ครรภ์เป็นพิษ กับอาการสำคัญและวิธีรับมือที่แม่ควรรู้! - amarinbabyandkids
ครรภ์เป็นพิษ

ครรภ์เป็นพิษ กับอาการสำคัญที่แม่ควรรู้! เพื่อรับมืออันตรายต่อตัวเองและลูกน้อย

event
ครรภ์เป็นพิษ
ครรภ์เป็นพิษ

ครรภ์เป็นพิษ

ครรภ์เป็นพิษ  ในระยะเริ่มแรกหรือในรายที่ไม่รุนแรงอาจจะไม่มีอาการ หรือมีอาการเหมือนคนตั้งครรภ์ทั่วๆไป การเรียนรู้ถึงอาการของครรภ์เป็นพิษจะทำให้ผู้ตั้งครรภ์ตระหนักถึงโรคนี้

  • ไม่มีอาการ แม้ว่าครรภ์เป็นพิษจะเป็นโรคที่อาจจะทำอันตรายให้กับแม่และทารก แต่บางท่านอาจจะไม่มีอาการ หรือมีอาการเหมือนคนตั้งครรภ์ปกติ บางท่านครรภ์เป็นพิษแพทย์ให้นอนโรงพยาบาลแต่ผู้ป่วยไม่ยอมนอนเนื่องจากไม่มีอาการ ความดันโลหิตสูงจะเป็นสิ่งตรวจพบที่สำคัญซึ่งผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะไม่มีอาการเตือนว่าความดันโลหิตเริ่มสูง ดังนั้นสตรีที่ตั้งครรภ์รวมทั้งญาติจะต้องเฝ้าระวัง

    >> จะต้องปฏิบัติอย่างไร?

  • สิ่งที่สำคัญคือการฝากครรภ์ ให้ไปตามกำหนดทุกครั้ง วัดความดันโลหิต และตรวจปัสสาวะเพื่อหาโปรตีนซึ่งเป็นการตรวจเพื่อค้นหาครรภ์เป็นพิษ
  • การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ รับวิตามินอย่างครบถ้วน ลดการรับประทานอาหารสำเร็จรูป น้ำตาล กาแฟ
  • งดการดื่มสุรา
  • งดยาที่ซื้อเอง งดสมุนไพร
  • ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตมากกว่า 140/90 มม.ปรอท   โดยวัดสองครั้งห่างกัน 6 ชั่วโมงหากเกิน 140/90 มม.ปรอท  ก็จัดว่าความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่มีความดันตัวล่างเพิ่มขึ้น 15 มม.ปรอท หรือตัวบนเพิ่มขึ้น 30 มม.ปรอท ทั้งสองกรณีจะต้องติดตามใกล้ชิด และติดตามอาการอื่น

    >> ข้อต้องปฏิบัติ

  • ก่อนตั้งครรภ์ท่านควรจะทราบว่าความดันโลหิตเป็นเท่าไร ให้ถามแพทย์ทุกครั้ง
  • ซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตและเปรียบเทียบเครื่องของท่านกับแพทย์
  • ค่าความดันที่แพทย์วัดจะเที่ยงกว่าค่าที่วัดที่บ้าน
  • หากท่านเป็นครรภ์เป็นพิษอย่างไม่รุนแรงแพทย์จะแนะนำให้ท่านพักเพื่อลดความเครียด นอนตะแคงซ้ายเพื่อป้องกันมดลูกไปกดหลอดเลือด

การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ = การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะจะเป็นตัวบอกว่าเป็นโรคครรภ์เป็นพิษ แพทย์บางท่านอาจจะเก็บปัสสาวะตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อหาปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ

  • บวมหลังเท้า บวมคนท้องทั่วไปอาจจะมีอาการบวมที่เท้าโดยไม่สามารถใส่รองเท้าได้ ให้สังเกตมือ ใบหน้า ขอบตาว่าบวมหรือไม่

    >> ข้อปฏิบัติ = หากสงสัยว่าหน้ากลม มือบวมให้หาภาพถ่ายเก่ามาเปรียบเทียบ หรืออาจจะกดที่หลังเท้าจะพบว่ามีรอยบุ๋ม

  • น้ำหนักเกิน การที่น้ำหนักเกิน 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์จะบ่งบอกว่าเป็นครรภ์เป็นพิษ เนื่องจากน้ำและเกลือไม่ได้ถูกขับออกทางไต

