3. ความลำบากหลังคลอดลูก
การเป็นแม่สมบูรณ์ 100% หลังจากวินาทีแรกที่ลูกน้อยคลอดออกมา ชีวิตของแม่หลังจากนี้ไปคือการต้องอยู่กับลูกตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด เพราะไม่ว่าลูกจะนอน ลูกจะกินนม ลูกจะเปลี่ยนผ้าอ้อม ลูกจะอาบน้ำ ฯลฯ ส่วนใหญ่แม่จะเป็นคนทำเองทั้งหมด เพราะแม่จะมีความกังวลว่าลูกจะเป็นอะไรไหม ลูกจะกินนมอิ่มไหม ลูกร้องเพราะง่วง ลูกร้องเพราะเจ็บปวดไม่สบายตัวตรงไหนหรือเปล่า ฯลฯ และในช่วง 3 เดือนแรกแม่จะต้องให้นมลูกทุกๆ 3 ชั่วโมงรวมถึงในช่วงนอนกลางคืนด้วย นี่คือนาฬิกาชีวิตของแม่ที่ต้องเดินแบบนี้ทุกวัน
- แม่หลังคลอดในบางครั้งอาจมีอาการซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งอาจเกิดจากความเหนื่อยล้าในการเลี้ยงลูก ดังนั้นคนที่จะให้กำลังใจแม่หลังคลอดได้ดีที่สุดก็คือ สามี ที่ต้องอยู่ข้างๆ ภรรยา ช่วยเลี้ยงลูก ช่วยเหลือภรรยาทุกอย่างเท่าที่ทำได้ เพื่อให้แม่หลังคลอดไม่เกิดความรู้สึกว่าถูกทอดทิ้งให้รับภาระหนักอึ้งอยู่คนเดียว
4. ความเจ็บปวดเมื่อลูกไม่สบาย
เวลาที่ลูกไม่สบายความรู้สึกของคนเป็นแม่คือ อยากจะเจ็บป่วยแทนลูกเสียเอง และไม่ว่าลูกจะเจ็บป่วยด้วยอาการเล็กน้อย หรือหนักหนาแค่ไหน ความกังวลใจของแม่คืออยากทำทุกวิถีทางให้ลูกหายป่วย โรงพยาบาล หมอที่ไหนดีแม่จะต้องพาลูกไปรักษาจนหาย ไม่ว่าจะเสียเงินเสียทองไปกับการรักษาแค่ไหนแม่ก็ยอม ขอเพียงอย่างเดียวคือให้ลูกหายป่วย
5. ความลำบากใจเมื่อลูกไปโรงเรียนครั้งแรก
วันแรกที่ต้องส่งลูกเข้ารั้วโรงเรียน ถึงแม้ภายใต้ใบหน้า รอยยิ้มและดวงตาที่สว่างสดใสของคนเป็นแม่ที่ถึงแม้จะเต็มใจ ภูมิใจที่ลูกได้เวลาเข้าโรงเรียนแล้วก็ตาม แต่ด้วยหัวใจลึกๆ ของแม่คือเป็นห่วงลูกที่ต้องห่างจากอกไปหลายชั่วโมงกว่าจะได้เจอหน้าลูก และสิ่งที่แม่ทั้งลำบากใจและกังวลใจในการไปโรงเรียนของลูกคือ ลูกจะปรับตัวกับเพื่อนๆ กับคุณครูได้ไหม ? ลูกจะยอมทานข้าวที่โรงเรียน? ลูกจะร้องไห้หาแม่ไหม? ลูกจะมีความสุขที่โรงเรียนไหม? ฯลฯ
- การเตรียมพร้อมก่อนส่งลูกไปโรงเรียน คือ พาลูกให้ไปคุ้นเคยกับโรงเรียนที่จะส่งลูกไปเรียน ให้เขาดูกระเป๋า ดูชุดนักเรียน สร้างความคิดดีดีเกี่ยวกับโรงเรียนให้ลูกฟังบ่อยๆ เพื่อให้เขาคุ้นเคยและไม่ต่อต้านเมื่อต้องถึงเวลาไปโรงเรียนจริงๆ