การคาดเข็มขัดนิรภัยของคุณแม่ตั้งครรภ์
(ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : SocialMarketingTH)
ข้อควรพิจารณาของแม่ท้องในการนั่งรถยนต์
ทั้งนี้ในการเดินทางโดยใช้รถยนต์ขณะกำลังที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์นั้น ต้องพิจารณาจากช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ ดังต่อไปนี้
- ช่วงไตรมาสแรก คือ 3 เดือนแรก การขับขี่รถยนต์ตามปกติจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเป็นการนั่งรถในระยะไกล ควรหลีกเลี่ยง เพราะจะมีภาวะเสี่ยงต่อการแท้งได้ง่าย ถึงแม้ว่าคุณจะเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรงก็ตาม เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่คุณแม่ต้องปรับทั้งภาวะร่างกาย และภาวะจิตใจ
- ช่วงไตรมาสที่ 2 (เดือนที่ 4 – 6) คุณแม่สามารถเดินทางไกลได้ เพราะระยะนี้นับว่าเป็นระยะปลอดภัยที่สุดของการตั้งครรภ์ และถ้าต้องเดินทางไกล ไม่ว่าจะเป็นการไปพักผ่อนกับสามี 2 คน ถ้าไปช่วงนี้จะดีมาก เพราะจะเป็นโอกาสสุดท้าย และนับจากนี้ไป คุณจะต้องมีผู้ร่วมเดินทางเพิ่มขึ้นมาเป็น 3 คนแล้วล่ะค่ะ ส่วนการขับรถไปทำงาน ถ้าคุณเป็นสาวทำงาน และขับรถโดยปกติอยู่แล้ว ก็ไม่มีปัญหาอะไร รวมถึงการทำงานประจำวันด้วย
- ไตรมาสสุดท้าย คือ ช่วงก่อนคลอดในเดือนที่ 7-9 ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไกลเพราะใกล้คลอดเต็มที่ คุณอาจจะเกิดการคลอดก่อนกำหนดได้ ส่วนการขับรถประจำวันในการไปทำงานหรือซื้อของที่ระยะทางใกล้ คุณแม่ยังสามารถขับรถเป็นปกติได้ แต่ก็ต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมากและถ้ายิ่งใกล้วันที่คุณหมอนัดคลอด ก็ควรงดการขับรถ เพราะช่วงนี้คุณแม่จะเริ่มรู้สึกอึดอัดเต็มที่
ทั้งนี้ในการเดินทางเพื่อไปทำธุระหรือท่องเที่ยว ไม่เป็นข้อห้ามสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ปกติ แต่อาจจำกัดบ้างกรณีที่คุณแม่มีภาวะแทรกซ้อนเช่น มีเลือดออก หรือมีโรคประจำตัวที่ต้องดูแลจากแพทย์ ซึ่งวิธีการเดินทางสามารถเลือกได้ตามต้องการ โดยแต่ละวิธีก็มีข้อแนะนำจำเพาะ ดังนี้
- รถยนต์ ควรคาดเข็มขัดนิรภัยเสมอ โดยเส้นล่างพาดที่หน้าขา เส้นบนคาดตรงกลางระหว่างเต้านมเพื่อลดความเจ็บปวดจากการกด
- จักรยานยนต์ ต้องใส่หมวกนิรภัย ระมัดระวังช่วงเวลาที่เสี่ยงต่อการลื่นล้มเช่น ฝนตก
- เครื่องบิน โดยทั่วไปสายการบินอนุญาตคุณแม่เดินทางได้จนอายุครรภ์ประมาณ 7 ถึง 8 เดือนบางสายการบินมีกฎที่ต้องใช้ใบรับรองจากแพทย์การผ่านเครื่องเอกซเรย์ที่สนามบินหากคุณแม่แจ้งกับเจ้าหน้าที่ท่าอากาศยานจะมีทางผ่านพิเศษเลี่ยงให้ขณะเครื่องบินอยู่บนอากาศแนะนำให้คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่นั่ง ดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้การไหลเวียนโลหิตดี ขยับขาหรือลุกเดินบ้างเพื่อลดโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ พักผ่อนนอนหลับกรณีที่เป็นการเดินทางระยะไกล คุณแม่ควรเตรียมยาแก้แพ้ วิงเวียนติดตัวไว้ หรืออาจรับประทานก่อนเครื่องบินขึ้นเล็กน้อยเพื่อลดอาการวิงเวียน
- เรือ ระมัดระวังการลื่นล้ม ตกน้ำและอาการวิงเวียน
Expert Says
- คุณหมอไม่แนะนำให้เดินทางแบบสมบุกสมบันจนเกินไป
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจเกิดแรงกระแทกโดยตรงสู่มดลูก เนื่องจากอาจทำให้เกิดรกลอกตัวก่อนกำหนด ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตของทารกในครรภ์ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่อคุณแม่ด้วย
- การท่องเที่ยวป่าควรระวังแมลงสัตว์กัดต่อย ซึ่งอาจนำเชื้อที่เป็นอันตราย เช่น ไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย เป็นต้น
- ระวังการเดินทางตามโขดหินซึ่งอาจเสี่ยงต่อการลื่นล้ม
- บนภูเขาหรือที่สูงจะมีอากาศน้อยกว่าระดับความสูงปกติ ซึ่งมีผลต่อการไหลเวียนเลือดของคุณแม่ มีรายงานว่าคุณแม่ที่อาศัยบนที่สูง น้ำหนักตัวของทารกแรกเกิดจะน้อยกว่าคุณแม่ที่อาศัยอยู่ที่ระดับความสูงปกติ
ส่วนในเรื่องของการเดินทางโดยใช่รถยนต์แม่ท้องอาจเลหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องนั่งและขาดเข็มขัดนิรภัย แล้วถ้ายิ่งเป็นคุณแม่ท้องที่ต้องขับรถไปทำงานเอง เมื่อท้องแก่ใกล้คลอดแล้ว จะสามารถขับรถได้อยู่หรือไม่ Amarin Baby & Kids มีข้อมูลสำหรับเรื่องนี้ มาฝากค่ะ
อ่านต่อ >> แม่ท้องแก่ขับรถเองได้หรือไม่? คลิกหน้า 3
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- 10 ข้อห้าม คนท้องอ่อนๆ ต้องระวังอะไรบ้าง?
- จริงหรือไม่? ขับรถบ่อยเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
- ไขข้อข้องใจ แม่ท้องขึ้นเครื่องบินได้ไหม ?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
เรื่องโดย : รศ.พญ.ธารางรัตน์ หาญประเสริฐพงษ์ สูติแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และที่ปรึกษา About Us Advanced Maternity Center