ให้นมลูกแต่เจอ ก้อนที่เต้านม ควรทำอย่างไร อันตรายไหม?- Amarin Baby & Kids

ให้นมลูกแล้วเจอ ก้อนที่เต้านม ควรทำอย่างไร อันตรายไหม?

Alternative Textaccount_circle
event

ก้อนที่เต้านม – สำหรับคุณแม่ที่ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หลายคนอาจเคยมีประสบการณ์คลำพบก้อนที่เต้านม ซึ่งอาจทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นลำบากกว่าปกติเพราะอาการเจ็บปวดต่างๆ ที่มารบกวน ซึ่งหลายคนอาจรู้สึกเป็นกังวล เนื่องจากไม่แน่ใจว่าก้อนเนื้อที่เจอนั้นจะเป็นอันตรายมากน้อยเพียงใด จนเกิดความสงสัยต่างๆ นานา ว่าเราจะสามารถให้นมลูกต่อไปได้หรือไม่ เป็นต้น

ซึ่งความจริงแล้ว ก้อนเนื้อที่พบที่เต้านมเหล่านี้มักไม่ส่งผลร้ายแรงแต่อย่างใด ส่วนใหญ่ก้อนที่พบมักเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว อย่างไรก็ตามแม้ว่าส่วนใหญ่ก้อนเนื้อบางชนิดจะหายไปเองโดยไม่ต้องรักษา แต่ในส่วนน้อยก็มีข้อยกเว้นที่หากเกิดขึ้นแล้วอาจจำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษา

ให้นมลูกแล้วเจอ ก้อนที่เต้านม ควรทำอย่างไร อันตรายไหม?

มีก้อนเนื้อหลายประเภท ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของเต้านมที่ทำให้เกิดเป็นก้อนที่เต้านมได้ โดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์พบว่า สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้เกิดก้อนเนื้อในเต้านมในผู้ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่

  • ท่อน้ำนมอุดตัน

ท่อน้ำนมที่เกิดการอุดตันในเต้านม มักมีขนาดเล็ก แข็ง เกิดเป็นก้อนในเต้านม มักปรากฏขึ้นกะทันหันเมื่อแม่ไม่สามารถระบายปริมาณน้ำนมที่ร่างกายผลิตได้อย่างเหมาะสม ซึ่งอาจไปขัดขวางการไหลของน้ำนมแม่ได้ โดยอาจมีอาการ บวม แดง และเจ็บปวดเกิดขึ้นที่เต้านม

ปัจจัยที่ทำให้ท่อน้ำนมอุดตัน :

  • คัดตึงเต้านม
  • ให้นมลูกแค่ข้างเดียว นมไม่ไหลออกอีกข้าง
  • ท่าให้นมลูกไม่เหมาะสม
  • ความถี่ในการให้นมน้อย น้ำนมไม่ได้ระบายออก
  • สวมเสื้อรัดรูป หรือเสื้อกีฬา

ส่วนใหญ่ ภาวะท่อน้ำนมอุดตันจะหายได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา เนื่องจากการระบายปริมาณน้ำนมด้วยการให้นม หรือการปั๊มนมมักจะจัดการกับสิ่งอุดตันต่างๆ ได้ การประคบร้อนบริเวณที่ได้รับผลกระทบสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นได้ ให้ลองนวดเต้านมที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่หน้าอกจนถึงหัวนม ทั้งก่อนและหลังให้นม อาจต้องใช้ท่าให้นมลูกหลายๆ ท่า ซึ่งจะช่วยระบายน้ำนมในส่วนต่างๆ ของเต้านมได้ ที่สำคัญ ควนสวมเสื้อชั้นในที่ใส่สบายไม่รัดแน่นจนเกินไปเพื่อป้องกันปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น การใช้ที่ปั๊มน้ำนมหลังจากที่คุณให้นมลูกยังสามารถช่วยให้เต้านมระบายน้ำนมออกได้เต็มที่และขจัดสิ่งอุดตันต่างได้

  • เต้านมอักเสบ

เต้านมอักเสบ คือ การติดเชื้อในเต้านม เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เข้าไปในหัวนมที่เป็นแผลหรือแตกทำให้เกิดการติดเชื้อได้จนนำไปสู่การอักเสบได้ นอกจากนี้อาการคัดตึงและการระบายน้ำนมที่ไม่สมบูรณ์ของเต้านมก็อาจทำให้เต้านมอักเสบได้เช่นเดียวกัน

