อาการอื่นๆ
- อาจมีอาการปวดศีรษะบ่อยมากขึ้น เพราะพักผ่อนได้น้อยลง คุณแม่จึงอ่อนเพลียง่าย
- เส้นเลือดดำขอด ขึ้นที่บริเวณขา และน่อง ซึ่งทำให้คุณแม่บางคนอาจรู้สึกเจ็บได้
- เล็บยาวเร็วแต่เปราะบางกว่าปกติ คุณแม่จึงควรรับประทานอาหารที่มีสารไบโอตินเป็นประจำจะช่วยได้ เช่น กล้วย อะโวคาโด ถั่วและธัญพืช
- มีอาการเจ็บแปลบที่ท้องน้อยบ้าง หรือบางครั้งอาจเจ็บท้องหลอก และมักจะหายใจสั้น
- สายตาคุณแม่อาจสั้นขึ้น โดยมีอาการโฟกัสภาพไม่เหมือนปกติ มองเห็นเป็นภาพเบลอๆ ได้
- ขา เท้า ข้อเท้า มือ ข้อมือของคุณแม่ อาจมีอาการบวมมากขึ้น รวมถึงมีท้องผูก อาจเป็นริดสีดวงและปัสสาวะบ่อย
- อาจรู้สึกเหมือนมีแรงกดบริเวณส่วนล่างของเชิงกราน เนื่องจากลูกน้อยกำลังเตรียมตัวล่วงหน้าสำหรับการคลอด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
โภชนาการแม่ท้องไตรมาส 3
เรื่องอาหารการกินนับเป็นเรื่องสำคัญมาตั้งแต่ก่อนท้องแล้ว โดยเฉพาะในไตรมาสสุดท้าย กระบวนการสร้างอวัยวะสำคัญอย่างสมอง กระดูก กล้ามเนื้อ และปอดของลูกน้อย ถือเป็นช่วงเข้มข้นไม่แพ้กัน การเลือกสารอาหารให้ครบ เหมาะสม และพอดี จึงจำเป็นมาก
What to Eat!
- แคลเซียมและวิตามินดี จำเป็นต่อการสร้างกระดูกและฟัน โดยเฉพาะวิตามินดีจะช่วยให้ร่างกายดูดซับแคลเซียมได้ดี โดยมีอยู่ในแสงแดด และอาหาร เช่น นม ปลาที่มีกรดไขมัน เป็นต้น
- เหล็ก จำเป็นมากต่อการผลิตเลือดให้เพียงพอต่อแม่และลูก และป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจาง โดยคุณหมอมักจะให้คุณแม่กินเป็นอาหารเสริมอยู่แล้ว
- ไขมัน จำเป็นต่อสมองและการมองเห็นของลูก ควรเลือกกินไขมันดีที่มีอยู่ในปลา วอลนัตผักใบเขียว น้ำมันคาโนล่า
- โปรตีน จำเป็นมากต่อการเจริญเติบโตและการสร้างอวัยวะต่างๆ พบได้ในเนื้อสัตว์ต่างๆ ชีส โยเกิร์ต
- วิตามินซี จำเป็นต่อการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอและช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังคลอด
- กรดโฟลิก จำเป็นมากตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์และระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่และลูกน้อยต้องการกรดนี้เพื่อสร้างและซ่อมดีเอ็นเอให้สามารถทำงานได้อย่างปกติ รวมทั้งยังช่วยผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วย
What to Drink!
- น้ำเปล่าสะอาด ไม่มีน้ำอะไรจะดีไปกว่าการดื่มน้ำสะอาดธรรมดา ยิ่งในระหว่างตั้งครรภ์ร่างกายของคุณแม่ควรได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เพราะ H2O ช่วยเพิ่มปริมาณเลือดและสร้างน้ำคร่ำที่ช่วยปกป้องลูกน้อยในครรภ์