อาการของโรคดาวน์ซินโดรม
เมื่อคลอดทารกออกมา จะสามารถสังเกตเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน ทั้งโครงสร้างใบหน้าที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น หน้าแบน หัวเล็ก หูเล็ก ปากเล็ก ตาเรียว หางตาเฉียงขึ้น มีจุดสีขาวอยู่ที่ตาดำ คอสั้น แขนขาสั้น ลิ้นจุกปาก ตัวอ่อนปวกเปียก กล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆไม่แข็งแรง ไม่ว่าจะเกิดจากแม่คนไหน เด็กกลุ่มดาวน์ก็จะมีหน้าตาใกล้เคียงกันและแตกต่างกันพี่น้องคนอื่น มักมีโรคแทรกซ้อนตั้งแต่กำเนิด เช่นโรคหัวใจพิการ หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด
ส่วนพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กดาวน์ซินโดรม จะล่าช้ากว่าเด็กปกติ เช่น การยื่นมือ นั่ง เดิน ยืน นอน เป็นต้น ซึ่งต้องใช้เวลาฝึกฝนระยะหนึ่ง พวกเขาก็สามารถทำได้เหมือนเด็กคนอื่น นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กดาวน์ซินโดรม 1 ใน 10 คน อาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น อาการออทิสติก (ASD) หรือโรคสมาธิสั้น (ADHD) ร่วมด้วย
วิธีดูแลเด็กดาวน์ซินโดรม
ในเมื่อดาวน์ซินโดรมเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ ดังนั้นเด็กๆ จำเป็นต้องได้รับการดูแลทั้งทางร่างกายและฝึกทักษะทางสติปัญญา ให้พวกเขาได้สามารถพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงเข้าสังคมกับผู้อื่นได้ คุณพ่อคุณแม่ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ตั้งแต่ตัดสินใจตั้งครรภ์ต่อ เพื่อเข้าใจวิธีการดูแลลูกอย่างถูกต้อง
นอกจากนี้ควรพาเด็กไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อให้เด็กได้รับการบำบัดและพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ สอนให้เด็กกินข้าวเอง หัดเดิน หัดพูด ซึ่งเป็นพัฒนาการตามวัย
ทั้งนี้ การมีลูกเป็นดาวน์ซินโดรมไม่ใช่เรื่องรังเกียจ เมื่อตัดสินใจที่จะให้ลูกเกิดมาแล้ว สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำคือการเปิดใจยอมรับ พยายามมองโลกในแง่ดีและเข้าใจ เมื่อลูกได้รับความรักและการดูแลอย่างเต็มที่แล้ว เมื่อพวกเขามีพื้นฐานจิตใจที่มั่นคงแข็งแรง ก็พร้อมจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขเหมือนเด็กทั่วไปแล้วค่ะ
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
โรคทางพันธุกรรม ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกมีอะไรบ้าง?
นี่คือ 4 เหตุผลของการมีลูกตอนอายุ 35 ดีกว่า มีตอนอายุ 25!
ขอบคุณข้อมูลจาก https://mgronline.com, https://www.honestdocs.co
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่