ก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นเมื่อเต้านมอักเสบ เมื่อสัมผัสแล้วอาจทำให้รู้สึกเจ็บ บริเวณโดยรอบก้อนเนื้ออาจร้อนและอักเสบบวมแดง ผู้ป่วยอาจมีไข้ หนาวสั่น เหนื่อยล้า ปวดเมื่อยตามร่างกาย คลื่นไส้ และมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ได้

ในกรณีที่รุนแรงมาก อาจทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตในบริเวณรักแร้บริเวณใกล้เต้านมที่ติดเชื้อ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หรือเกิดฝีในเต้านมได้ บางครั้งจึงจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อที่เต้านม ดังนั้นคุณควรไปพบแพทย์หากอาการเต้านมอักเสบไม่หายไปภายใน 24 ชั่วโมง

อย่างไรก็ตามน้ำนมที่ร่างกายผลิตในขณะที่เกิดการติดเชื้อที่เต้านมจะไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อย แต่เนื่องจากเกิดการอักเสบของเต้านม อาจทำให้รสชาติของนมเปลี่ยนแปลงได้ ลูกน้อยของคุณอาจปฏิเสธการดูดนม หากเป็นเช่นนี้นี้ คุณสามารถใช้เครื่องปั๊มหรือเครื่องปั๊มนมด้วยมือและป้อนนมทารกที่ปั๊มและเก็บน้ำนมแม่ จนกว่าการติดเชื้อจะหาย

เช่นเดียวกับการเกิดภาวะท่อน้ำนมอุดตัน คือ ควรหลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่คับและเสื้อชั้นในที่อาจกดทับบริเวณที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่แค่ในขณะที่คุณติดเชื้อแต่รวมถึงหลังจากนั้นด้วย แรงกดที่มากเกินไปต่อเนื้อเยื่อเต้านมที่อ่อนนุ่ม อาจทำให้เต้านมอักเสบรุนแรงมากขึ้น

 

ก้อนที่เต้านม
ก้อนที่เต้านม

 

  •  เนื้องอกชนิด Lactating adenoma

พบได้บ่อยถึง 70% จากการตรวจชิ้นเนื้อก้อนในเต้านมในแม่ที่ให้นมบุตร เป็นเนื้องอกชนิดที่ไม่ร้ายแรง ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นก้อนแข็ง เคลื่อนที่ได้อยู่ใต้ผิวหนัง เกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ต่อมอะดีโนมา ลักษณะของก้อนนื้องอกสามารถเพิ่มขนาดได้เร็ว แต่ไม่เจ็บ และมักจะยุบลงเมื่อหยุดการให้นม ของฮอร์โมนในการตั้งครรภ์และการให้นมบุตร และ

  • เนื้องอกชนิด Fibroadenomas

เป็นอีกหนึ่งชนิดของก้อนเนื้องอกที่ไม่ร้ายแรง เป็นชนิดปกติ และมักพบได้บ่อย เกิดขึ้นได้ในผู้หญิงทุกวัย ก้อนเนื้อมีลักษณะกลม แข็ง หรือเป็นรูปไข่ มีขอบเขตชัดเจน และเคลื่อนที่ได้ใต้ผิวหนังเมื่อมีการสัมผัส มักไม่จำเป็นต้องรักษา  ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เนื้องอกธรรมดาชนิดไฟโบรอะดีโนมา จะเติบโตในระหว่างตั้งครรภ์ และให้นมบุตร และหดตัวลง เนื่องจากฮอร์โมนที่ผันผวน

  • เนื้องอกชนิด Fibrocystic 

เป็นอีกหนึ่งภาวะที่พบได้บ่อย เกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมน ทำให้เกิดเป็นถุงน้ำส่งผลให้มีก้อนเนื้อที่โตขึ้นในเต้านมโดยจะมีอาการเจ็บเต้านมก่อนมีรอบเดือน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งสองข้างหรือข้างเดียว แต่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อรอบเดือนหมด และจะหายไปเองเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนโดยไม่จำเป็นต้องทำการรักษา

ผู้หญิงบางคนมีเนื้อเยื่อเต้านมหนาแน่น ซึ่งอาจอ่อนนุ่มและรู้สึกเหมือนมีก้อนแข็งเล็กๆ หลายก้อนในหน้าอกข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ผู้หญิงที่มีอาการนี้อาจรู้สึกอ่อนโยนและเป็นก้อนมากขึ้นก่อนมีประจำเดือน เกิดจากความผันผวนของฮอร์โมน ในขณะที่คุณสัมผัสได้ถึงเนื้อเยื่อที่หนาแน่นไม่เท่ากันระหว่างการตรวจเต้านมด้วยตนเอง การตรวจด้วยแมมโมแกรมเท่านั้นที่สามารถวินิจฉัยโรคได้

วิจัยชี้! ลูกสมองดี ถ้าได้กินนมแม่ เพราะนมแม่แน่ที่สุด!

