ไข้ซิก้า ไม่ใช่โรคใหม่ ในประเทศไทยเคยพบผู้ป่วย 2 – 5 ราย (ตั้งแต่ปี 2555 – 2558) และสามารถยุติโรคได้ ไม่เกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง
ผู้ป่วยที่ควรเฝ้าระวังโรคนี้ได้แก่
1. หญิงตั้งครรภ์
2. ผู้ป่วยไข้ออกผื่น
3. ทารกที่คลอดแล้วมีศีรษะเล็ก
4. ผู้ป่วยที่มีอาการปลายประสาทอักเสบ
พล.อ.ต. สันติ ศริเสริมโภค ผอ.โรงพยาบาลภูมิพลฯ กล่าวว่าได้รับผู้ป่วยติดเชื้อชิกาเข้ารักษา 1 ราย เป็นชายไทยอายุ 20 กว่าปี เข้ารักษาเมื่อวันที่ 24 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยมีอาการเป็นไข้ มีผื่น ตาแดง ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว เมื่อเจาะเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันว่าเกิดจากไวรัสชิกา และตอนนี้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นและกลับบ้านได้แล้ว
นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปในประเทศเฝ้าระวังหากมีอาการไข้ออกผื่นจะต้องแจ้งให้กับกรมควบคุมโรคทราบ
โดยจะเน้น 4 มาตรการเฝ้าระวัง ไข้ซิกา คือ
1. เฝ้าระวังการระบาดของโรค (ระวังทางระบาดวิทยา)
2. เฝ้าระวังแมลง (กีฏวิทยา)
3. เฝ้าระวังทารกแรกเกิดที่มีความพิการทางกำเนิด
4. เฝ้าระวังกลุ่มผู้ป่วยอาการทางระบบประสาท
ล่าสุด เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข พร้อมกับพล.อ.ต.สันติ ศรีเสริมโภค ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาและที่ปรึกษากรม คร. ร่วมกันแถลงข่าวเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสซิกา หลังจากที่องค์การอนามัยโรคประกาศให้สถานการณ์ระบาดของโรคนี้เป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน ระบุว่า โรคติดเชื้อไวรัสซิกาเป็นโรคที่ต้องแจ้งความ เมื่อพบผู้ป่วยต้องรายงานให้ สธ.ทราบ
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!
กรมการแพทย์เผย! แนวทางดูแล-ยุติการตั้งครรภ์ “แม่ท้องติดเชื้อซิกา-เด็กหัวลีบ”
พ่อแม่ระวัง!! ไข้ซิการะบาด รู้ทันป้องกันเชื้อร้าย ให้ลูกน้อยปลอดภัยจากยุงลายตัวต้นเหตุ
ไวรัสซิกา พบผู้ติดเชื้อในกรุงเทพฯ พ่อแม่ระวัง!!
ข่าวจากเว็บไซต์คมชัดลึก