แผลฝีเย็บ ข้อควรรู้เกี่ยวกับฝีเย็บของคุณแม่หลังคลอดลูก - amarinbabyandkids
แผลผ่าคลอด

ข้อควรรู้เกี่ยวกับแผลฝีเย็บ หลังคลอด

Alternative Textaccount_circle
event
แผลผ่าคลอด
แผลผ่าคลอด

สำหรับคุณแม่ที่คลอดลูกแบบธรรมชาติ  หลังจากคลอดเสร็จ คุณหมอจะทำการเย็บบริเวณทวารหนักถึงช่องคลอดหลังจากที่มีการฉีกขาดขณะเบ่งคลอดลูก  หรือที่แพทย์กรีดฝีเย็บเพื่อป้องกันการฉีกขาดระหว่างคลอดกลายเป็น แผลฝีเย็บ อาจทำให้คุณแม่เจ็บบริเวณช่องคลอด   การดูแลตัวเองหลังคลอดจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ฝีเย็บ คือบริเวณที่อยู่ระหว่างรูเปิดของทวารหนักกับรูเปิดของช่องคลอด องค์ประกอบหลักในฝีเย็บคือไขมันและกล้ามเนื้อซึ่งมักจะฉีกขาดเวลาคลอดลูก ซึ่งแผลเย็บจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อทารกได้คลอดออกมาแล้ว  โดยจุดประสงค์หลักของการตัดฝีเย็บก็เพื่อที่จะเพิ่มความกว้างของช่องทางคลอด  ช่วยลดระยะเวลาในระยะคลอด และป้องกันการฉีกขาดเองของฝีเย็บ

การตัดและเย็บฝีเย็บ

 

ในการคลอด แพทย์จะทำการตัดฝีเย็บเพื่อช่วยขยายทางออกของทารก  ฝีเย็บมักจะถูกตัดเมื่อศีรษะทากรกโผล่ทางช่องคลอด  แพทย์จะใช้กรรไกรตัดบริเวณฝีเย็บอย่างน้อย 45 องศาจากกึ่งกลาง เป็นวิธีที่นิยมใช้ทั่วไป เนื่องจากเป็นวิธีที่เพิ่มความกว้างของช่องทางคลอดได้มากที่สุดเมื่อการคลอดเสร็จสมบูรณ์แพทย์จะทำการเย็บปิดแผล

 

และนั่นก็แปลว่าคุณแม่ได้ทำภารกิจอันยิ่งใหญ่สำเร็จแล้ว   งานต่อไปคือการดูแลให้แผลที่เย็บไว้หายเร็วขึ้นโดยการทำตามคำแนะนำต่อไปนี้ค่ะ

วิธีการดูแลฝีเย็บของคุณแม่หลังคลอดด้วยตนเอง

ทำความสะอาด การทำความสะอาดบริเวณแผลฝีเย็บ  ให้คุณแม่ใช้สำลีชุบน้ำอุ่นทำความสะอาดโดย เช็ดลงล่างทางเดียวทิ้ง”ความหมาย คือคุณแม่ต้องเช็ดทำความสะอาดเริ่มจากช่องคลอด แล้วเช็ดลากอย่างเบามือไปทางทวารหนัก ห้ามย้อนศรเด็ดขาด  ถ้าเช็ดย้อนขึ้นเชื้อโรคจากทวารหนักอาจเข้าไปในแผล การเช็ดแผลควรทำทีเดียวแล้วทิ้งเลย ไม่ใช้ก้อนสำลีเดิมที่เช็ดแล้ว  มาเช็ดวนซ้ำเรื่อยๆ แทนที่จะสะอาด กลับกลายว่านำเอาเชื้อโรคกลับเข้าไปในแผลอีก

เรื่องการอาบน้ำ เวลาอาบน้ำหากแผลโดนน้ำก็ไม่มีปัญหาค่ะ  สามารถล้างด้วยน้ำเปล่าได้โดยให้น้ำรินไหลผ่าน แต่ห้ามเอาหัวฉีดล้างชำระ หรือใช้ฝักบัวล้างโดยตรง เพราะแรงดันของน้ำจะทำให้แผลเปิดแยกออกจากกันได้  แถมอาจทำให้เชื้อโรคเข้าไปสู่ส่วนลึกๆของแผลได้อีกด้วย  หลังอาบน้ำเสร็จก็เช็ดให้แห้ง แล้วใส่ผ้าอนามัยไว้ให้เรียบร้อย

น้ำคาวปลา ช่วงหลังคลอดจะมีน้ำคาวปลาไหลซึมอออกมาทางช่องคลอด ซึ่งน้ำคาวปลาจะหมดภายใน 3-4 สัปดาห์   คุณแม่ควรใส่ผ้าอนามัยไว้ตลอดเพื่อป้องกันการเลอะเปื้อน   และต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยให้บ่อยครั้งที่สุด  ควรให้แผลแห้งอยู่ตลอดเวลา   อย่าให้แผลแฉะชื้น  หมักหมมจากการไม่เปลี่ยนผ้าอนามัย เพราะจะทำให้แผลอักเสบได้ง่าย

