เครียดตอนท้อง ระวัง 7 ผลร้ายที่แม่ท้องต้องเจอ..หากเครียดเกิน! - Page 3 of 3 - Amarin Baby & Kids
เครียดตอนท้อง

เครียดตอนท้อง ระวัง 7 ผลร้ายที่แม่ท้องต้องเจอ..หากเครียดเกิน!

Alternative Textaccount_circle
event
เครียดตอนท้อง
เครียดตอนท้อง

ผลที่เกิดขึ้นเมื่อแม่ เครียดตอนท้อง

1. สมองและระบบประสาท

สมองจะส่งสัญญาณไปที่ต่อมหมวกไตให้ผลิตฮอร์โมนอะดรีนาลีนและคอร์ติซอล ที่จะส่งผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย

2. หัวใจและหลอดเลือด

อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหัวใจ รวมถึงมีการขยายของหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคหัวใจได้

3. กล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อตึงเครียด มีอาการปวดโดยเฉพาะบริเวณบ่า ไหล่ สะบัก ต้นคอ และส่งผลให้เกิดอาการปวดหัว ไมเกรน และกล้ามเนื้ออื่นๆอีก

4. ตับ

ความเครียดจะกระตุ้นให้ตับหลั่งกลูโคสเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น

5. ระบบทางเดินอาหารและขับถ่าย

เกิดความรู้สึกอยากอาหารมากกว่าปกติหรือไม่รู้สึกอยากเลย หรือกินอาหารที่เป็นโทษต่อร่างกาย อาจทำให้เกิดกรดไหลย้อน ปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องผูก ท้องเสีย

6. มดลูก

เมื่อเครียด ชีวเคมีในร่างกายของแม่มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้สภาพภายในมดลูกติดเชื้อได้ง่าย เมื่อสภาพภายในมดลูกมีแต่ความเครียด ลูกน้อยจึงต้องปรับตัวเพื่อให้ทนต่อความเครียดนั้น

7. ลูกของเรา

ความเครียดของแม่ทำให้เลือดและออกซิเจนส่งผ่านลูกน้อยลง เกิดความผิดปกติของพัฒนาการและพฤติกรรมของทารกหลังคลอด

 

วิธีดูแลและรักษาตัวเองเมื่อ แม่ท้องเครียด

นักจิตวิทยาแบ่งการตอบสนองความเครียดของคนเราไว้ 3 รูปแบบ ได้แก่ บู๊ ถอย ชะงัก แล้วคุณแม่เป็นนักตอบสนองแบบไหนลองมาสำรวจดูกันค่ะ

เมื่อฉันเครียด ฉันจะ

1. บู๊ รู้สึกโกรธ หงุดหงิด ก้าวร้าว อยากก่อกวน หรือเรียกร้องความสนใจ

2. ถอย ปลีกวิเวก ตัดขาดจากทุกสิ่ง เศร้าซึม หมกมุ่น

3. ชะงัก ทำอะไรไม่ถูก คิดอะไรไม่ออก สมองว่างเปล่า

 

เมื่อเรารู้แล้วว่าตัวเองมีการตอบสนองต่อความเครียดแบบไหน การบรรเทาหรือขจัดความเครียดนั้นก็เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ต่อไปนี้คือ 3 วิธี 3 สไตล์ ที่จะช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายจากความตึงเครียด สามารถเลือกปรับใช้ได้ตามใจชอบเลย

1. สไตล์ธรรมชาติ

ใช้ประสาทสัมผัสของเรานี่แหละช่วยบำบัดอาการเครียด ดังนี้ ตาดู (ดูธรรมชาติรอบตัว สีสันต่างๆ ที่ธรรมชาติแต่งแต้ม) หูฟัง (เปิดดนตรีที่เป็นเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงคลื่น เสียงนก) จมูกดม (จุดเทียนอะโรม่าหอมๆ หรือหาดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมที่ชอบ) มือสัมผัส (เล่นกับสัตว์เลี้ยง กอดตุ๊กตาที่ชอบ นวดมือหรือคอด้วยโลชั่น) ลิ้นชิมรส (ดื่มน้ำผลไม้สดชื่นๆ กินของว่างที่มีประโยชน์ หรือจะกินไอศกรีมถ้วยเล็กสักถ้วยก็ได้) วิธีนี้เหมาะกับการตอบสนองความเครียดแบบ “บู๊”

2. สไตล์ร่าเริง

เปลี่ยนวันหดหู่เศร้าซึม ไม่ว่าจะด้วยเรื่องในบ้านหรือเพราะฮอร์โมนแม่ท้องเป็นเหตุ ด้วยการหากิจกรรมผ่อนคลายทำ เช่น เดินเล่น ท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ ฟังเพลง นัดสังสรรค์กับเพื่อน เสริมสวย เป็นต้น เหล่านี้อาจทำให้คุณแม่รู้สึกสนุกและมีความสุขมากขึ้น วิธีนี้เหมาะกับการตอบสนองความเครียดแบบ “ถอย”

3. สไตล์มาดขรึม

หากการตั้งครรภ์ทำให้คุณแม่รู้สึกกังวล ลองศึกษาหาข้อมูลแหล่งน่าเชื่อถือต่างๆ หรือบุคคลผู้มีประสบการณ์ เพื่อช่วยหาคำตอบให้กับเรื่องที่กำลังกังวลอยู่ เพราะความรู้จะทำให้เราเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นและกำลังจะเกิดขึ้นได้ดี วิธีนี้เหมาะกับการตอบสนองความเครียดแบบ “ชะงัก”

 

อย่างไรก็ตาม การที่ คุณแม่ เครียดตอนท้อง หรือมีความเครียดไม่ใช่เรื่องไม่ดีเสียทีเดียว เพราะการมีความเครียดในระดับเล็กๆ น้อยๆ จะช่วยให้คุณแม่มีความรอบคอบในการดูแลตัวเองและลูก มีความระมัดระวัง และเปลี่ยนแปลงตัวเองไปในทางที่ดีมากขึ้น ดังนั้นอย่าลืมสำรวจตัวเองและรู้เท่าทันความเครียดนะคะ

 

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก: 


บทความโดย : กองนิตยสาร Amarin Baby & Kids

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up