คนท้อง ท้องอืด เป็นปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ ซึ่งอาการท้องอืด คือภาวะที่เกิดอาการแน่นท้อง เนื่องจากมีแก๊สในกระเพาะอาหาร จนทำให้ท้องดูมีลักษณะบวม ซึ่งเมื่อเกิดอาการแล้วจะส่งผลให้ทำกิจกรรมต่างๆ ได้ไม่สะดวกเนื่องจากรู้สึกอึดอัดท้อง แต่แม่ๆ คงจะสงสัยกันใช่มั้ยคะว่า ก่อนหน้านี้เราก็ไม่เคยมีอาการท้องอืดง่ายอย่างนี้เลย พอตั้งครรภ์แล้วกลับมีอาการท้องอืดได้บ่อยๆ ขอบอกเลยว่าอาการท้องอืดขณะตั้งครรภ์ มีที่มาที่ไปค่ะ มาดูสาเหตุกันค่ะว่าทำไม คนท้อง ท้องอืด ได้ง่ายจัง!
คนท้อง ท้องอืด รับมือได้ไม่ยากอย่างที่คิด
อาการท้องอืดมีสาเหตุมาจากอะไร?
- ขณะตั้งครรภ์ ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนโปรเจนเตอโรน (Progesterone) ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งฮอร์โมนนี้ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายไปทั้งร่างกาย รวมถึงกล้ามเนื้อในระบบการย่อยอาหารด้วย จึงเป็นสาเหตุให้ลำไส้ทำงานได้ช้าลงจนเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
- พฤติกรรมการรับประทานอาหารของแม่ท้อง ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของอาการท้องอืดค่ะ การเลือกทานอาหารที่ย่อยยาก ของทอด ของมัน หรือน้ำอัดลม การทานอาหารมากจนเกินไป การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด การทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือปล่อยให้ท้องว่างนานเกินไปจนเกิดแก๊สในกระเพาะ
- เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากขณะตั้งครรภ์ มดลูกขยายตัวเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของลูกในครรภ์ ซึ่งการขยายตัวนี้ได้ไปเบียดอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายที่อยู่ใกล้เคียง รวมถึง ลำไส้ กระเพาะอาหาร กระบังลม การถูกกดทับนี้ ทำให้อวัยวะเหล่านี้ทำงานได้ไม่สะดวก ย่อยอาหารได้ช้าลง จนทำให้เกิดแก๊สในท้องได้
- เกิดจากโรคอื่นๆ เช่น โรคกระเพาะอาหาร ไทรอยด์ และโรคเบาหวาน เป็นต้น ดังนั้น หากคุณแม่มีอาการปวดท้องหรือเป็นตะคริวบริเวณช่องท้อง มีเลือดในอุจจาระ ท้องเสียหรือท้องผูกอย่างรุนแรง ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการค่ะ
คนท้อง ท้องอืด มีอาการเป็นอย่างไร?
ท้องอืด คืออาการที่มีแก๊สในท้องมาก ซึ่งอาการที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อมีแก๊สในท้องมาก ได้แก่
- ท้องอืด/แน่นท้อง มักเกิดหลังการรับประทานอาหารหรือดื่ม ส่งผลให้รู้สึกแน่น อึดอัด แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้เมื่อไรก็ได้เมื่อมีปัจจัยเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ หรือ เคี้ยวหมากฝรั่ง ในบางคนอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วยได้ แต่อาการปวดจะไม่มาก และตำแหน่งที่ปวดมักเคลื่อนที่ได้ตามการเคลื่อนที่ของแก๊สในท้อง และอาการจะดีขึ้นเมื่อ เรอ หรือ ผายลม แต่ในบางกรณี หากปวดท้องมาก อาจเป็นที่สาเหตุอื่นที่นอกเหนือจากอาการท้องอืด เช่น
- เมื่อปวดท้องด้านซ้ายตอนบน อาจต้องแยกจากการเจ็บหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ถ้าปวดท้องในส่วนช่องท้องด้านขวาตอนบน อาจต้องแยกจากโรคนิ่วในถุงน้ำดี
- หรือถ้าปวดท้องในส่วนช่องท้องด้านขวาล่าง หรือรอบสะดือ อาจต้องแยกจากโรคไส้ติ่งอักเสบ
- เรอ/ท้องเฟ้อ คืออาการที่มีแก๊สมากในกระเพาะอาหาร และ/หรือหลอดอาหาร ร่างกายจึงกำจัดออกด้วยการเรอ ซึ่งอาจเกิดร่วมกับอาการแสบร้อนกลางอก (โรคกรดไหลย้อน) อาการจุกเสียดแน่นท้อง และอาการต่างๆ เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในอาการท้องอืด แน่นท้อง
- ผายลม ทั้งนี้ ทั้งปริมาณและกลิ่น ขึ้นอยู่กับประเภทอาหาร ปริมาณอาหาร และชนิดแบคทีเรียประจำถิ่นที่แตกต่างกันในแต่ละคน ซึ่งอาการผายลมมากหรือบ่อยกว่าปกติ มักเกิดร่วมกับอาการท้องอืด/แน่นท้อง และเรอ/ท้องเฟ้อ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
>>อ่านต่อ<< อาหารตัวการที่ทำ “คนท้อง ท้องอืด”