รู้สึกตึงแผล อย่ากังวลหากคุณแม่หลังคลอดรู้สึกว่าแผลบริเวณที่เย็บนั้นตึง  นั่นเป็นเพราะว่าแพทย์ทำการเย็บแผลได้กระชับดี    ทั้งนี้เมื่อรู้สึกตึงที่แผล ควรขยับตัวด้วยความระมัดระวัง  โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด ควรรอให้น้ำคาวปลาหรือเลือดคล้ายประจำเดือนที่ออกมาหลังคลอดหมดเสียก่อน โดยทั่วไปแล้วจะหมดและหายไปประมาณ 3-4 สัปดาห์หลังคลอด   ในช่วงนี้มดลูกยังคงมีบาดแผลจากการคลอดรก  หากคุณมีเพศสัมพันธ์ก่อนที่น้ำคาวปลาจะหมด ก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ  หรือแผลฝีเย็บฉีกขาดได้

การจัดท่านั่งให้นมลูก ส่วนใหญ่คุณแม่จะนั่งขัดสมาธิให้นมลูกเวลาอยู่บนเตียง แต่คุณแม่รู้หรือไม่ว่าการนั่งท่านี้ขาจะฉีกแยกออกจากกันเยอะ แผลที่ตึงอยู่แล้วก็แทบจะปริแยกอะอกจากกัน   ควรใช้ท่านั่งพับเพียบ หรือท่านั่งเหยียดขาในการนั่งให้นมลูกไปก่อนนะคะ  

ท่าทางเดินของคุณแม่หลังคลอด แนะนำให้คุณแม่เดินขาแยกออกจากกันเล็กน้อย  เพราะแผลจะอยู่ตรงกลางระหว่างขาพอดี ถ้าเดินหนีบๆ แผลจะเสียดสีกันได้   เวลาเดินต้องค่อยๆ ลงน้ำหนักเท้าและเดินด้วยความระมัดระวัง หลังจาก 7 วันแผลก็จะค่อยๆ หายสามารถกลับมาเดินท่าปกติได้ค่ะ ท่องให้ขึ้นใจค่ะว่าการเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ เป็นการขยับตัวของกล้ามเนื้อจะทำให้แผลและฝีเย็บหายได้เร็วขึ้น ไม่ต้องกลัวแผลปริแยก  

ระยะเวลารักษาแผล ปกติแผลฝีเย็บจะหายเจ็บค่อนข้างเร็ว คุณแม่อย่ากังวลใจไปนะคะ ความเจ็บถ้าวัดกันเป็นตัวเลขได้ก็จะเจ็บน้อยลงวันละ 30%วันแรกคุณแม่อาจเจ็บ 100%  วันที่สองลดลง 70% วันที่สามดีมาหน่อยเจ็บ 40%  วันที่สี่ความเจ็บลดน้อยลงเหลือเพียง  10% วันต่อมาความเจ็บก็จะหายไปเอง  แต่ถ้าหากเวลาผ่านไปนานหลายวันแล้วคุณแม่ยังเจ็บแผล  และแผลนั้นเพิ่มความเจ็บมากขึ้นเรื่อยๆ  นั่นแสดงว่าเกิดการผิดปกติบางอย่างกับแผลของคุณแม่แล้วนะคะ  อย่าชะล่าใจ ควรรีบไปพบแพทย์ค่ะ

ทำอย่างไรให้แผลสมานตัวเร็วขึ้นหลังคลอดลูก?

  • อย่าทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากนัก ขยับตัวลุกนั่ง เดินด้วยความระมัดระวัง
  • หมั่นขมิบช่องคลอดบ่อยๆ เพื่อช่วยให้เลือดไหลไปเลี้ยงในบริเวณนั้นมากขึ้นและกระตุ้นการสมานแผล
  • รักษาความสะอาดและคอยดูแลให้แผลแห้งอยู่สม่ำเสมอ
  • เลือกใช้ผ้าอนามัยที่มีผิวสัมผัสแบบนุ่ม ระวังอย่าให้ผ้าอนามัยที่ใช้เสีียดสีกับแผลจนเกินไป ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ เพื่อลดความเปียก และอับชื้นของแผล
  • เวลาเจ็บแผลมากๆ คุณแม่สามารถทานยาพาราเซตามอลได้ แต่ถ้าทานยาแล้วไม่ดีขึ้น ให้คุณแม่ใช้เจลประคบเย็น หรือผ้าห่อน้ำแข็งประคบไว้บริเวณแผลได้ แต่ต้องไม่เกินครั้งละ 2-3 นาที ความเย็นจะช่วยลดอาการบวม แต่หากนานเกินไปก็จะทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณแผลน้อยลง
  • คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ เน้นอาหารที่มีกากใยสูงและดื่มน้ำมากๆ เพื่อไม่ให้ท้องผูก

แนะนำเพิ่มเติม

หลังคลอด การสังเกตแผลฝีเย็บเป็นเรื่องที่แม่ ๆ ควรใส่ใจ หากแผลฝีเย็บมีอาการบวมแดง  แผลแยกออกจากกัน มีเลือดไหล หรือรู้สึกตึงปวดและมีอาการไข้ร่วมด้วย  อาจเป็นสัญญาณว่า แผลเกิดการอักเสบ ควรไปรีบพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาทันทีค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.medicine.cmu.ac.th , www.iammomsociety.com/

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up