ตรวจให้ชัด!! น้ำหนักทารกในครรภ์ แบบไหนที่ควรพบหมอ - Amarin Baby & Kids
น้ำหนักทารกในครรภ์

ตรวจให้ชัด!! น้ำหนักทารกในครรภ์ แบบไหนที่ควรพบหมอ

Alternative Textaccount_circle
event
น้ำหนักทารกในครรภ์
น้ำหนักทารกในครรภ์

น้ำหนักทารกในครรภ์ ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาสุขภาพของลูกในท้องว่าดีไหม ปกติหรือไม่ มาดูวิธีคำนวณ พร้อมปัญหาน้ำหนักของลูกที่คุณแม่ควรรีบปรึกษาแพทย์ ก่อนสาย

ตรวจให้ชัด!! น้ำหนักทารกในครรภ์ แบบไหนที่ควรพบหมอ

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ คงเข้าใจความรู้สึกถึงตอนแรกที่ได้รับรู้ว่ามีเจ้าตัวน้อยอยู่ในท้องเราเป็นอย่างดีกันทุกคนว่า มีความรู้สึกตื่นเต้น มหัศจรรย์ และวิเศษขนาดไหน ดังนั้นไม่ต้องบอกก็คงทราบกันดีแล้วว่า ต่อจากนี้ไปคุณแม่ที่ตั้งท้องทุกคนคงต้องดูแลตัวเองเป็นอย่างดีขนาดไหน เพราะนอกจากเพื่อสุขภาพของคุณแม่แล้ว เรายังมีอีกหนึ่งชีวิตหนึ่งที่ต้องดูแล รักษาด้วยเช่นกัน

คุณแม่ท้องหลายคนคงมีข้อสงสัยกันในใจว่า เราจะทราบได้อย่างไรว่าลูกในท้องมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ตามที่คุณแม่ดูแลตัวเองหรือไม่ เราดูแลตัวเองมากเพียงพอ และได้ส่งถึงลูกหรือไม่กันนะ ลูกตัวโตไปถึงไหนกันแล้ว และอีกนานาสารพันคำถาม ที่วันนี้ ทีมแม่ ABK มีคำตอบมาให้คลายข้อสงสัยกัน

น้ำหนักทารกในครรภ์ บอกสุขภาพลูกน้อยในท้องได้
น้ำหนักทารกในครรภ์ บอกสุขภาพลูกน้อยในท้องได้

น้ำหนักทารกในครรภ์ ดูได้จากไหน อย่างไร??

  • ตรวจร่างกาย

วัดความสูงของมดลูก ใช้สายวัดวัดระดับยอดมดลูก โดยการวัดระยะจากรอยต่อของกระดูกหัวหน่าวไปจนถึงยอดมดลูก โดยแนบตามส่วนโค้งของมดลูก ซึ่งในช่วงอายุครรภ์ 18–30 สัปดาห์ จะเป็นช่วงเวลาที่สามารถสังเกตขนาดของมดลูกได้ง่าย ระยะที่วัดได้เป็นเซนติเมตร จะเท่ากับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ เช่น หากอายุครรถ์ 25 สัปดาห์ ควรวัดได้ 25 เซนติเมตร เป็นต้น

  • อัลตราซาวด์

การอัลตราซาวด์ช่วยประเมินน้ำหนักลูกในครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถมองเห็นความสมบูรณ์ และสามารวัดขนาดตัวของลูกได้ โดยจะประเมินจาก

  1. ปริมาณน้ำคร่ำในท้อง
  2. ขนาดหน้าท้อง
  3. การลอยตัวของทารก

การอัลตราซาวด์เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมาก คุณแม่ควรฝากครรภ์ และรับการอัลตราซาวด์เพื่ออยู่ในความดูแลของแพทย์ตลอดการตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัย

น่าอ่าน : อัลตราซาวด์ มีประโยชน์มากกว่าที่คิด!!

เช็ก น้ำหนักทารกในครรภ์ อีกหนึ่งขั้นตอนสำคํญในการฝากท้องกับคุณหมอ
เช็ก น้ำหนักทารกในครรภ์ อีกหนึ่งขั้นตอนสำคํญในการฝากท้องกับคุณหมอ
  • ดูจากน้ำหนักตัวของแม่

หลังจากตั้งครรภ์ได้ครบ 3 เดือน น้ำหนักคุณแม่ควรขึ้นเฉลี่ยประมาณสัปดาห์ละ 0.2-0.5 กิโลกรัม แต่ในช่วง 3 เดือนแรก น้ำหนักอาจลดลงหรือไม่เพิ่มขึ้นก็ได้ เนื่องจากว่าอาจเกิดจากการแพ้ท้อง ทำให้รับประทานอาหารได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลใจกันไป

น่าอ่าน : ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีการตรวจดูขนาดของลูกในท้องว่าตัวเล็กหรือใหญ่!!

