ว่าที่คุณแม่มือใหม่ที่อายุครรภ์ล่วงเข้าต้นไตรมาส 3 มักจะมีอาการแข็งๆ นูนๆ ปรากฏขึ้นมาที่หน้าท้อง ซึ่งลักษณะท้องที่แข็งขึ้นมานี้เรียกว่า “อาการท้องแข็ง” ซึ่งเกิดจากมดลูกแข็งตัวเป็นก้อนขึ้นมานั่นเองค่ะ อยากรู้กันไหมว่า อาการ ท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ นั้นกำลังบอกอะไร ? แล้วจะเป็นอันตรายกับลูกหรือเปล่า ? เอ๊ะ..หรือว่าจะคลอดก่อนกำหนด !!!
ท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร ?
ท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ เกิดจากมดลูกหดรัดตัว จนทำให้คุณแม่ท้องรู้สึกปวดท้อง หรือมีอาการท้องแข็งขึ้นมา สำหรับอาการท้องแข็ง สามารถพบว่าเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ
1. ท้องแข็ง ที่มาจากการหดรัดตัวของมดลูกตามธรรมชาติ ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 7-8 เดือน เวลาที่มดลูกหดรัดตัวคุณแม่ท้องจะรู้สึกได้ว่าท้องแข็งตึงขึ้นมา กดแล้วไม่นิ่ม ท้องแข็งในกรณีจะพบว่ามีอาการท้องแข็งเกิดขึ้นชั่วโมงละ 1-2 ครั้ง ท้องแข็งไม่สม่ำเสมอ และไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด
2. ท้องแข็ง ที่เป็นสัญญาณเตือนคลอดก่อนกำหนด สำหรับกรณีนี้คุณแม่จะพบว่าตัวเองมีอาการท้องแข็งที่เกิดจากมดลูกหดรัดตัวถี่ คือมีอาการท้องแข็งเกิดขึ้นทุก 10 นาที แล้วมีอาการเจ็บท้องขณะท้องแข็งร่วมด้วย ซึ่งหากมีอาการแบบนี้ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่อาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด จึงแนะนำว่าหากคุณแม่ไม่แน่ใจว่าอาการท้องแข็งที่เกิดขึ้นกับตัวเองเป็นแบบไหน ควรไปพบคุณหมอที่ดูแลการตั้งครรภ์ของคุณแม่ทันทีค่ะ
Good to know… อาการท้องแข็ง คือการบีบตัวของมดลูก ซึ่งถ้ามดลูกบีบตัวตอนท้องครบไตรมาสถือว่าเป็นอาการปกติ แต่ถ้าหากมดลูกมีการบีบแข็งตัวก่อนเวลาที่ควรจะเกิดขึ้น ก็อาจเป็นสาเหตุให้มีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดขึ้นได้ !!
สำหรับอาการท้องแข็งที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์นั้น เป็นอาการที่พบได้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน ไม่ว่าจะมีประสบการณ์การตั้งท้องมาก่อนแล้ว หรือจะเป็นแม่ท้องมือใหม่ท้องแรก ก็พบว่ามีอาการท้องแข็งอย่างปฏิเสธไม่ได้ค่ะ ซึ่งอาการท้องแข็งยังไม่หมดแค่นี้ เพราะท้องแข็งก็อาจมาจากอีกหลายสาเหตุได้เหมือนกันค่ะ ฉะนั้นเราไปดูกันหน่อยค่ะว่า ท้องแข็งแบบไหนอันตราย หรือเป็นแค่อาการท้องแข็งปกติ…
อ่านต่อ >> “อาการท้องแข็ง เรื่องที่แม่ท้องต้องระวัง !!” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่