แผลฝีเย็บ ข้อควรรู้เกี่ยวกับฝีเย็บของคุณแม่หลังคลอดลูก - amarinbabyandkids

ข้อควรรู้เกี่ยวกับแผลฝีเย็บ หลังคลอด

Alternative Textaccount_circle
event

Mother's love. Cute baby 1,5 month with mother.

วิธีการดูแลฝีเย็บของคุณแม่หลังคลอดด้วยตนเอง

ทำความสะอาด การทำความสะอาดบริเวณแผลฝีเย็บ  ให้คุณแม่ใช้สำลีชุบน้ำอุ่นทำความสะอาดโดย เช็ดลงล่างทางเดียวทิ้ง”ความหมาย คือคุณแม่ต้องเช็ดทำความสะอาดเริ่มจากช่องคลอด แล้วเช็ดลากอย่างเบามือไปทางทวารหนัก ห้ามย้อนศรเด็ดขาด  ถ้าเช็ดย้อนขึ้นเชื้อโรคจากทวารหนักอาจเข้าไปในแผล การเช็ดแผลควรทำทีเดียวแล้วทิ้งเลย ไม่ใช้ก้อนสำลีเดิมที่เช็ดแล้ว  มาเช็ดวนซ้ำเรื่อยๆ แทนที่จะสะอาด กลับกลายว่านำเอาเชื้อโรคกลับเข้าไปในแผลอีก

เรื่องการอาบน้ำ เวลาอาบน้ำหากแผลโดนน้ำก็ไม่มีปัญหาค่ะ  สามารถล้างด้วยน้ำเปล่าได้โดยให้น้ำรินไหลผ่าน แต่ห้ามเอาหัวฉีดล้างชำระ หรือใช้ฝักบัวล้างโดยตรง เพราะแรงดันของน้ำจะทำให้แผลเปิดแยกออกจากกันได้  แถมอาจทำให้เชื้อโรคเข้าไปสู่ส่วนลึกๆของแผลได้อีกด้วย  หลังอาบน้ำเสร็จก็เช็ดให้แห้ง แล้วใส่ผ้าอนามัยไว้ให้เรียบร้อย

น้ำคาวปลา ช่วงหลังคลอดจะมีน้ำคาวปลาไหลซึมอออกมาทางช่องคลอด ซึ่งน้ำคาวปลาจะหมดภายใน 3-4 สัปดาห์   คุณแม่ควรใส่ผ้าอนามัยไว้ตลอดเพื่อป้องกันการเลอะเปื้อน   และต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยให้บ่อยครั้งที่สุด  ควรให้แผลแห้งอยู่ตลอดเวลา   อย่าให้แผลแฉะชื้น  หมักหมมจากการไม่เปลี่ยนผ้าอนามัย เพราะจะทำให้แผลอักเสบได้ง่าย

รู้สึกตึงแผล อย่ากังวลหากคุณแม่หลังคลอดรู้สึกว่าแผลบริเวณที่เย็บนั้นตึง  นั่นเป็นเพราะว่าแพทย์ทำการเย็บแผลได้กระชับดี    ทั้งนี้เมื่อรู้สึกตึงที่แผล ควรขยับตัวด้วยความระมัดระวัง  โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด ควรรอให้น้ำคาวปลาหรือเลือดคล้ายประจำเดือนที่ออกมาหลังคลอดหมดเสียก่อน โดยทั่วไปแล้วจะหมดและหายไปประมาณ 3-4 สัปดาห์หลังคลอด   ในช่วงนี้มดลูกยังคงมีบาดแผลจากการคลอดรก  หากคุณมีเพศสัมพันธ์ก่อนที่น้ำคาวปลาจะหมด ก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ  หรือแผลฝีเย็บฉีกขาดได้

banner300x250การจัดท่านั่งให้นมลูก ส่วนใหญ่คุณแม่จะนั่งขัดสมาธิให้นมลูกเวลาอยู่บนเตียง แต่คุณแม่รู้หรือไม่ว่าการนั่งท่านี้ขาจะฉีกแยกออกจากกันเยอะ แผลที่ตึงอยู่แล้วก็แทบจะปริแยกอะอกจากกัน   ควรใช้ท่านั่งพับเพียบ หรือท่านั่งเหยียดขาในการนั่งให้นมลูกไปก่อนนะคะ  