ประโยชน์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ผลวิจัยชี้ช่วยป้องกัน-รักษา โควิด-19

4 วิธีกระตุ้นนมแม่ อย่างได้ผลดี ไม่เหนื่อย ไม่เจ็บ

  • ซีสต์ (Cysts) 

ซีสต์มีลักษณะเป็นก้อนกลมหรือวงรีที่ไม่เป็นอันตรายซึ่งมีของเหลวอยู่ภายในลักษณะเหมือนถุงน้ำ เมื่อซีสต์เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อเต้านมของผู้ให้นมบุตร มักเกิดขึ้นหลังจากเลิกให้นมลูก ถุงน้ำหรือซีสต์เหล่านี้ อาจแข็งหรือนิ่ม และเคลื่อนไปมาภายในเต้านมได้อย่างง่ายดาย อาจเจ็บปวดหรือไม่ก็ได้ การใช้ประคบเย็นหรือประคบน้ำแข็งก็ช่วยบรรเทาอาการได้เช่นกัน

โดยปกติซีสที่เต้านมจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ แต่ควรได้รับการตรวจสอบโดยแพทย์เสมอเพื่อให้แน่ใจว่าได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง หากแพทย์จำเป็นต้องทำการทดสอบใดๆ เพื่อแยกแยะเงื่อนไขอื่นๆ คุณไม่ควรหยุดให้นมลูก

ก้อนเนื้อเต้านมส่วนใหญ่ไม่ร้ายแรง มีโอกาสประมาณ 20% ของก้อนซีสที่สามารถกลายเป็นเซลล์มะเร็ง  ซึ่งก้อนเนื้อร้ายอาจปรากฏเป็นก้อนที่แข็งและไม่เจ็บปวดซึ่งดูเหมือนจะไม่มีขอบที่ชัดเจน อาจรู้สึกเหมือนติดอยู่กับเนื้อเยื่อเต้านมโดยรอบ และเคลื่อนไหวได้ยาก

  • ก้อนไขมัน (Lipomas)

Lipomas เป็นก้อนไขมันซึ่งเติบโตอย่างช้าๆ ใต้ผิวหนัง มักจะนิ่มเคลื่อนที่ได้ง่าย และส่วนใหญ่ไม่ทำให้เจ็บปวด เว้นแต่ก้อนไขมันนั้นจะไปกดทับเส้นประสาท Lipomas สามารถปรากฏในเนื้อเยื่อเต้านมและส่วนอื่น ๆ ของร่างกายรวมทั้งคอไหล่แขนและต้นขา แม้ว่าจะไม่ทราบสาเหตุของ lipomas ที่แน่ชัด แต่สันนิสฐานว่าเกิดจากเรื่องของกรรมพันธุ์  มักไม่ต้องรักษาเว้นแต่จะทำให้เกิดอาการปวดหรือไม่สบาย แม้ว่า lipomas จะไม่เป็นอันตราย แต่ก็สามารถมีอาการคล้ายกับมะเร็งชนิดหายากที่เรียกว่า liposarcoma ได้ ดังนั้นควรพบแพทย์หากคุณพบก้อนในเต้านม

  • ห้อที่เต้านม (Hematoma)

ห้อ คือ กลุ่มของเลือดที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนังในบริเวณนอกหลอดเลือด มักเป็นผลมาจากการตกเลือดที่เกิดจากการบาดเจ็บหรือการผ่าตัดเต้านม เลือดคั่งหรือห้อมักเกิดขึ้นภายใน 7 ถึง 10 วันหลังการผ่าตัด อาจมีขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ อาจให้ความรู้สึกว่ามีจุดบวมที่เต็มไปด้วยของเหลวในเต้านม บริเวณโดยรอบมักจะเจ็บปวด และอาจบวมแดง หากเลือดอยู่ใกล้ผิวหนัง ในบริเวณนั้นอาจดูเปลี่ยนสีดูช้ำเลือดช้ำหนอง หากสังเกตเห็นสัญญาณของเลือดคั่ง ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย เนื่องจากบางกรณีอาจต้องมีการผ่าตัดระบายเลือดที่คั่งออก