น้ำหนักทารกในครรภ์ “น้อย” : ลูกตัวเล็ก น่ากังวลใจหรือไม่??

สาเหตุที่ทำให้น้ำหนักทารกในครรภ์น้อยกว่าเกณฑ์ปกติ

ไม่น่ากังวลใจ

น่ากังวลใจ

(ควรปรึกษาแพทย์)

 

พันธุกรรม ของพ่อแม่  

 

หากคุณพ่อคุณแม่เป็นคนตัวเล็ก ลูกจึงมีน้ำหนักน้อย หรือตัวเล็กตาม
สาเหตุจากตัวเด็กเอง

 

ตั้งครรภ์แฝด ทำให้ต้องเฉลี่ยน้ำหนักกันไป
  • ทารกมีความพิการแต่กำเนิด มีความผิดปกติทางโครโมโซมของลูก
  • ลูกในท้องมีการติดเชื้อในขณะอยู่ในครรภ์

 

สาเหตุจากรก
  • ภาวะรกเสื่อมก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด ส่งผลให้ออกซิเจน หรือสารอาหารที่ลูกควรได้รับในท้องผิดปกติ ไม่เพียงพอ
  • รกเกาะตำแหน่งที่ผิดปกติ รกเกาะต่ำ
  • มีการติดเชื้อที่รก
สาเหตุจากพฤติกรรมของแม่ คุณแม่ตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุยังน้อย หรือยังเป็นช่วงวัยรุ่น คุณแม่เลือกรับประทานอาหารมากเกิน

การสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์

สาเหตุจากสุขภาพร่างกายของแม่ โรคประจำตัวที่ส่งผลต่อลูกในท้องได้ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิต โรคหัวใจ เป็นต้น ทำให้คุณแม่ที่มีโรคประจำตัวดังกล่าวขณะตั้งครรภ์ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
วิธีเพิ่ม น้ำหนักทารกในครรภ์
วิธีเพิ่ม น้ำหนักทารกในครรภ์

วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้มีเลือดสูบฉีดไปเลี้ยงลูกในท้องมากขึ้น ควรนอนเวลากลางคืนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง และงีบหลับตอนกลางวัน 1-2 ชั่วโมง
  2. ทำงานให้น้อยลงหรือหาเวลาผ่อนคลายจากความเครียด เนื่องจากความเครียดส่งผลถึงน้ำหนักทารกในครรภ์ ทำให้ลูกตัวเล็กได้
  3. งดเว้นการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  4. งดยาที่ไม่จำเป็น เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่ และคุณลูก
  5. รับประทานอาหารที่เหมาะสำหรับคนท้องให้ครบทุกมื้อ หรือหากคุณแม่มีปัญหาแพ้ท้อง หรืออยู่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้มาก อาจแบ่งรับประทานเป็นมื้อเล็ก ๆ และรับประทานให้บ่อยขึ้น เพื่อไม่ให้ปริมาณมากจนเกินไป ลดความอึดอัด แต่ยังคงสามารถทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ต้องการได้ครบถ้วน และรับประทานอาหารได้ครบ 5 หมู่
  6. รับประทานอาหารพลังงานสูงที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะประเภทโปรตีน เช่น ปลา ไข่ ถั่วต่าง ๆ หรือธัญพืช ผักใบเขียว อะโวคาโด้ เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโต แต่ทั้งนี้ควรเน้นเรื่องการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน และน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน หรือเนื้อสัตว์ติดมัน เป็นต้น
  7. ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับอายุครรภ์
  8. แม่ท้องที่มีโรคประจำตัว ควรปฎิบัติตนตามที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัด
  9. ตรวจติดตามกับคุณหมอที่ฝากครรภ์อย่างต่อเนื่อง ถ้าลูกในท้องอยู่ในเกณฑ์ตัวเล็ก คุณหมอจะนัดตรวจติดตามถี่กว่าปกติ เพื่อตรวจสุขภาพของลูกน้อยอย่างละเอียด

เช็กสุขภาพลูกในครรภ์ด้วยวิธีง่าย ๆ จากน้ำหนักคุณแม่

อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า วิธีเช็กน้ำหนักทารกในครรภ์ง่าย ๆ วิธีหนึ่ง คือ การดูจากน้ำหนักตัวของคุณแม่เอง ดังนั้นตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรทำการควบคุมน้ำหนักของตนเองให้พอดี โดยคุณแม่ตั้งครรภ์ควรมีน้ำหนักตามดัชนีมวลกาย ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

