ฝุ่นPM2.5 อันตรายแค่ไหนกับใครบ้าง
กรมควบคุมมลพิษได้กำหนดค่ามาตรฐานของฝุ่นPM2.5ที่ร่างกายได้รับในระยเวลา 24 ชั่วโมง ไว้ที่ไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (แต่ละประเทศกำหนดค่ามาตรฐานไว้แตกต่างกัน) ด้วยขนาดเล็กจิ๋วของเจ้าฝุ่นจิ๋ว เมื่อเคลื่อนผ่านหลอดเลือดไปยังทำความเสียหายตั้งแต่เยื่อบุโพรงจมูก หลอดลม ไปจนถึงระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง และปอด จึงมีผลต่อสุขภาพในทันทีและในระยะยาว ได้แก่
- หอบหืด
- หลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง
- โรคหลอดเลือดหัวใจ
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคหัวใจขาดเลือด
- โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
- ติดเชื้อเฉียบพลัน
- มะเร็งปอด
- ไขมันพอกตับ
หากสูดเอาฝุ่นPM 2.5 เป็นเวลานานทำให้มีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นถึง 6 -13 % เพราะเป็นสารก่อมะเร็งที่เป็น 1 ใน 8 สาเหตุการตายของประชากรทั่วโลกก่อนวัยอันควร โดยกลุ่มเสี่ยงมากที่สุดได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วย โรคNCDs ไม่เพียงเท่านั้นการศึกษาสุขภาพเด็กแรกเกิดจากแม่ที่อยู่ในพื้นที่ฝุ่นละอองมากในหลายประเทศ พบว่า ทารกส่วนใหญ่คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และเจริญเติบโตช้าผิดปกติ
นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับดีเอ็นเอของเซลล์ต่างๆในร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอ และมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน หัวใจและมะเร็งชนิดต่างๆมากกว่าเด็กทั่วไป เพราะทันทีที่แม่หายใจฝุ่นจะเคลื่อนที่ไปตามหลอดเลือดเข้าสู่สายสะดือถึงทารกอย่างรวดเร็ว แถมตัวแม่เองก็หายใจไม่เต็มที่ ลูกในครรภ์จึงได้รับออกซิเจนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เห็นแล้วไหมคะว่า ฝุ่นที่มองไม่เห็น หรือไม่ทำให้เกิดบาดแผล เจ็บปวดในทันที อันตรายกับทั้งตัวคุณแม่ ลูกน้องในครรภ์ และลูยวัยอื่นแค่ไหน คุณแม่ไม่ควรละเลย ต้องรีบหาทางป้องกันโดยเร็ว ซึ่งการใช้ หน้ากากกันฝุ่น ที่เหมาะสมช่วยได้
ป้องกันอย่างไรให้ปลอดภัยจากฝุ่น PM2.5
นพ. บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล คณะบดีวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ แนะนำวิธีดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากฝุ่นPM2.5 ไว้ 2 วิธีหลักๆ คือ “ป้องกันไม่ให้เข้าไป และขับของเสียออกมา” วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือหลีกเลี่ยงไปอยู่ในที่โล่งแจ้ง เด็กๆงดกิจกรรม เล่นกีฬากลางแจ้ง เพราะยิ่งออกกำลังกาย จะยิ่งหายใจมากขึ้น ก็เท่ากับรับฝุ่นพิษเพิ่มขึ้นด้วย
อย่างที่สองขับออกจากร่างกาย ด้วยการกินผักผลไม้ที่มีสารอนุมูลอิสระ เช่นวิตามินซี จากฝรั่ง ส้ม เบต้าแคโรทีน จากฟักทอง แครอท งดกินอาหารที่ก่อสารอักเสบ เช่น ของปิ้งย่าง ของทอด และเติมสารซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) จากบรอกโคลีเพิ่มขึ้น
คงเป็นเรื่องยากที่จะหยุดกิจวัตรประจำวันทั้งหมด คุณแม่ที่ต้องไปทำงานและเด็กไปโรงเรียนต้องหาอุปกรณ์ป้องกันฝุ่นไว้ใช้เพื่อออกนอกบ้าน นั่นก็คือ หน้ากากกันฝุ่นซึ่งในท้องตลาดมีหน้ากากหลายแบบให้เลือกใช้ ฉะนั้นคุณแม่ต้องรู้วิธีเลือก หน้ากากกันฝุ่นที่เหมาะสมเพื่อตัวเองและลูกน้อย