เต้านมส่วนเกินใต้รักแร้ อันตรายหรือไม่? - amarinbabyandkids
เต้านมส่วนเกินใต้รักแร้

เต้านมส่วนเกินใต้รักแร้อันตรายหรือไม่?

Alternative Textaccount_circle
event
เต้านมส่วนเกินใต้รักแร้
เต้านมส่วนเกินใต้รักแร้

วิธีการรักษา เต้านมส่วนเกินใต้รักแร้

1. แบบไม่พึ่งผู้เชี่ยวชาญ

  • ใส่ชุดชั้นในที่มีขอบกั้นข้างลำตัว ป้องกันไม่ให้เนื้อไหลหรือถูกเบียดมาด้านข้าง เลือกที่มีคุณภาพ การตัดเย็บที่ช่วยเก็บเนื้อไว้ในชุดชั้นในได้ทั้งหมด หลีกเลี่ยงชุดชั้นในที่ไม่มีสาย ทำให้เนื้อกระจาย
  • เวลาสวมใส่ชุดชั้นในต้องก้มตัวลงให้มากๆ แล้วใช้มือโกยเนื้อหน้าอกเข้ามา อยู่ในชุดชั้นในให้หมดทั้งสองข้าง
  • ควรนวดหน้าอกอย่างสม่ำเสมอ โดยพยายามไล่เนื้อหน้าอี่อยู่ด้านข้างลำตัวมาด้านหน้า เพื่อช่วยแก้ปัญหาเนื้อล้นได้
  • ระวังท่านอน เพราะการนอนหงายหรือนอนคว่ำตลอด จะทำให้เกิดเนื้อล้นใต้วงแขน หน้าอกห่าง หรือหน้าอกสองข้างไม่เท่ากันได้ ดังนั้น ควรเปลี่ยนท่านอน หรือนอนตะแคงบ้าง
  • ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญไขมันส่วนเกินได้ดี
บทความแนะนำ คลิก >> มะเร็งเต้านม มหันตภัยร้ายใต้ทรวงอก ของผู้หญิง

 

2. แบบพึ่งผู้เชี่ยวชาญ

  • ร้อยไหมละลาย ใต้ชั้นผิวหนังเต้านมส่วนเกิน จำนวนเข็มขึ้นอยู่กับสภาพและขนาดไขมัน เพื่อให้เกิดการดึงรั้งผิว ให้ผิวกระชับ สร้างคอลลาเจน ทำให้ผิวบริเวณนั้นแข็งแรง เต่งตึง ปลอดภัย
  • ดูดไขมัน เหมาะกับเต้านมส่วนเกินระดับปานกลาง มีเนื้อเยื่อส่วนเกินติดกับเต้านมปกติ นำเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นท่อ เจาะเข้าใต้ผิวหนัง ต้องเปิดแผลขนาด 1 เซนติเมตร แล้วดูดไขมัน
  • การผ่าตัด เหมาะสำหรับผู้ที่มีเนื้อเต้านมเกินจำนวนมาก แพทย์จะเปิดแผลข้อพับรักแร้ แล้วผ่าเอาเนื้อส่วนเกินออก จากนั้นก็ปิดแผล ทำให้เกิดแผลใหญ่ ยาว ใช้เวลาพักฟื้นนานกว่า 6 เดือน

พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ทารกแรกเกิดและคุณแม่ลูกสอง อธิบายสรุปเอาไว้ดังนี้

“ก้อนโตใต้รักแร้ คือ ต่อมน้ำนมเสมือนเต้าที่ 3 และ 4 บางคนเริ่มโต และมีอาการเจ็บๆ เหมือนเต้านมแตกพาน ทำให้หุบรักแร้ไม่ได้ ปรากฏตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ บางคนโตโดยไม่ได้ตั้งครรภ์ และมีอาการมากเวลามีประจำเดือน บางคนเพิ่งมาโตหลังคลอดลูก 3-4 วัน บ้างบอกว่ามีอาการเจ็บที่ก้อนมากกว่าเจ็บที่เต้านม เพราะว่าผิวหนังบริเวณนี้ไม่เคยถูกยืดหยุ่นมาก่อน เมื่อผิวหนังถูกต่อมน้ำนมเบียดดัน ทำให้คัดตึงค่อนข้างมาก

การรักษา เหมือนกับการรักษาภาวะเต้านมคัดตึงมากเกินไป คือ การให้ลูกดูดบ่อยๆ เน้นท่าฟุตบอลเพื่อระบายท่อน้ำนมที่อยู่ด้านข้าง ก่อนให้นม ให้ประคบอุ่น หลังให้นมเสร็จ ให้ประคบเย็น หรือ ประคบก้อนด้วย ใบกะหล่ำปลีล้างสะอาดแช่ฟรีซให้เย็นๆ ประคบนาน 20 นาที หากไม่ดีขึ้น ให้ทำการทำอัลตราซาวด์ deep heat 2 watt/cm 2 นาน 5 นาที 1-2 วัน หลังจากน้ำนมไหลออกมาดีแล้ว ก้อนจะยุบลงเป็นปกติ แต่บางคนก้อนยุบ แต่ผิวหนังตรงนั้นจะย้วย ต้องแก้ไขโดยการออกกำลังกายให้ผิวหนังบริเวณนั้นกระชับตัว หรือ ผ่าตัดให้สวยงามไม่ย้วย”

การดูแลสุขภาพของคุณแม่เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างมากที่ต้องใส่ใจในทุกรายละเอียด หากพบว่าตัวเองมีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้น โดยเฉพาะอาการเต้านมส่วนเกินที่เกิดขึ้นนั้นจะชะล่าใจปล่อยผ่านไปไม่ได้นะคะ รู้อาการ พบคุณหมอ รักษาให้หายขาดจะดีกว่าค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

การเปลี่ยนแปลงของเต้านมขณะตั้งครรภ์ ความลับที่แม่ท้องควรรู้
ความจุในการเก็บน้ำนม ของเต้านมแม่มีเท่าไหร่?


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
thaibreastcancer.com, haijai.com, si.mahidol.ac.th, สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up