เบาหวานก่อนตั้งครรภ์ VS เบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรคเบาหวานในประเทศไทยปัจจุบันพบมากขึ้น อาจเป็นเพราะมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมร่วมกับสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวย อย่างเช่น การกินดีอยู่ดี อาหารรสชาติหวาน น้ำหนักตัวมาก เป็นต้น ซึ่งโรคเบาหวานสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มี 2 แบบ ดังนี้ค่ะ
เบาหวานก่อนตั้งครรภ์ VS เบาหวานขณะตั้งครรภ์
เบาหวานก่อนตั้งครรภ์ (Pregestational diabetes)
-
ผลกระทบต่อลูกน้อย
มีมากมาย ได้แก่ ทารกแท้ง ทารกพิการ ทารกคลอดก่อนกำหนด คลอดยากเพราะตัวโต ปอดไม่พัฒนา ทารกเสียชีวิตในครรภ์ ทารกเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด
ทารกตัวโตเกินไปไม่ดี
ทารกตัวโตกว่าปกตินั้นอาจจะน่ารักน่าเอ็นดู แต่ตามมาด้วยภาวะคลอดยาก ขณะคลอด ทารกอาจจะเกิดการขาดออกซิเจน บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต นอกจากนั้นยังอาจเกิดการติดไหล่ เนื่องจากสัดส่วนของรอบไหล่เมื่อเทียบกับรอบศีรษะใหญ่กว่าเด็กทั่วไป ทำให้กระดูกไหปลาร้าหัก แขนและมือพิการจากการฉีกขาดของเส้นประสาทที่ไหล่ได้
-
ผลกระทบต่อคุณแม่
เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ แฝดน้ำ มารดาเกิดการบาดเจ็บจากการคลอด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวาน ต้องผ่าตัดคลอดทุกรายไหม ?
อันที่จริงการผ่าตัดคลอดพิจารณาการผ่าตัดเหมือนคุณแม่ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน แต่ที่แตกต่างคือ หากคะเนน้ำหนักลูกในครรภ์เกิน 4 กิโลกรัม แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดคลอดได้
เป็นโรคเบาหวาน แต่ต้องการมีลูก ควรทำอย่างไร ?
- ควรพบสูติแพทย์ เพื่อเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์
- เมื่อตั้งครรภ์ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจและฝากครรภ์ทันที
- ควรดูแลค่าน้ำตาลให้ปกติ หรือใกล้เคียงปกติที่สุด ก่อนการตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอก่อนการตั้งครรภ์ และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือใกล้เคียงที่สุด
- รับประทานกรดโฟลิค สารโฟเลต หรือวิตามินบี 9 ตามคำแนะนำของแพทย์ก่อนตั้งครรภ์ 1 เดือน เพื่อลดการเกิดความผิดปกติระบบประสาทสมองของทารกในครรภ์
ไม่ควรตั้งครรภ์ หากมีภาวะต่อไปนี้
- ค่าฮีโมโกลบินอิ่มน้ำตาลมากกว่า ร้อยละ 10
- เบาหวานขึ้นตาหรือลงไต และเส้นเลือดหัวใจตีบหรือหัวใจขาดเลือด อาจเสียชีวิตได้หากตั้งครรภ์
- คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานอายุมากกว่า 35 ปี
- มีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ อย่างโรคไธรอยด์เป็นพิษ