คุณแม่ที่ท้องลูกน้อยวัยใกล้คลอดหลายท่านอาจจะยังแยกไม่ออกว่าอาการที่น้ำออกมาทางช่องคลอดแบบไหนคือ น้ำคร่ำแตก หรือ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เพราะไตรมาสสุดท้ายของคุณแม่ท้อง ศีรษะของทารกจะลงมากดบริเวณกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดได้
น้ำคร่ำแตก เป็นอย่างไร? แตกต่างกับกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือไม่
เครดิตภาพจาก invitra.com
น้ำคร่ำแตกเป็นอย่างไร?
หน้าที่ของน้ำคร่ำ ช่วยปกป้องและช่วยให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโต หล่อเลี้ยงอยู่ภายในหลอดลมและปอดของทารก ทำให้สายสะดือไม่กดทับทารกเวลาที่เคลื่อนไหวหรือมีการบีบตัวของมดลูก และเป็นเกราะป้องกันการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังช่วยให้การคลอดสะดวกขึ้น
อาการน้ำคร่ำรั่ว น้ำคร่ำแตก หรือน้ำเดิน เกิดจากการที่ถุงน้ำคร่ำแตกทำให้มีน้ำไหลออกมา โดยปกติมักเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ระยะใกล้คลอด ส่วนใหญ่จะมีอาการเจ็บท้องก่อนคลอดแล้วจึงมีน้ำคร่ำไหลออกมา ดังนั้นการที่มีถุงน้ำคร่ำแตกก่อนที่มีอาการเจ็บครรภ์จริง (เจ็บครรภ์สม่ำเสมออย่างน้อย 1 ครั้ง ใน 10 นาทีและมีการเปิดขยายของปากมดลูก) และอายุครรภ์ครบกำหนด (มากกว่าหรือเท่ากับ 37 สัปดาห์โดยคำนวนจากประวัติวันแรกของประจำเดือนที่ปกติครั้งสุดท้าย) จึงเรียกว่า น้ำคร่ำแตก ก่อนเจ็บครรภ์คลอด (Premature rupture of membranes หรือเรียกย่อว่า PROM)” หรือเรียกสั้นๆว่า “มีน้ำเดิน”
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ความแตกต่างของน้ำคร่ำแตก กับกลั้นปัสสาวะไม่อยู่