ยาที่แม่ท้องต้องระวังเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ลูกในครรภ์ - Amarin Baby & Kids

ยาที่แม่ท้องต้องระวังเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ลูกในครรภ์

Alternative Textaccount_circle
event

ขณะตั้งครรภ์ สิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก ก็คือการใช้ยา เพราะการใช้ยาที่แรงเกินไป ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการสร้างอวัยวะของตัวอ่อนในครรภ์

แม่กินยา..ลูกกินด้วย

ยาเกือบ ทุกชนิด เมื่อคุณแม่กินเข้าไป จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด และส่วนหนึ่งจะผ่านรกไปสู่ลูกในท้อง ทำให้ลูกได้รับยานั้นด้วย ยาจะก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกในท้องหรือไม่นั้น ขึ้นกับว่าเป็นยาชนิดอันตรายมากน้อยแค่ไหน และลูกได้รับในปริมาณเพียงใด ที่สำคัญยังขึ้นกับระยะของการตั้งครรภ์อีกด้วย

โดยปกติแล้ว ช่วงเวลาที่อันตรายและอาจทำให้ลูกน้อยเกิดความพิการได้มากที่สุด คือช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เพราะเป็นช่วงที่ทารกกำลังสร้างอวัยวะต่างๆ อยู่ ถ้ามีอะไรไปรบกวนในช่วงนี้จะทำให้เกิดความพิการขึ้นมาได้ คุณแม่ตั้งครรภ์ อย่าซื้อยากินเอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

  • เมื่อพ้นช่วงนี้ไปแล้วมักไม่มีผลทำให้เกิดความพิการ แต่จะไปมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์มากกว่า ที่สำคัญอีกอย่างคือ มีผลต่อสมอง ซึ่งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยตลอดตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนหลังคลอด ดังนั้นยาบางชนิดแม้จะไม่ก่อให้เกิดความพิการที่เห็นได้ชัดทางร่างกาย แต่อาจมีผลต่อพัฒนาการของสมองของลูกได้

ยากับการตั้งครรภ์นั้นมีอันตรายเกินกว่าที่คุณแม่หลายๆคนคาดไม่ถึง และจะมียากลุ่มใดบ้างที่ ว่าที่คุณแม่ ควรหลีกเลี่ยง และทำไมยากลุ่มเหล่านั้นจึงเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ ไปดูกันเลยค่ะ

freeimages.co.uk medical images

1. ยาปฏิชีวนะ สาเหตุที่ ควรเลี่ยง ยาฆ่าเชื้อ หรือยาแก้อักเสบ บางกลุ่ม มีผลต่อการสร้างกระดูกอ่อน โดยเฉพาะยาในกลุ่ม Quinolone หากจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะระหว่างตั้งครรภ์จริงๆ ยาในกลุ่ม Penicillin สามารถรับประทานได้ แต่ทางที่ดีควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อชั่งน้ำหนักว่า ประโยชน์หรือโทษที่จะเกิดขึ้น สิ่งใดมีมากกว่ากันยาปฏิชีวนะ_02-2

ยาปฏิชีวนะที่ใช้กันบ่อย : อะม็อกซีซิลลิน  เพนนิซิลลิน เตตราซัยคลิน  นอร์ฟล็อกซาซิน

รู้แล้วบอกต่อ

– ยาปฏิชีวนะ ไม่ใช่ ยาแก้อักเสบ

– ยาปฏิชีวนะ เป็น ยาอันตราย

3 โรค หายได้ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ

  1. หวัด-เจ็บคอ : กว่าร้อยละ 80 เกิดจากไวรัส มีอาการ เช่น น้ำมูกไหล ไอ จาม เสียงแหบ เจ็บคอ คันคอ มีไข้ เป็นนาน 7-10 วัน โดยวันที่ 3-4 จะมีอาการมากที่สุด แล้วจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง รักษาโดยการดื่มน้ำอุ่น กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ พักผ่อนให้มาก ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ
  2. ท้องเสีย : กว่าร้อยละ 99 เกิดจากไวรัส หรืออาหารเป็นพิษ มีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ อาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย รักษาโดยดื่มน้ำเกลือแร่ ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ
  3. แผลเลือดออก : เช่น มีดบาด แผลถลอก แผลเล็กน้อยจากอุบัติเหตุ ซึ่งผู้ป่วยที่มีสุขภาพโดยรวมแข็งแรงดี รักษาโดยล้างทำความสะอาดอย่างถูกต้อง ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ
ข้อมูลจาก..โครงการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในร้านยา ปี พ.ศ. 2555 http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/42
อ่านต่อ >> กลุ่มยาที่แม่ท้องควรหลีกเลี่ยง” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up