ท่าทางเดินของคุณแม่หลังคลอด แนะนำให้คุณแม่เดินขาแยกออกจากกันเล็กน้อย  เพราะแผลจะอยู่ตรงกลางระหว่างขาพอดี ถ้าเดินหนีบๆ แผลจะเสียดสีกันได้   เวลาเดินต้องค่อยๆ ลงน้ำหนักเท้าและเดินด้วยความระมัดระวัง หลังจาก 7 วันแผลก็จะค่อยๆ หายสามารถกลับมาเดินท่าปกติได้ค่ะ ท่องให้ขึ้นใจค่ะว่าการเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ เป็นการขยับตัวของกล้ามเนื้อจะทำให้แผลและฝีเย็บหายได้เร็วขึ้น ไม่ต้องกลัวแผลปริแยก  

ระยะเวลารักษาแผล ปกติแผลฝีเย็บจะหายเจ็บค่อนข้างเร็ว คุณแม่อย่ากังวลใจไปนะคะ ความเจ็บถ้าวัดกันเป็นตัวเลขได้ก็จะเจ็บน้อยลงวันละ 30%วันแรกคุณแม่อาจเจ็บ 100%  วันที่สองลดลง 70% วันที่สามดีมาหน่อยเจ็บ 40%  วันที่สี่ความเจ็บลดน้อยลงเหลือเพียง  10% วันต่อมาความเจ็บก็จะหายไปเอง  แต่ถ้าหากเวลาผ่านไปนานหลายวันแล้วคุณแม่ยังเจ็บแผล  และแผลนั้นเพิ่มความเจ็บมากขึ้นเรื่อยๆ  นั่นแสดงว่าเกิดการผิดปกติบางอย่างกับแผลของคุณแม่แล้วนะคะ  อย่าชะล่าใจ ควรรีบไปพบแพทย์ค่ะ

ทำอย่างไรให้แผลสมานตัวเร็วขึ้นหลังคลอดลูก?

  • อย่าทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากนัก ขยับตัวลุกนั่ง เดินด้วยความระมัดระวัง
  • หมั่นขมิบช่องคลอดบ่อยๆ เพื่อช่วยให้เลือดไหลไปเลี้ยงในบริเวณนั้นมากขึ้นและกระตุ้นการสมานแผล
  • รักษาความสะอาดและคอยดูแลให้แผลแห้งอยู่สม่ำเสมอ
  • เลือกใช้ผ้าอนามัยที่มีผิวสัมผัสแบบนุ่ม ระวังอย่าให้ผ้าอนามัยที่ใช้เสีียดสีกับแผลจนเกินไป ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ เพื่อลดความเปียก และอับชื้นของแผล
  • เวลาเจ็บแผลมากๆ คุณแม่สามารถทานยาพาราเซตามอลได้ แต่ถ้าทานยาแล้วไม่ดีขึ้น ให้คุณแม่ใช้เจลประคบเย็น หรือผ้าห่อน้ำแข็งประคบไว้บริเวณแผลได้ แต่ต้องไม่เกินครั้งละ 2-3 นาที ความเย็นจะช่วยลดอาการบวม แต่หากนานเกินไปก็จะทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณแผลน้อยลง
  • คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ เน้นอาหารที่มีกากใยสูงและดื่มน้ำมากๆ เพื่อไม่ให้ท้องผูก

แนะนำเพิ่มเติม

หลังคลอด การสังเกตแผลฝีเย็บเป็นเรื่องที่แม่ ๆ ควรใส่ใจ หากแผลฝีเย็บมีอาการบวมแดง  แผลแยกออกจากกัน มีเลือดไหล หรือรู้สึกตึงปวดและมีอาการไข้ร่วมด้วย  อาจเป็นสัญญาณว่า แผลเกิดการอักเสบ ควรไปรีบพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาทันทีค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.medicine.cmu.ac.th , www.iammomsociety.com/

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up