จากเรื่องราวประสบการณ์ที่คุณแม่ Sunartpich Fontang ได้เล่าให้ฟัง ทำให้รู้เลยว่าหลักของการรับประทานอาหารขณะที่ตั้งครรภ์ คือรับประทานอาหารให้หลากหลายประเภท ให้ครบ 5 หมู่ ใน 1 วัน ถ้าครบ 5 หมู่ได้ในทุกมื้อยิ่งดี ไม่ควรรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำๆกัน เพราะว่าเราจะได้สารอาหารแค่แบบเดียว ยกตัวอย่างเช่น วันนี้กินปลา พรุ่งนี้อาจจะกินไก่ วันต่อไปอาจจะกินหมู ให้คละๆกันไป ยิ่งถ้าใครทานยาบำรุงต่างๆที่หมอให้มาไม่ได้ (บางคนอาเจียนเพราะแพ้ท้อง) ก็ต้องรับประทานอาหารให้หลากหลายยิ่งขึ้น
“รับประทานอาหารหลากหลายประเภท ไม่ใช่การรับประทานสิ่งหนึ่งสิ่งใดในปริมาณมากๆ “
เพราะหญิงตั้งครรภ์ต้องการพลังงานมากขึ้นจากเดิมเพียงวันละ 200-300 กิโลแคลอรี่เท่านั้น
เรียกได้ว่าเราควรรับประทานอาหารแบบเน้นคุณภาพมากว่าเน้นปริมาณนั่นเอง ทั้งนี้อาหารที่หญิงตั้งครรภ์ห้ามรับประทานโดยเด็ดขาดเลยคือ แอลกอฮอล์ และอาหารทุกประเภทที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ (ในคนปกติก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรรับประทานอยู่แล้ว ยิ่งในหญิงตั้งครรภ์ แอลกอฮอล์จะผ่านไปถึงทารกได้โดยตรง ซึ่งร่างกายของทารก ระบบการกำจัดสารพิษยังไม่ดีพอ และอาจจะมีผลกับการเจริญเติบโตในครรภ์ได้)
Must read : 5 เครื่องดื่มบำรุงครรภ์และเครื่องดื่มต้องห้ามสำหรับคนท้อง
และเมื่อเจ็บป่วย หรือไม่สบายใดๆ ห้ามซื้อยามารับประทานเอง ต้องไปพบแพทย์เท่านั้น และหากไม่ได้พบสูตินรีแพทย์ที่ฝากครรภ์ โดยตรง ต้องแจ้งแพทย์ทุกครั้งว่า กำลังตั้งครรภ์ เพราะยาบางประเภทมีผลกับทารกในครรภ์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
√ ตั้งครรภ์ : กินอย่างไร ลูกไม่เสี่ยงแพ้
หลายๆ คนคงเคยได้ยินกันมาบ้างว่า คุณแม่บางคนดื่มนมวัวเยอะตอนตั้งครรภ์เพราะหวังดีอยากให้ลูกแข็งแรง แต่พอคลอดออกมากลับกลายเป็นว่าลูกแพ้นมวัว ทำให้คุณแม่เสียใจและรู้สึกผิดไม่น้อย คุณแววตา เอกชาวนา นักโภชนาการและอาจารย์พิเศษ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า “แม่ท้องที่ดื่มนมวัวมากเกินไป จะทำให้โปรตีนจากนมวัวจำนวนมากผ่านสายสะดือไปยังลูก ทำให้ลูกได้รับมากเกินตั้งแต่อยู่ในท้อง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกแพ้ได้ เพราะฉะนั้นอย่าดื่มนมวัวมากเกินไประหว่างตั้งครรภ์ ควรดื่มแค่วันละ 2 แก้ว หรือ นมวัว 1 แก้ว นมถั่วเหลือง 1 แก้ว จะปลอดภัยกว่า”
♥ เลี่ยงอาหารเสี่ยงแพ้ไม่ช่วยอะไร
งานวิจัยสมัยก่อนแนะนำว่า แม่ท้องควรงดกินอาหารที่เสี่ยงให้เกิดการแพ้ เช่น นมวัว ถั่ว ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ แต่ปัจจุบันพบว่า การงดกินอาหารเสี่ยงแพ้นั้น นอกจากไม่ช่วยป้องกันลูกจากภูมิแพ้แล้ว ยังทำให้ลูกมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ด้วย ดังนั้น คุณแม่ท้องสามารถกินอาหารเหล่านี้ได้ตามปกติ ยกเว้นคุณแม่ที่มีอาการแพ้ควรงด และกินอาหารอื่นทดแทน ซึ่งสามารถขอคำแนะนำจากคุณหมอและนักโภชนาการได้ สรุปแล้วหัวใจสำคัญคือ กินให้พอดี ไม่มากเกินไป โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่สองเป็นต้นไป
สรุปโดยหลักๆ อีกครั้งคือ คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อย่ารับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำๆ หรือรับประทานในปริมาณที่มากๆ ให้รับประทานแบบหลากหลายชนิด ไม่โด๊ป เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ และที่สำคัญควรจะดื่มน้ำให้มากๆ เพราะร่างกายต้องใช้น้ำส่วนหนึ่งในการสร้างน้ำคร่ำและเลือดให้กับทารก ทานน้ำบ่อยๆทุกๆครั้งที่หิวหรือรู้สึกว่าปากแห้ง ค่ะ
อ่านต่อบทความอื่นๆ น่าสนใจ คลิก!
- เมนูคนท้อง บำรุงคุณแม่ท้อง และลูกน้อยในครรภ์
- ผักผลไม้ต้องห้าม สำหรับแม่ท้อง และให้นมลูก
- อาหารแม่ท้องและให้นมลูก กินอย่างไร? ไม่ให้ลูกแพ้อาหาร
- โภชนาการดีๆ ก่อนตั้งครรภ์ ลดความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
ขอบคุณภาพและเรื่องราวจากคุณแม่ Sunartpich Fontang