สายสะดือ

สายสะดือ สายใยระหว่างแม่และลูกน้อยในครรภ์

Alternative Textaccount_circle
event
สายสะดือ
สายสะดือ

คุณแม่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า สายสะดือ มีความสำคัญต่อการตั้งครรภ์มาก หากไม่มีสายสะดือแล้ว ทารกน้อยในครรภ์คงไม่สามารถเติบโตได้ เรามาทำความรู้จักกันค่ะว่า สายสะดือคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และหน้าที่ของสายสะดือมีอะไรบ้าง

สายสะดือ คืออะไร

สายสะดือ คือ สายที่เชื่อมต่อระหว่างทารกในครรภ์และรกที่ติดกับผนังมดลูก สายสะดือนี้จะลำเลียงสารอาหารและเลือดดีจากรกไปสู่ทารกในครรภ์ และจะรับเลือดเสีย และของเสียต่างๆ จากทารกไปสู่รก ระหว่างที่อยู่ในครรภ์ทารกจะหายใจผ่านสายสะดือ เมื่อลูกน้อยของคุณแม่ลืมตาออกมาสู่โลกภายนอก สายสะดือก็จะถูกตัดออกไปและหมดหน้าที่ลง ลูกน้อยของคุณแม่จะเริ่มหายใจเอง ไม่หายใจผ่านสายสะดืออีกต่อไปค่ะ

ลักษณะและหน้าที่ของสายสะดือ

สายสะดือ จะเริ่มสร้างขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์และเมื่อครบกำหนดคลอดจะยาวขึ้นเรื่อยๆ อาจจะถึง 20 นิ้ว สายสะดือนั้นมีลักษณะเหนียวแข็งแรง มีอยู่ด้วยกัน 2 ชั้น ชั้นภายนอกจะเป็นกล้ามเนื้อเรียบ และชั้นภายในจะมีของเหลวลักษณะคล้ายวุ้น ที่เรียกว่า Wharton’s jelly ในสายสะดือ จะมีเส้นเลือดอยู่ด้วยกัน 3 เส้น คือ เส้นเลือดดำ 1 เส้น และเส้นเลือดแดง 2 เส้น เส้นเลือดดำมีหน้าที่ลำเลียงเลือดที่อุดมไปด้วยสารอาหารและออกซิเจนจากรกไปสู่ทารกในครรภ์ ในขณะที่เส้นเลือดแดงจะลำเลียงของเสียออกจากตัวทารกน้อย

ช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์ รกจะส่งผ่านสารแอนติบอดี้ของคุณแม่สู่ลูกน้อยผ่านสายสะดือด้วย ซึ่งเจ้าสารนี้จะสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยของคุณแม่ห่างไกลจากการติดเชื้อในช่วง 3 เดือนแรกเกิดค่ะ

คุณหมอจัดการกับสายสะดือหลังคลอดอย่างไร

เมื่อลูกน้อยคลอดออกมาแล้ว คุณหมอจะหนีบสายสะดือ 2 ที่ คือบริเวณที่ห่างกับสะดือ 3-4 ซม. และบริเวณปลายสายสะดือที่ใกล้กับรก จากนั้นคุณหมอตัดสายสะดือที่อยู่ระหว่างที่หนีบ 2 ที่นี้ และจะเหลือตอสั้นๆ ไว้ ซึ่งระหว่างที่ตัดสายสะดือ ทารกน้อยจะไม่รู้สึกเจ็บปวด เนื่องจากที่สายสะดือไม่มีเส้นประสาทอยู่ค่ะ

บทความแนะนำ 6 ข้อ ห้ามทำกับสะดือทารกแรกเกิด
บทความแนะนำ วิธีดูแลและทำความสะอาดสะดือลูกน้อย

หลังลูกน้อยของคุณแม่เกิดประมาณ 5-15 วัน ตอสายสะดือนี้จะค่อยๆ แห้ง เปลี่ยนเป็นสีดำและหลุดออกมาในที่สุด และอาจจะต้องใช้เวลาอีก 7-10 วัน แผลที่สะดือจึงหายสนิทค่ะ ระหว่างที่รอให้สายสะดือหลุดและแผลแห้งสนิท คุณแม่ต้องรักษาความสะอาดบริเวณสะดือของลูกน้อยและอย่าปล่อยให้ชื้นนะคะ ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดการติดเชื้อได้ หากคุณแม่สังเกตเห็นว่ามีเลือดออกหรือกลิ่นเหม็นบริเวณสะดือของทารกน้อย ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอทันที

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อ ปัญหาสายสะดือที่พบบ่อยระหว่างตั้งครรภ์ คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up