่เป็นที่นิยมกันและเชื่อกันว่ามีสรรพคุณป้องกันโรคโควิด-19 ได้นั้น ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาอยู่ แต่การศึกษานี้ ได้ศึกษาถึงการสกัดสารจากกระชาย ซึ่งในการทาน 1 ครั้งจะต้องใช้ปริมาณกระชายเป็นจำนวนมาก การดื่มน้ำกระชาย จึงไม่สามารถป้องกันโรคโควิดได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการดื่มน้ำกระชายแล้วจะไม่ดี เพราะในกระชายน้ำมีสรรพคุณที่ช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้เป็นอย่างดี และสำหรับแม่ท้อง ก็ไม่มีข้อห้ามในการทานน้ำกระชาย หรืออาหารที่มีส่วนผสมของกระชาย อีกทั้ง กระชาย ก็ไม่ได้เป็นสมุนไพรที่คนท้องห้ามทาน แม่ท้องจึงสามารถทานได้ในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยย่อยอาหารและขับลมได้ดี แต่ควรทราบไว้ว่าการทานน้ำกระชายนั้น ไม่ได้เพื่อป้องกันโควิด แต่เพื่อส่งเสริมให้เรามีสุขภาพที่ดีได้ต่างหาก

ได้คำตอบกันแล้วนะคะว่า คนท้องกินน้ำกระชายได้ไหม? คำตอบคือทานได้ในปริมาณที่เหมาะสมค่ะ แต่ก็มีคำเตือนจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกว่า ขอให้ประชาชนมีวิจารณญาณ พิจารณาความเหมาะสมของยาต่างๆ ในเรื่องคุณสมบัติของยา ความสะอาด มาตรฐานการผลิต การปนเปื้อน และผลที่อาจเกิดขึ้นแก่ร่างกาย โดยต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ ทารก ผู้มีโรคประจำตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคตับและโรคไต รวมถึงผู้ที่รับประทานยาประจำตัวต่อเนื่องอยู่

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ฟ้าทะลายโจร คนท้อง กินได้ไหม? ต้านโควิดได้จริงหรือ?

9 สมุนไพรอันตรายที่แม่ท้องต้องระวัง !!

สมุนไพรไทย บำรุงครรภ์ และบำรุงน้ำนม ตัวไหนที่คุณแม่ทานได้!

11 Superfood อาหารบํารุงคนท้อง ให้ลูกพัฒนาการดีตั้งแต่ในครรภ์

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : medthai.com, กรมสุขภาพจิต

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up