ปัจจัยที่เสี่ยงที่ควรระวัง มีอะไรบ้าง?
1. ผู้หญิงตั้งครรภ์ตอนอายุมาก
2. การใส่ห่วงอนามัย
3. มีประวัติว่าเคยท้องนอกมดลูก
4. การใช้ยาบางอย่าง เช่น ยากระตุ้นการตกไข่
5. เคยมีการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน และท่อนำไข่ ซึ่งมีโอกาสที่จะทำให้ท่อนำไข่อุดตัน
6. สูบบุหรี่ สารพิษจากบุหรี่จะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของปีกมดลูก และการโบกพัดของขนเล็กๆในท่อนำไข่
7. ทานยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสโตรเจนเพียงอย่างเดียว อย่าง ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดจะทำให้การบีบตัวของท่อนำไข่ช้าลง เป็นผลให้ตัวอ่อนเคลื่อนที่ได้ช้า
ท้องนอกมดลูกอันตรายไหม ?
ถามว่าการตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นอันตรายกับตัวคุณแม่หรือไม่ ตอบได้เลยว่าอันตรายมากหากปล่อยให้อายุครรภ์ดำเนินมากขึ้นต่อไปเรื่อยๆ เพราะการที่ตัวอ่อน(ทารก) ยังคงพัฒนาเติบโตอย่างต่อเนื่องนั้นสามารถทำให้อวัยวะภายในของคุณแม่ฉีกขาด จนทำให้มีเลือดออกจำนวนมาก อันตรายเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ทั้งแม่และลูกในครรภ์ แนะนำว่าเมื่อพบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
Good to know… “ในผู้หญิงที่เคยท้องนอกมดลูกมาก่อน เมื่อตั้งครรภ์ครั้งต่อไป อาจมีโอกาสเกิดขึ้นอีกครั้งประมาณ 1-2%”
ภาวะแทรกซ้อนจากการท้องมดลูก ที่ต้องระวัง !
- ภาวะแทรกซ้อนในระยะเฉียบพลัน คือ การเสียเลือดมาก อาจทำให้เสียชีวิตได้
- ภาวะแทรกซ้อนในระยะ คือมีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง, ท้องนอกมดลูกซ้ำในครรภ์ต่อไป มีโอกาสเป็นมากกว่าคนทั่วไป 7-13 เท่า และหากต้องผ่าตัดปีกมดลูก อาจเกิดพังผืด ท่อรังไข่ ตีบตัน ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากตามมาได้2
การป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง?
1. ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลา ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ
2. ควรงด หรือเลิกการดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุรี่
3. เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรสวมถุงยางอนามัยเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ หากมีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ควรไปพบแพทย์และรักษาโรคให้หายขาดก่อนมีการตั้งครรภ์
Good to know… “หลังจากการรักษาภาวะนอกมดลูกจนหายดีแล้ว ระหว่างนี้ควรมีการคุมกำเนิด และเว้นระยะการตั้งครรภ์ครั้งใหม่ออกไปประมาณ 3-6 เดือน เพื่อจะได้แน่ใจว่าสุขภาพของคุณแม่แข็งแรงสมบูรณ์พร้อมต่อการตั้งครรภ์แล้วจริงๆ”
การตั้งครรภ์คุณภาพทำได้ไม่ยาก เพียงแค่ทุกครั้งก่อนมีการตั้งครรภ์ แนะนำให้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายควรที่จะมีการตรวจสุขภาพก่อนมีลูก ทั้งนี้ก็เพื่อลดอัตราความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพขณะตั้งครรภ์ …ด้วยความห่วงใยค่ะ
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจ
อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ เรื่องที่แม่ท้องต้องระวัง !!
คนท้อง ปวดหัวไมเกรน รับมืออย่างไร ?
น้ำคร่ำน้อย อันตรายไหม
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
1,2รศ.พ.ประนอม บุพศิริ สูตินรีแพทย์. http://haamor.com/th/ท้องนอกมดลูก/
https://medthai.com/ท้องนอกมดลูก/
http://www.paolohospital.com/home/mom/ectopic-pregnancy/
พญ.นิศานาถ ธนะภูมิ สูติ-นรีแพทย์. http://www.healthtoday.net/