ฉีดวัคซีนโควิดตอนตั้งครรภ์ ช่วยทารกเข้า รพ. น้อยลง - Amarin Baby & Kids
ฉีดวัคซีนโควิดตอนตั้งครรภ์

ฉีดวัคซีนโควิดตอนตั้งครรภ์ ช่วยทารกเข้า รพ. น้อยลง

Alternative Textaccount_circle
event
ฉีดวัคซีนโควิดตอนตั้งครรภ์
ฉีดวัคซีนโควิดตอนตั้งครรภ์

ฉีดวัคซีนโควิดตอนตั้งครรภ์ ช่วยทารกเข้า รพ. น้อยลง

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ หรือ Center for Disease Control and Prevention ซีดีซี เผยผลการศึกษาระบุว่า แม่ตั้งครรภ์ที่ฉีดวัคซีน mRNA สองโดส ทารกที่คลอดออกมามีโอกาสเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่ำกว่าทารกที่แม่ไม่ได้ ฉีดวัคซีนราว 60 เปอร์เซ็นต์  และจะมีโอกาสเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่ำลงไปอีก หากแม่ของเด็ก ฉีดวัคซีนโควิดตอนตั้งครรภ์ หลังมีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์

ฉีดวัคซีนโควิดตอนตั้งครรภ์
ทำไมคนท้องจึงควรฉีดวัคซีนโควิด

ทำไมคนท้องจึงควรฉีดวัคซีนโควิด

จากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ในไทยพบว่า ถ้าแม่ท้องติดเชื้อโควิด-19 มีความเสี่ยงต่ออาการรุนแรง และเชื้อลงปอดได้ มากกว่าคนปกติ เพราะแม่ท้องมีระดับภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนปกติทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง เช่น ตั้งครรภ์ร่วมกับมีอายุมาก อ้วน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไทรอยด์ หัวใจ โรคปอด หรือโรคไตเรื้อรัง ยิ่ง เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้สูงขึ้น

นอกจากนี้ มีรายงานของกรมอนามัยพบว่า ในแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ 77 ราย มีอาการปอดอักเสบ 21 ราย และเสียชีวิตไปแล้ว 1 ราย จะเห็นว่าอัตราการติดเชื้อลงปอด และอัตราเสียชีวิตสูงกว่าคนธรรมดาทั่วไป กรมอนามัยจึงออกมาแนะนำว่า คนท้องควรได้รับวัคซีนโควิด-19 เพราะผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนเกิดได้น้อยกว่าความเสี่ยงที่เกิดจากการติดเชื้อ

คนท้องอายุครรภ์เท่าไหร่จึงฉีดวัคซีนได้

องค์การอนามัยโลก ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา หรือ ซีดีซี และราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ตอบคำถามนี้ไว้ชัดเจนว่า หญิงที่เพิ่งเริ่มตั้งครรภ์อย่างน้อย 12 สัปดาห์ขึ้นไป หรือ 3 เดือนขึ้นไป สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องได้รับการยืนยันจากแพทย์ผู้ดูแลก่อน รวมทั้งต้องเป็นผู้ไม่มีข้อห้ามในการฉีดวัคซีน เช่น

  • มีอาการภูมิแพ้อย่างรุนแรง โดยเฉพาะการแพ้ส่วนประกอบในวัคซีน
  • มีอาการแพ้วัคซีนโควิดอย่างรุนแรงจากการฉีดครั้งแรก
  • หากมีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ต้องแจ้งแพทย์ที่ดูแลก่อน
  • สุขภาพแข็งแรง ไม่มีอาการเจ็บป่วย มีไข้ ในวันฉีดวัคซีน

ฉีดวัคซีนโควิดตอนท้องลดเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด

ซีดีซียังเตือนให้คุณแม่ตั้งครรภ์ แม่ที่ให้นมบุตร หรือว่าที่คุณแม่ที่มีแผนจะตั้งครรภ์ ให้ฉีดวัคซีนต้านโรคโควิด-19 เนื่องจากโรคดังกล่าวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดหรือภาวะตายก่อนคลอดได้ค่ะ และล่าสุดมีผลวิจัยจาก ดร. ดานา มีนีย์ เดลแมน จากซีดีซีว่า มีการตรวจพบภูมิคุ้มกันโควิดในเลือด ถ่ายทอดจากสายสะดือ ซึ่งเป็นตัวบอกว่าภูมิคุ้มกันที่แม่ตั้งครรภ์ได้รับ ถ่ายทอดไปยังลูกที่กำลังเติบโตในครรภ์ได้ค่ะ

