จะรู้ได้ไงว่าลูกในท้องสมบูรณ์ …การตรวจว่าทารกในครรภ์สมบูรณ์ดีหรือไม่ เริ่มตั้งแต่รู้ว่าตั้งครรภ์ คุณแม่มาฝากครรภ์ แพทย์จะตรวจเลือดและปัสสาวะเพื่อดูความพร้อมของสุขภาพแม่ และนัดติดตามดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์เป็นระยะๆ
must read : ค่าใช้จ่ายในการตั้งครรภ์ ตั้งแต่ฝากครรภ์จนถึงตอนคลอด ต้องจ่ายเท่าไร?
หากตรวจพบว่าเป็นปกติ ทารกก็น่าจะสมบูรณ์ดี แต่อย่างไรก็ตามต้องเน้นย้ำว่า “การตั้งครรภ์เป็นความเสี่ยงของคุณแม่และทารกในครรภ์ตลอดการตั้งครรภ์และการคลอด” เพราะทางการแพทย์ยังไม่สามารถติดตามดูทารกได้ตลอดเวลา ยังต้องอาศัยความร่วมมือในการนับการดิ้นของทารกในครรภ์ของมารดาเพื่อช่วยบอกความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งความรู้ ความเข้าใจและร่วมมือกันระหว่างแพทย์และครอบครัวก็จะลดปัญหาและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้
จะรู้ได้ไงว่าลูกในท้องสมบูรณ์
มีวิธีที่คุณแม่สามารถตรวจสอบด้วยตนเองในขั้นต้นว่า ลูกของคุณแม่สมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตที่ปกติหรือไม่ โดยไม่ยากเลยค่ะ วิธีต่างๆที่จะมาเล่าให้คุณแม่ฟังมีดังนี้ค่ะ
1. ให้คุณแม่ชั่งน้ำหนักตัวของคุณแม่ทุก 1 สัปดาห์
โดยเริ่มเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 3 เดือน ที่ไม่ให้คุณแม่ชั่งน้ำหนักก่อนหน้านี้ เพราะว่าในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ น้ำหนักของคุณแม่ส่วนใหญ่จะไม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากคุณแม่มักมีอาการแพ้ท้อง ทำให้รับประทานอาหารไม่ได้ หรือรับประทานได้น้อย และบางครั้งอาจรับประทานอาหารไม่ครบทั้ง 5 หมู่ ดังนั้นในช่วง 3 เดือนแรกนี้ ถ้าคุณแม่น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการตั้งครรภ์ คุณแม่ยังไม่ต้องวิตกกังวลค่ะ แต่เมื่อหลัง 3 เดือนไปแล้วเป็นช่วงที่ลูกน้อยในครรภ์มีการเจริญเติบโตอย่างมาก และอาการแพ้ท้องของคุณแม่จะหายไป คุณแม่สามารถรับประทานอาหารได้ น้ำหนักตัวของคุณแม่ควรจะเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละประมาณ ครึ่งกิโลกรัม ถ้าคุณแม่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่านี้แสดงว่าคุณแม่ รับประทานอาหารไม่เพียงพอแก่ความต้องการของลูกในครรภ์
ซึ่งจะทำให้ลูกเกิดมาน้ำหนักน้อยกว่าปกติได้ ตรงกันข้ามถ้าน้ำหนักตัวของคุณแม่เพิ่มมากกว่า ครึ่งกิโลกรัมใน 1 สัปดาห์ คุณแม่ต้องสังเกตตัวเองว่าคุณแม่มีอาการบวมหรือไม่ หรือคุณแม่มีประวัติกรรมพันธุ์เป็นเบาหวานหรือไม่ อาการบวมอาจจะแสดงว่าคุณแม่มีปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูงที่เกิดจากการตั้ง ครรภ์ ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะสุขภาพของตัวคุณแม่เองและลูกในครรภ์ คุณแม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ หรือพยาบาลที่สถานบริการที่คุณแม่ไปฝากครรภ์ ถ้าคุณแม่ไม่บวม หรือตรวจไม่พบว่าเป็นเบาหวาน อาจเป็นไปได้ว่าถึงคุณแม่รับประทานมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ลูกในครรภ์ของคุณแม่ตัวใหญ่เกินไป เมื่อถึงเวลาคลอดจะคลอดยาก หรือมิเช่นนั้นคุณแม่ก็จะมีน้ำหนักส่วนเกินเหลือมากเกินไปเมื่อหลังคลอด ดังนั้นน้ำหนักที่ขึ้นน้อยหรือมากเกินไป เป็นสิ่งที่แสดงถึงความผิดปกติที่คุณแม่ต้องใส่ใจค่ะ
must read : 9 วิธีลดน้ำหนักหลังคลอด..ให้คุณแม่กลับมาสวยเป๊ะเหมือนเดิม!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่