-
จริงหรือ? “อย่านอนหงาย รกจะติดหลัง คลอดยาก”
ไม่จริงค่ะ การนอนหงายไม่ทำให้รกติดหลัง และท่านอนไม่เกี่ยวกับตำแหน่งรกแต่อย่างใด และไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งไหนก็คลอดได้ปกติ ไม่เกี่ยวกับท่านอนของแม่ท้อง
การอัลตราซาวนด์จะทำให้รู้ตำแหน่งของรกว่าอยู่ส่วนไหน ยกเว้นกรณี รกเกาะต่ำ ซึ่งจะค่อนมาใกล้ปากมดลูกถือเป็นภาวะเสี่ยง ถ้าตรวจพบว่ารกเกาะต่ำ คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่นอนพักผ่อน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
เพียงแต่การนอนหงายเมื่อครรภ์มีขนาดใหญ่ขึ้น อาจไปกดทับเส้นเลือดดำทำให้เลือดเวียนกลับมาเลี้ยงหัวใจน้อยลง เลือดที่จะส่งกลับไปเลี้ยงมดลูกก็น้อยลงไปด้วย จึงแนะนำให้คุณแม่ควรนอนตะแคงซ้ายหรือขวาในไตรมาสสามดีกว่าค่ะ
-
จริงหรือ? “ใกล้คลอดแล้ว น้ำนมไม่ไหล แสดงว่าฉันต้องเป็นแม่น้ำนมน้อย ชัวร์!”
ไม่จริงค่ะ ไม่เกี่ยวกันเลย นมแม่มาจากฮอร์โมนโปรแลคติน (prolactin) ในร่างกายของแม่ทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์สร้างน้ำนม ส่วนการไหลของน้ำนม ต้องอาศัยฮอร์โมนออกซิโตซิน (oxytocin) เป็นตัวกระตุ้นให้เต้านมหลั่งน้ำนม ซึ่งฮอร์โมนทั้งสองตัวนี้ในคุณแม่แต่ละคนก็มีการหลั่งช้าเร็วแตกต่างกันไป บางคนมีน้ำนมไหลตอนใกล้คลอด ขณะที่บางคนเริ่มมีน้ำนมไหลหลังคลอดออกมาแล้ว สิ่งที่คุณแม่ควรเข้าใจคือ ยิ่งลูกน้อยดูดนมมากเท่าไหร่ ฮอร์โมนออกซิโตซินจะยิ่งกระตุ้นให้การไหลของน้ำนมดีขึ้นมากเท่านั้นค่ะ
(บทความแนะนำ กลไกการหลั่งน้ำนมที่แม่มือใหม่ควรรู้!)
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่