หากคลำได้เป็นก้อนชัดเจน แนะนำให้ไปพบแพทย์ โดยแพทย์จะทำการตรวจคลำเต้านมในเบื้องต้น หากมีลักษณะเป็นซีสต์ ก็จะแนะนำให้ตรวจติดตามต่อไปก่อน แต่หากสงสัยเป็นก้อนเนื้อ อาจส่งตรวจเพิ่มเติม คืออัลตราซาวน์เต้านมค่ะ ในเบื้องต้น

 

ก้อนที่เต้านม

 

  • มะเร็งเต้านม (Breast Cancer) 

เป็นเนื้องอกชนิดร้ายแรงของเต้านม พบได้น้อยมากในคนอายุน้อย มักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น ตรวจพบความผิดปกติได้จากการเอกซเรย์เต้านมแบบแมมโมแกรม (Mammogram) ร่วมกับการอัลตร้าซาวด์เต้านม ในระยะที่โรคดำเนินไปแล้ว ผู้ป่วยจะสามารถคลำพบก้อนเนื้อภายในเต้านมได้ด้วยตนเอง โดยไม่รู้สึกเจ็บปวด ก้อนที่พบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดตามระยะของการมีรอบเดือน อาจมีของเหลวไหลออกมาจากหัวนม หรือผิวหนังเหนือเต้านมขรุขระเหมือนผิวส้ม อย่างไรก็ตาม ในระยะแรกที่พบ แม่สามารถให้นมลูกได้ตามปกติ เพียงแต่ไม่ควรไปกดและนวดคลึงบริเวณที่คลำเจอก้อน

มะเร็งเต้านม เกิดขึ้นเมื่อเซลล์เต้านมบางส่วนภายในเต้านมมีการเติบโตอย่างผิดปกติ โดยเซลล์เหล่านี้สามารถแบ่งตัวได้เร็วกว่าเซลล์ปกติ และจะสะสมต่อไปจนเกิดเป็นก้อน เซลล์อาจเติบโตและแพร่กระจายผ่านเต้านมของคุณไปยังต่อมน้ำเหลืองหรือไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้

มะเร็งเต้านม สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบเจอตั้งแต่ระยะแรกๆ แต่หากพบในระยะที่มะเร็งเริ่มกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง หรือลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ของร่างกายแล้ว โอกาสในการรักษาก็จะลดน้อยลง

เมื่อต้องรับมือกับโรคมะเร็งการตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้นมีความสำคัญมาก หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมในขณะที่คุณให้นมลูก คุณและแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด คุณอาจต้องหยุดให้นมลูกหากการรักษาของคุณรวมถึงเคมีบำบัด และ/หรือ การฉายรังสี

การใส่ใจดูแลสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่ที่กำลังให้นม เพราะความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเต้านมนั้น ยิ่งตรวจพบได้เร็วโอกาสในการรักษาให้หายเป็นปกติก็เป็นไปได้ค่อนข้างสูงทั้งนี้ก็เพื่อการกลับมามีวิถีชีวิตตามปกติสุขได้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นงานที่ท้าทายสำหรับคนเป็นแม่ที่หวังให้ลูกได้รับสารอาหารต่างๆ ที่ครบถ้วนเพื่อการเจริญเติบโตตลอดจนสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงมีภูมิต้านทานโรคที่ดี อย่างไรก็ตามเมื่อเด็กๆ เติบโตขึ้นเข้าสู่วัยที่สามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการรักษาสุขภาพร่างกายให้ดี เพื่อห่างไกลโรคแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถปลูกฝังให้เด็กๆ ใส่ใจสุขภาพร่างกายของตัวเองได้ในหลายๆ วิธี ซึ่งนอกจากเด็กๆ จะห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บแล้วยังเป็นการเสริมสร้าง ทักษะความฉลาดที่รอบด้านด้วย Power BQ ในด้าน  ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี (HQ)  ได้อีกด้วยค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : verywellfamily.com , mayoclinic.org , namarak.com

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

นมเปรี้ยว เลี้ยงลูกแทนนมแม่อย่าหาทำ หมอเตือนเสี่ยงโรค

สัญญาณมะเร็งเต้านม ก้อนเนื้อที่เต้านมเป็นเพราะอะไร พร้อมวิธีตรวจด้วยตัวเอง

แม่สงสัย ดูแลเต้านม อย่างไรช่วงให้นมลูก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up