ข้อมูลข่าวจากเว็บไซต์ medicaldaily.com ระบุว่า แพทย์จีนพบเด็กทารกแรกเกิดตั้งครรภ์ลูกฝาแฝดในช่องท้อง โดยทารกน้อยที่ตั้งครรภ์นี้เป็นเพศหญิง แพทย์จึงตัดสินใจผ่าตัดนำตัวอ่อนที่เป็นฝาแฝดในท้องออกหลังจากทารกน้อยที่ตั้งครรภ์นี้เกิดได้เพียง 3 สัปดาห์ “เด็กท้อง” ได้มีจริง
เชื่อกันว่าฝาแฝดที่อยู่ในครรภ์ของทารกน้อยน่าจะมีอายุหลายสัปดาห์แล้ว แพทย์ยังระบุว่าเป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้ยากมาก ซึ่งโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมีเพียง 1 ใน 500,000 เท่านั้น
คุณแม่ของทารกน้อยที่ตั้งครรภ์นี้น่าจะมีการตั้งครรภ์เป็นแฝด 3 แต่ทารกฝาแฝดอีก 2 คน กลับถูกฝังตัวอยู่ในท้องของทารกผู้รอดชีวิต ซึ่งฝาแฝดทั้งสองมีอวัยวะที่เห็นได้ชัด ได้แก่ ขา กระดูกสันหลัง ซี่โครง ลำไส้ และทวารหนัก แต่น้ำหนักของฝาแฝดทั้ง 2 ก็แตกต่างกันคือ 14.2 กรัม และ 9.3 กรัม และทั้ง 2 คนมีสายสะดือเชื่อมต่อรกสายเดียวกัน
แพทย์ระบุว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของธรรมชาติที่ซับซ้อน เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่ทารกจะตั้งครรภ์ได้โดยการปฏิสนธิด้วยตัวเอง ถือเป็นเหตุการณ์ที่หายาก แต่ก็มีการพบรายงานกรณีทารกตั้งครรภ์มาแล้ว 200 ราย
นักวิจัยตั้งสมมติฐานว่า คุณแม่ของทารกน้อยอาจจะเคยทำแท้งมาก่อนหน้านี้ จึงทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น อย่างไรก็ตามหลังจากที่ทารกน้อยได้รับการผ่าตัด และพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 8 วันก็สามารถกลับไปพักฟื้นบ้านได้
ซึ่งเคยมีกรณีแบบนี้ที่เกิดขึ้นคล้ายๆ กันเมื่อปี 2012 ที่มีเด็กนักเรียนจีน มีเนื้องอกออกมาที่หลังอย่างผิดปกติ โดยมีแขน และนิ้วมืองอกออกมาจากทางด้านหลังบริเวณสะบัก เชื่อว่าเกิดจากการตั้งครรภ์ผิดที่
กรณีเหล่านี้อาจจะป้องกันได้ด้วยการตรวจสอบโดยการฝากครรภ์ตั้งแต่ช่วงแรกที่คุณแม่ทราบว่ากำลังจะมีน้อง และทำการอัลตราซาวน์ เพื่อป้องกัน “เด็กท้อง” ได้
เครดิต: medicaldaily.com
อ่านเพิ่มเติม
ฝากครรภ์ช้ามีผลอย่างไร “คลิก”