Q: ถ้าแม่ท้องติด เชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด-19 จะอันตรายแค่ไหน?
แต่สำหรับคุณแม่ท้องคนไหนที่มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในร่างกาย การทำงานของปอดมีประสิทธิภาพที่ลดลง ปริมาณการใช้ออกซิเจนก็จะเพิ่มขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันของแม่ท้องก็จะเปลี่ยนไป ก็อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อต่างๆ ได้เหมือนกัน และมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสในตระกูลเดียวกันอย่าง ไข้หวัดใหญ่ หรือ และโรคจากเชื้อไวรัสชนิดอื่นที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจอื่นๆ
ซึ่งอาจมีอาการรุนแรงมากกว่าปกติได้ ดังนั้นคุณแม่ท้องจึงควรต้องระมัดระวังสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอเหมือนเดิม หากมีความกังวลใจสามารถปรึกษาแพทย์ที่ฝากครรภ์ด้วยได้
Q: หากแม่ท้องและแม่ลูกอ่อนให้นม เป็นกลุ่มเสี่ยง ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อให้ลูกปลอดภัย
สำหรับคุณแม่ท้อง หรือคุณแม่หลังคลอด ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง คือ ผู้ที่มีประวัติเดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง หรือสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย COVID-19 ควรดูแลตัวเอง ดังนี้
- แยกตนเองออกจากครอบครัวและสังเกตอาการจนครบ 14 วัน งดการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
- งดการออกไปในที่ชุมชนสาธารณะโดยไม่จำเป็น และงดการพูดคุย หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นในระยะใกล้กว่า 2 เมตร
- กรณีครบกำหนดนัดฝากครรภ์ ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบว่าตนเองอยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง 14 วัน เพื่อพิจารณาเลื่อนการฝากครรภ์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
- หากเจ็บท้องคลอด ต้องไปโรงพยาบาลทันที และแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบว่าตนเองอยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง 14 วัน
Q: แม่ให้นม ควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงโควิด-19 ระบาด
สำหรับเด็กทารกที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ COVID-19 ก็จัดเป็นผู้มีความเสี่ยง จะต้องมีการแยกตัวออกจากผู้อื่น และต้องสังเกตอาการ เป็นเวลา 14 วันสำหรับการดูแล
ส่วนกรณีที่แม่เป็นผู้ที่สงสัยติดเชื้อและติดเชื้อ COVID-19 ระหว่างรักษาตัว ก็ยังสามารถเลี้ยงลูกได้ พราะน้ำนมแม่เป็นอาหารที่สำคัญต่อการสร้างระบบภูมิต้านทานโรคให้กับเด็ก และยังไม่มีหลักฐานการติดต่อผ่านทางรกหรือผ่านทางน้ำนม แต่ต้องปฏิบัติตามแนวทางป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด
Must read >> ให้ลูกกินน้ำนมได้ไหม ถ้าแม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ติดเชื้อโควิด-19
วิธีป้องกัน covid 19 ให้ปลอดภัยทั้งแม่ลูก (สำหรับแม่ให้นม)
ข้อแนะนำการปฏิบัติสำหรับแม่ที่เป็นผู้ต้องสงสัยว่าจะติดเชื้อ หรือแม่ที่ติดเชื้อ COVID-19 แล้วและมีสภาพร่างกายพร้อมที่จะปั๊มนมได้ ดังนี้
ก่อนเริ่มกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเตรียมนมและการปั๊มนม
- อาบน้ำหรือเช็ดทำความสะอาดบริเวณเต้านมและหัวนมด้วยน้ำและสบู่
- ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำ และสบู่ นานอย่างน้อย 20 วินาที หรือแอลกอฮอล์เข้มข้น 70% ขึ้นไป
- สวมหน้ากากอนามัย ตลอดการทำกิจกรรมเกี่ยวกับการเตรียมนมและการปั๊มนม
หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเตรียมนมและการปั๊มนม
- ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ เช่น ที่ปั้มนม ขวดนม ด้วยน้ำยาล้างอุปกรณ์ และทำการนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อ
การให้นม - หาผู้ช่วยเหลือ/ ญาติที่มีสุขภาพแข็งแรงที่ทราบวิธีการป้อนนมที่ถูกต้องและต้องปฏิบัติตามวิธีการป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด โดยวิธีการนำน้ำนมแม่มาป้อนด้วยการใช้ช้อน/ ถ้วยเล็ก/ ขวด
สำหรับ วิธีป้องกัน covid 19 กรณีที่แม่ต้องอยู่เพียงลำพัง (ข้อจำกัดจริงๆ) คุณแม่สามารถป้อนนมลูกได้เอง โดยปฏิบัติตามแนวทาง เพื่อป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด
Reference
1. CDC, 2020. Pregnancy & Breastfeeding [WWW Document]. URL https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/prepare/pregnancy-breastfeeding.html (accessed 3.17.20).
2. https://www.unicef.org/thailand/th/stories/(accessed 3.17.20).
3. WHO, 2020. Clinical management of severe acute respiratory infection (SARI) when COVID-19 disease is suspected.
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- เมื่อแม่จิตตก! 9 วิธีคลายเครียด ดูแลสุขภาพใจไม่ให้ Panic ช่วงโควิด-19
- แนะ 4 วิธี ทำความสะอาดของใช้ ใกล้ตัว ให้ปลอดเชื้อโควิด-19
- ฟ้าทะลายโจร ป้องกันโควิดได้หรือไม่?
- วิจัยพบ! คนสูบบุหรี่ เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ง่ายกว่าคนอื่น!
- วิธี ลงทะเบียนรับเงิน 5,000 บาท ฝ่าวิกฤติโควิด-19ใครมีสิทธิ์บ้าง? เช็กเลย!!
ขอบคุณข้อมุลอ้างอิงจาก : multimedia.anamai.moph.go.th , www.newtv.co.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่