7.โรคตับอักเสบ
โรคตับอักเสบ เป็นโรคที่ติดต่อระหว่างบุคคล จึงไม่ควรใช้สิ่งของร่วมกับคนที่ติดเชื้อนี้ หากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ป่วยด้วยโรคตับอักเสบบี
การรักษาที่สำคัญคือ กินอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ งดแอลกอฮอล์ทุกชนิด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยจะฟื้นคืนสภาพมาเป็นปกติเอง ร้อยละ 5 จะกลับรุนแรงมากขึ้น ทารกที่คลอดจากคุณแม่ที่มีเชื้อตับอักเสบบี ควรได้รับการอาบน้ำให้สะอาด ระวังการปนเปื้อน และให้วัคซีนตับอักเสบบีและแกมม่าโกลบูลินภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอดและให้วัคซีนซ้ำเมื่ออายุ 1 และ 6 เดือน แล้วตรวจสอบภูมิคุ้มกันเมื่ออายุ 12 และ 15 เดือน ส่วนตับอักเสบชนิดอื่นยังไม่มีรายงานหรือความรู้ที่แน่ชัดว่าติดต่อหรือไม่ทางใดและถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกหรือไม่
8.โรคท็อกโซพลาสโมซิส
โรคท็อกโซพลาสโมซิส คือ โรคที่เกิดจากการรับประทานเนื้อดิบ หรือเกิดจากการสัมผัสอุจจาระแมวที่ติดเชื้อนี้อยู่ หากคุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับเชื้อ และเกิดอาการรุนแรง อาจมีโอกาสคลอดก่อนกำหนด เกิดความพิการทางสมอง และเสี่ยงเสียชีวิตได้ อาการของโรคจะมีไข้ต่ำๆ ต่อมน้ำเหลืองโต อ่อนเพลีย หลังจากนั้น 2-3 สัปดาห์จะมีผื่นขึ้นตามตัว
การป้องกัน คือ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ หากคุณแม่เลี้ยงแมว เมื่อต้องเก็บทำความสะอาดอุจจาระ ควรใส่ถุงมือป้องกันทุกครั้ง และหมั่นตรวจเลือดดูระดับภูมิต้านทานโรคทุกๆ 1-2 เดือนจนกว่าจะคลอด
9.โรคไซโดเมกาไวรัส หรือซีเอมวี (CMV)
โรคนี้เป็นโรคที่สามารถติดเชื้อได้ทางน้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ ส่วนใหญ่คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีภูมิคุ้มกันนี้อยู่ เพราะอาจเคยได้รับเชื้อในวัยเด็ก จึงไม่มีอาการรุนแรงมากนัก แต่หากยังไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน และเกิดภูมิคุ้มกันบกพร่องขณะตั้งครรภ์อาจมีความเสี่ยงทำให้ลูกน้อยในครรภ์ตัวเหลือง หูหนวก และตาพิการได้
การป้องกัน คือ ระมัดระวังไม่ให้รับเชื้อดดยการล้างมือให้สะอาด รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ฉีดวัคซีนป้องกันโรค