โรคแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ ที่แม่ท้องต้องระวัง - amarinbabyandkids

โฉมหน้า 15 โรคแทรกซ้อน ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์

Alternative Textaccount_circle
event

โรคแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์

11. ภาวะครรภ์เป็นพิษ

ภาวะพิษแห่งครรภ์เป็นกลุ่มอาการผิดปกติประกอบด้วยอาการบวม ความดันเลือดสูง และมีไข่ขาวในปัสสาวะ มักเกิดในระยะท้ายของการตั้งครรภ์พบในครรภ์แรกมากกว่าในครรภ์หลัง

ภาวะนี้เป็นสาเหตุของการตายของแม่และทารก ถ้าไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง จะทำให้ผู้ตั้งครรภ์ชัก หลอดเลือดในสมองแตก และหัวใจวายได้

สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด เป็นภาวะที่ ไม่สามารถป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าได้ฝากครรภ์ และได้รับการตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้สามารถตรวจพบและให้การรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่ ระยะเริ่มแรก ซึ่งสามารถลดอันตรายลงได้อย่างมาก ทั้งแก่แม่และทารกในท้อง

ในบางรายการรักษาไม่ได้และผลมีอาการรุนแรงขึ้น แพทย์อาจพิจารณาช่วยให้ทารกคลอดก่อนกำหนด เพื่อป้องกันอันตราย ที่อาจจะเกิดต่อแม่ได้

12. ไทรอยด์เป็นพิษ

ต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่สร้างสารไทรอกซิน ซึ่งกระตุ้นให้ร่างกายทำงาน ร่างกายอบอุ่น ทำให้กระฉับกระเฉง แต่ในบางคนต่อมนี้ผลิตสารออกมามากกว่าปกติ ทำให้มือสั่น ใจสั่น ร่างกายสูญเสียพลังงานมาก เหงื่อออกมาก หงุดหงิด ก่อนท้องอาจจะเป็นหรือไม่เป็นก็ได้ แต่ว่าการตั้งครรภ์ไม่ได้กระตุ้นให้เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ แม่ที่เป็นโรคนี้แล้วรักษาไม่ดีจะทำให้ลูกเกิดปัญหาตัวเล็ก ไม่เข็งแรงได้ คนที่เป็นรุนแรงอาจทำให้แท้ง หรือบางคนแม่อาจจะช็อกเป็นอันตรายได้

การรักษา : หมอจะให้ยาที่ไปกดการทำงานของไทรอกซิน ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปกติ การตั้งครรภ์ก็จะเป็นดำเนินไปตามปกติ โดยยาที่ให้ไม่มีผลกับเด็กในครรภ์

การป้องกัน : เนื่องจากโรคนี้ยังไม่รู้สาเหตุ ดังนั้นเวลาตั้งครรภ์ต้องรีบไปฝากครรภ์ เพื่อที่หมอจะได้ให้ยาคุมระดับอาการ ได้โดยไม่ทำให้การตั้งครรภ์มีปัญหา

13. ครรภ์เกินกำหนด

โดยทั่วไป หมายถึงการตั้งครรภ์เกิน ๔๒ สัปดาห์ (ต้องจำวันที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายได้แม่นยำ และประจำเดือนต้องมาสม่ำเสมอด้วย)

สาเหตุยังไม่ทราบแน่นอน ภาวะนี้มีผลเสีย คือ รกทำงานเลวลง ปริมาณน้ำคร่ำลดลง ทารกจะผอมผิวหนังเหี่ยวย่น มีเล็บยาว กะโหลกศีรษะแข็งขึ้น ซึ่งอาจจะมีผลให้คลอดยาก และทารกมีภาวะขาดออกซิเจนได้ง่าย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

14. ตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก

โรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่นอน แต่ครรภ์ผิดปกติชนิดนี้จะต้องแท้งออกมาเสมออันตรายที่สำคัญ คือ การตกเลือดขณะแท้ง ดังนั้น ถ้ามีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก คือ ภาวะที่ส่วนของการตั้งครรภ์ เป็นเม็ดใสๆ คล้ายเม็ดสาคู หรือไข่ปลาอุกรวมกันเป็นพวงคล้ายพวงองุ่นอยู่ภายในโพรงมดลูก ทำให้มดลูกมีขนาดโตอย่างรวดเร็ว ไม่ได้สัดส่วนกับระยะที่ขาดประจำเดือน มักมีอาการแพ้ท้องมากกว่าธรรมดา และอาจมีอาการของครรภ์เป็นพิษร่วมด้วย เช่น บวมความดันเลือดสูง และมีไข่ขาวในปัสสาวะ อาการที่สำคัญ ได้แก่ เลือดออกทางช่องคลอดกะปริบกะปรอย หรืออาจออกครั้งละมากๆ พร้อมกับมีเม็ดคล้ายเม็ดสาคูออกมาด้วย

การรักษา-การป้องกัน ครรภ์ไข่ปลาอุกอาจเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งได้ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคนี้จำเป็นต้องไปรับการตรวจเพื่อติดตามผลการรักษาและดูการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยควรคุมกำเนิดในระยะหลังแท้งอย่างน้อย 1 ปี

15. ครรภ์แฝด

ครรภ์แฝดคือการตั้งครรภ์ที่มีทารกในครรภ์มากกว่า 1 คนขึ้นไป อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อแม่และทารก เช่น โลหิตจางภาวะครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนดครรภ์แฝดอาจเกิดจากการผสมของไข่ใบเดียวหรือหลายใบก็ได้

การดูแลครรภ์แฝด แพทย์สามารถวินิจฉัยการตั้งครรภ์แฝดได้จากการตรวจครรภ์โดยคลำ พบมดลูกมีขนาดโตกว่าอายุครรภ์จริง และฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ได้ชัดเจนมากกว่าหนึ่งตำแหน่ง โดยมีอัตราการเต้นของหัวใจแตกต่างกันมากกว่า 10 ครั้งต่อนาที มักวินิจฉัยจากการตรวจอัลตร้าซาวด์ในกรณีที่ตรวจแล้วไม่แน่ใจ ผู้ที่ตั้งครรภ์แฝด ควรพักผ่อนให้มากในระยะ 2 เดือนสุดท้ายของครรภ์เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

>>> จาก โรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ข้างต้นนั้น ความจริงแล้วปัญหาเหล่านี้ไม่ได้พบบ่อยๆ เพราะการตั้งครรภ์เป็นเรื่องปกติของคนเรา ส่วนมากแล้วการตั้งครรภ์และการคลอดจะจบไปได้ด้วยดีถึงร้อยละ 90 แต่จะมีแม่บางกลุ่มเท่านั้นที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาบางอย่าง…

คุณแม่ท้องจึงอย่าไปตกอกตกใจอะไรมาก ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่เสี่ยง หรือไม่เสี่ยงก็ตาม ทุกเรื่องสามารถดูแลรักษาได้ เพียงแต่ว่าคุณแม่จะต้องใส่ใจดูแลตัวเอง ก่อนที่จะตั้งครรภ์ตรวจเช็คร่างกาย ถ้าไม่มีปัญหาอะไรก็ตั้งครรภ์ได้ ถ้ามีปัญหาก็ทำการรักษาให้เรียบร้อยก่อนแล้วค่อยมาตั้งครรภ์…อย่าปล่อยให้มีการตั้งครรภ์โดยที่มารู้ว่ามีปัญหาเมื่อหลังตั้งครรภ์ไปแล้ว เพราะจะทำให้การดูแลรักษายากขึ้นไปอีก เนื่องจากวิธีการรักษาหลายอย่างสำหรับคนท้อง มีวิธีต่างจากการรักษาในคนธรรมดาอย่างสิ้นเชิง เพราะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกในท้องอีกชีวิตหนึ่ง      

ดังนั้นคำตอบสุดท้าย ซึ่งถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดก็คือ วางแผนก่อนตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ที่มีการวางแผน และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ จะทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาใหญ่ๆ ได้น้อยมากค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.si.mahidol.ac.th , www.si.mahidol.ac.th , kanchanapisek.or.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up