ผลวิจัยจากเด็กที่แม่ได้รับวัคซีนตอนท้อง

นักวิจัยจากโรงพยาบาลเด็กหลายแห่ง และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ ได้ทำการตรวจสอบเด็ก ๆ ที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน ในช่วงระหว่างเดือน ก.ค. 2564-ม.ค. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลจากทารก 379 รายในโรงพยาบาล โดย 176 รายติดเชื้อโควิด-19 และ 203 รายเข้ารับการรักษาตัวโดยโรคอื่น ๆ ผลวิจัยพบว่า วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มีประสิทธิภาพโดยรวม 61% ในการป้องกันการเข้าโรงพยาบาลสำหรับบุตรที่แม่ฉีดวัคซีนระหว่างตั้งครรภ์

ทั้งนี้ ประสิทธิภาพในการป้องกันการเข้าโรงพยาบาลของเด็กเพิ่มขึ้นเป็น 80% เมื่อแม่ได้รับวัคซีนในช่วง 21 สัปดาห์จนถึง 14 วันก่อนคลอด แต่ประสิทธิภาพวัคซีนลดลงเหลือ 32% ในการป้องกันทารกของแม่ที่ฉีดวัคซีนในช่วงเริ่มต้นตั้งครรภ์

แม่ท้องต้องเลี่ยงฉีดวัคซีนโควิดพร้อมวัคซีนอื่น

อย่างไรก็ตาม แม่ท้องควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนโควิดพร้อมกับวัคซีนชนิดอื่น ๆ ยกเว้นมีความจำเป็น การฉีดวัคซีนโควิด-19 ควรห่างจากการฉีดวัคซีนอื่น 4 สัปดาห์ ส่วนการฉีดวัคซีนชนิดอื่น ๆ หลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 สัปดาห์

ฉีดวัคซีนโควิดตอนตั้งครรภ์
ฉีดวัคซีนโควิดตอนท้องลดเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด

คนท้องดูแลตัวเองอย่างไร? ช่วงโควิด-19 แพร่ระบาด

แม้จะได้รับวัคซีนโควิดครบโดสที่กำหนดแล้ว แต่แม่ท้องทุกคนก็ยังมีความเสี่ยงติดเชื้อโควิดได้ จึงต้องเพิ่มการดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ ดังนี้

  • หากสงสัยว่าจะตั้งครรภ์ให้รีบไปตรวจครรภ์ยืนยันผลให้เร็วที่สุด ฝากครรภ์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไปตรวจครรภ์ทุกครั้งที่แพทย์นัด สำหรับแม่ท้องที่ไม่มีโรคประจำตัว อาจโทรปรึกษาแพทย์เพื่อขอเว้นระยะเวลาการไปตรวจครรภ์ที่โรงพยาบาล โดยให้แพทย์พิจารณาตามความเหมาะสม
  • ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตามที่แพทย์ผู้ดูแลแนะนำ
  • รักษาระยะห่างทางสังคม แม้กระทั่งกับคนในครอบครัว
  • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากที่พัก และสวมหน้ากากผ้าตลอดเวลาเท่าที่ทำได้ แม้กระทั่งขณะอยู่ร่วมกับคนในครอบครัว
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในสถานที่ชุมชน หรือมีคนจำนวนมาก เพื่อลดความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ
  • หมั่นล้างมือให้สะอาดอย่างถูกวิธีด้วยสบู่ น้ำยาสำหรับล้างมือ หรือเจลแอลกอฮอล์ ทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ รวมทั้งก่อนใส่-ถอดหน้ากากอนามัย และหลังถอดหน้ากากอนามัย
  • ระมัดระวังการสัมผัสใบหน้า ดวงตา จมูก และปาก หากยังไม่ได้ล้างมือให้สะอาด
  • หากไอ หรือจามควรใช้กระดาษทิชชูปิดปากและจมูก หรือควรไอ หรือจามหันออกไปทางด้านข้างของลำตัว
  • หมั่นทำความสะอาดที่พัก พื้นผิวสัมผัสต่างๆ ที่ใช้งานเป็นประจำด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ
  • หากมีอาการไข้ ไอ หายใจลำบาก พยายามรักษาอาการเบื้องต้นด้วยตนเองเท่าที่ทำได้ แต่หากอาการรุนแรงควรรีบไปพบแพทย์

เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยที่อยู่ในท้อง การรับวัคซีนป้องกันโควิดของคุณแม่ท้อง ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ นอกจากการป้องกันและดูแลตัวเองด้วยวิธีอื่น ๆ นะคะ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

Voa Thailand, โรงพยาบาลเพชรเวท, The Bangkok Insight, HDmall

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

7 ข้อต้องรู้ก่อนฉีด “วัคซีนโมเดอร์นา” ในแม่ท้อง-ให้นมบุตร

หมอสูติตอบชัด! คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม ฉีดอย่างไรให้..ปลอดภัยทั้งแม่ลูก

 

คนท้องติดโควิด คนท้องทำ Home isolation ได้ไหม?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up