    >> ข้อควรปฏิบัติ

  • ให้รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม
  • ระหว่างการตั้งครรภ์ให้ได้รับวิตามินครบถ้วนตามแพทย์สั่ง
  • ก่อนการตั้งครรภ์ให้ควบคุมน้ำหนักมิให้ดัชนีมวลกายเกิน 30 เพราะคนอ้วนจะเกิดครรภ์เป็นพิษได้ง่าย
  • ห้ามคุมน้ำหนักโดยการอดอาหาร
  • ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ

แม่ท้อง ลูกตายได้ จากครรภ์เป็นพิษรุนแรง HELLP Syndrome

  • คลื่นไส้อาเจียน อาการคลื่นไส้อาเจียนสำหรับการแพ้ท้องจะหายไปในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนช่วงกลางของการตั้งครรภ์ให้สงสัยว่าจะเกิดอาการครรภ์เป็นพิษ

    >> ข้อปฏิบัติ = หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนโดยเฉพาะช่วงกลางของการตั้งครรภ์ให้ปรึกษาแพทย์

  • ปวดท้องและปวดไหล่ หากมีอาการปวดบริเวณลิมปี่ หรือเจ็บชายโครงข้างขวา เกิดจากตับโตจะมีอาการเจ็บแน่นๆบริเวณลิมปี่และร้าวไปไหล่ข้างขวา เวลานอนหรือหายใจลึกๆจะปวดมากขึ้น

    >> ข้อปฏิบัติ = หากอาการไม่ดีขึ้นให้ปรึกษาแพทย์

  • ปวดหลัง ผู้ที่ตั้งครรภ์ก็มีอาการปวดหลัง สำหรับผู้ที่เป็นครรภ์เป็นพิษปวดหลังจะเกิดจากตับโต ดังนั้นหากมีอาการปวดหลังร่วมกับอาการอาการของครรภ์เป็นพิษก็สงสัยว่าครรภ์เป็นพิษ

  • ปวดศีรษะ ปวดตุ๊บ ปวดแน่นๆ อาการปวดศีรษะเหมือนปวดศีรษะไมเกรน หากรับประทานยาแก้ปวดแล้วยังไม่ดีขึ้นให้พบแพทย์ที่ดูแลท่าน

  • การเปลี่ยนแปลงการมองเห็น การเปลี่ยนแปลงการมองเห็นเป็นอาการที่สำคัญของผู้ป่วยครรภ์เป็นพิษ เนื่องจากอาจจะเกิดจากสมองบวม หรือสมองได้รับการกระตุ้น การเปลี่ยนแปลงที่พบได้บ่อยได้แก่ ตาบอดชั่วขณะ ตาเห็นแสงเหมือแสงฟ้าแลบ แพ้แสงจ้า ตามัว

    >> ข้อปฏิบัติ = หากมีอาการทางสายตาต้องปรึกษาแพทย์ที่ดูแลท่านทันที

อาการพบบ่อยของครรภ์เป็นพิษ

  • มีความดันโลหิตสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มม.ปรอท
  • ตรวจพบโปรตีนไข่ขาวในปัสสาวะ
  • น้ำหนักเพิ่มมากอย่างรวดเร็ว
  • มีอาการบวมตามใบหน้า มือ ข้อเท้าและเท้า
  • ปวดศีรษะโดยเฉพาะบริเวณท้ายทอย หน้าผาก โดยรับประทานยาแก้ปวดแล้วไม่ดีขึ้น
  • มีตาพร่ามัว อาจตาบอดชั่วขณะได้
  • จุกแน่นหน้าอก หรือบริเวณลิ้นปี่
  • หากอาการรุนแรงอาจมีอาการชักกระตุกทั้งตัว เกิดเลือดออกในสมองได้

อย่างไรก็ดีเพื่อป้องกันภาวะ ครรภ์เป็นพิษ เมื่อตั้งครรภ์และมีอาการดังต่อไปนี้ คุณแม่ท้องควรรีบไปพบแพทย์ หรือรีบพบแพทย์ก่อนวันนัด คือ ปวดศีรษะรุนแรง และมีอาการตาพร่ามัว หรือมองเห็นแสงวูบวาบ มีอาการจุกแน่นใต้ลิ้นปี่ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมาก น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และ มีอาการบวมตาม ใบหน้า มือ ข้อเท้า และเท้า เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อยนะคะ

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.siamhealth.net

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up