เพิ่มน้ำหนักตอนท้อง อ้างอิงจากดัชนีมวลกายก่อนท้อง
เพิ่มน้ำหนักตอนท้อง อ้างอิงจากดัชนีมวลกายก่อนท้อง

ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ (BMI)

คำนวณโดยน้ำหนัก (กก.) / ความสูง (เมตร)

น้ำหนักควรเพิ่มขึ้นทั้งหมด

(กิโลกรัม)

BMI < 18.5 (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์) 12.5 – 18.0
BMI 18.5 – 24.9 (น้ำหนักตัวปกติ) 11.5 – 16.0
BMI 25.0 -29.9 (น้ำหนักตัวเกิน) 7.0 – 11.5
BMI ≥  30 (โรคอ้วน) 5.0 – 9.0

 

ปัญหาน้ำหนักที่ควรรีบไปหาหมอ!!

ช่วง 2-4 เดือนแรก น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น

ในช่วงของการตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณแม่เพื่อรองรับกับการตั้งครรภ์ ทำให้เกิดอาการแพ้ท้องกันเสียส่วนใหญ่ จึงเป็นสาเหตุหลักทำให้น้ำหนักตัวของคุณแม่ในช่วงนี้ไม่เพิ่มขึ้น หรือบางรายอาจลดลงกว่าเดิมได้ โดยในช่วงแรกนี้อาจยังไม่ต้องกังวลใจมากเกินไปนัก เพราะลูกน้อยในท้องในช่วงไตรมาสแรกนี้ ยังไม่ต้องการสารอาหารมากนัก เขาสามารถดึงสารอาหารจากร่างกายของคุณแม่ที่สะสมไว้อยู่แล้ว โดยลูกต้องการสารอาหารจริง ๆ ในช่วงเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป เพราะร่างกายของลูกกำลังสร้างกล้ามเนื้อ และพัฒนาระบบต่าง ๆ ของร่างกาย

แม่คุมน้ำหนักตอนท้อง เพื่อให้คลอดลูกได้อย่างปลอดภัย ลูกแข็งเรง
แม่คุมน้ำหนักตอนท้อง เพื่อให้คลอดลูกได้อย่างปลอดภัย ลูกแข็งเรง

แต่หากคุณแม่ยังคงรับประทานได้ปกติ ไม่มีอาการแพ้ท้อง หรือการแพ้ไม่ได้กระทบต่อการรับประทานอาหาร แต่น้ำหนักตัวในช่วงนี้กลับไม่เพิ่มขึ้น อาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นกับลูกในท้อง โดยการที่น้ำหนักตัวไม่ขึ้น หรือขึ้นน้อย จะกระทบถึงทารกในครรภ์ในระดับที่แตกต่างไป ตั้งแต่ไม่ผิดปกติ ไปจนถึงระดับความผิดปกติรุนแรง เช่น ติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์ จะทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ น้ำคร่ำน้อย อันเป็นสาเหตุให้ทารกเสียชีวิตได้ เป็นต้น ซึ่งหากเกิดปัญหาน้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น โดยไม่มีสาเหตุควรทำการปรึกษาแพทย์จะเป็นหนทางที่ดีที่สุด

เมื่อคุณแม่ไปพบคุณหมอในเรื่องน้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น หรือขึ้นน้อย คุณหมอจะทำการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ตรวจร่างกาย ตรวจเลือด อัลตราซาวด์ หรือตรวจคลื่นหัวใจทารก เป็นต้น แล้วจึงจะประเมินความเสี่ยง ปัญหา และบอกวิธีดูแลตนเองที่ถูกต้องให้กับคุณแม่

น่าอ่าน :  แจกสูตร เมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน กินอย่างไรให้ลงลูก!!

ช่วง 3-6 เดือน น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์

การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะกระทบต่อทั้งสุขภาพของตัวคุณแม่เอง และลูกน้อยในครรภ์ โดยอาจเกิดโรคต่อไปนี้ในระหว่างตั้งครรภ์

  • โรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการผ่าคลอด คลอดธรรมชาติไม่ได้
  • ลูกมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดการคลอดติดไหล่
  • เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
  • โรคอ้วน
ข้อมูลอ้างอิงจาก รพ.นครธน  /mommyliciousjuice.com

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ เช็กน้ำหนักส่วนสูง ความสมส่วนของลูก

5 ท่าเซ็กส์ปลอดภัย ขณะตั้งครรภ์

ค่าอัลตร้าซาวด์สี่มิติ 26 โรงพยาบาลในกรุงเทพ

คัดมาให้จากตำรา 212 ชื่อมงคล ผู้หญิง เน้นชื่อเพราะ ความหมายดี

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up