อาการการปวดหัวไมเกรนสามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์ และเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้ยาบรรเทาอาการไมเกรนในคนท้อง เราจึงมีคำแนะนำในการดูแลรักษาการปวดหัวไมเกรนด้วย 5 วิธีธรรมชาติบำบัด ที่ปลอดภัยกับแม่ท้อง ไปดูกันค่ะว่ามีอะไรบ้าง…
1. เริ่มจากการดูแลใส่ใจสุขภาพ
การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และไม่เครียด วิตกกังวล จะช่วยให้อาการไมเกรนไม่เกิดการกระตุ้นให้กำเริบขึ้น
2. เลี่ยงปัจจัยกระตุ้น
– การรับประทานอาหารที่มีสารกระตุ้นอาการเริ่มแรกของไมเกรน เช่น น้ำแอปเปิล องุ่น เบอร์รี่ ชา กาแฟ และไวน์แดง โมโนโซเดียมกลูตาเมตหรือผงชูรส และยังมีช็อกโกแลต เนยแข็ง อาหารทอด และผลไม้จำพวกส้ม
– ความเครียด และความวิตกกังวล การนอนหลับน้อย อดนอน หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ
– อยู่ในที่ที่แสงจ้า หรือได้รับแสงจ้าเกินไป หรือที่ที่มีเสียงดังมาก
– กลิ่นบางอย่าง เช่น น้ำหอม ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ฯลฯ
– การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน
3. ทานอาหารป้องกันไมเกรนบ่อยๆ
อาหารที่มีแมกนีเซียมสามารถช่วยให้ความถี่และความรุนแรงของอาการไมเกรนน้อยลงได้ ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียม ได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ผักใบเขียว ฟักทอง เป็นต้น
4. นวด ประคบ กดจุด ประคบร้อนและเย็นบรรเทาอาการ
วิธีที่ 1 ประคบเย็นที่หน้าผากหรือคอ ถ้าอาการไม่บรรเทา ให้ประคบร้อนและเย็นพร้อมกัน โดยประคบเย็นที่หน้าผากและประคบร้อนที่ท้ายทอย ประคบสลับที่กันทุก 2 นาที ทำได้ถึง 6 รอบ
วิธีที่ 2 ใช้ผ้าอุ่นจัดวางที่ท้ายทอย แล้วนวดคอ ไหล่ และสะบัก จากนั้นให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นคลึงเบาๆ ที่ขมับ และใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดหน้า วิธีนี้สามารถช่วยลดอาการปวดไมเกรนเนื่องจากความเครียดได้ดีมาก
5. สมุนไพรแก้ปวดไมเกรน
มีผลการศึกษาพบว่า การทานขิงที่เป็นสมุนไพร จะช่วยให้อาการปวดไมเกรนลดลงได้ถึง 60% การทานสมุนไพรจากขิง หากคุณมาท้องต้องการทานควรปรึกษากับคุณหมอ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านยาสมุนไพรก่อนว่าระหว่างตั้งครรภ์สามารถทานได้หรือไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยจากการใช้ยาสมุนไพรค่ะ
“คนท้อง ปวดหัวไมเกรน”…ถึงแม้อาการไม่เกรนอาจจะเกิดขึ้นได้กับคนท้องในตลอดช่วงการตั้งครรภ์ แต่การดูแลสุขภาพตามคำแนะนำข้างต้น ก็จะช่วยให้คุณแม่ท้องสามารถรับมือกับภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพที่มาจากการปวดหัวไมเกรนได้ไม่ยาก …ด้วยความห่วงใยค่ะ
อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจคลิก
เป็นเบาหวานแล้วตั้งครรภ์ อันตรายแค่ไหน?
ครรภ์เป็นพิษ ภัยใกล้ตัว! อันตรายต่อคุณแม่และลูกในท้อง
โรคไทรอยด์อักเสบเรื้อรังฮาชิโมโตะ ภัยเงียบเพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
1,2นพ. ไพศาล วชาติมานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาท.อยู่อย่างไรเมื่อเป็นไมเกรน.www.bumrungrad.com
3เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล.คุณแม่ตั้งครรภ์กับการใช้ยา.http://oknation.nationtv.tv/blog/DIVING/2008/10/08/entry-2
http://xn--12cgi9czcoda6jh0xnb.net/ไมเกรนกับคุณแม่ตั้งครรภ์-รับมืออย่างไรดี/
http://abhaiherb.com/knowledge/thaiherb/7100.5วิธีบำบัดไมเกรนด้วยวิถีธรรมชาติ