ทำไมปากมดลูกไม่แข็งแรง
ปากมดลูกหลวมยังไม่มีสาเหตุที่สามารถบอกได้แน่ชัด แต่พบว่าปากมดลูกหลวมเกิดได้กับคุณแม่ที่เคยมีประวัติบางอย่าง เช่น เคยขูดมดลูก เคยรักษาโรคที่ปากมดลูก เช่น การผ่าตัดที่ปากมดลูก การใช้ไฟฟ้าจี้ปากมดลูก หรือการใช้สารเคมีบางอย่างจี้ปากมดลูก คุณแม่ที่เคยคลอดยากและมีการฉีกขาดของมดลูกอย่างรุนแรง ซึ่งคุณแม่เหล่านี้จะมีโอกาสเกิดปัญหาปากมดลูกหลวมหรือไม่แข็งแรงได้มากกว่าคุณแม่ทั่วไป เพราะปากมดลูกของคุณแม่ล้วนแล้วแต่ถูกทำให้ไม่แข็งแรงทั้งสิ้น มากบ้างน้อยบ้างก็แล้วแต่สาเหตุที่เกิด
ตรวจพบได้หรือไม่ รักษาอย่างไรบ้าง
โดยส่วนใหญ่เมื่อคุณแม่ไปฝากครรภ์ประมาณอายุครรภ์ที่ 14-16 สัปดาห์ สูติแพทย์จะเริ่มประเมินปากมดลูกโดยการตรวจอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอดเพื่อวัดความยาวของปากมดลูกว่าเริ่มมีการเปิดหรือสั้นลงหรือไม่ โดยหากปากมดลูกสั้นกว่า2.5เซนติเมตรจะเสี่ยงต่อการแท้งหรือคลอดก่อนกําหนดได้ เพราะไม่สามารถรับน้ำหนักเด็กที่เติบโตขึ้นได้หากเห็นคุณแม่ว่ามีภาวะปากมดลูกหลวม คุณหมออาจจะพิจารณาให้ยาเพื่อให้เนื้อเยื่อของปากมดลูกแข็งแรง หรือเพื่อลดการบีบตัวของมดลูก แต่หากการให้ยาไม่ได้ผลดี อาจมีการให้ยาร่วมกับการใส่ “ห่วงพยุงปากมดลูก” (CervicalPessary) หรือการเย็บปากมดลูก
โดยหลักของการรักษาปากมดลูกหลวมคือ การทําให้ปากมดลูกแข็งแรงพอจะพยุงตัวลูกน้อยในครรภ์ได้ ซึ่งแต่เดิมมักรักษาด้วยการ “เย็บปากมดลูก” ซึ่งต้องวางยาสลบ และมีขั้นตอนการเย็บผูกรัดปากมดลูกให้แข็งแรงแล้วปล่อยทิ้งไว้ รอให้ลูกในท้องโตจนครบกำหนด จึงจะตัดการเย็บมัดปากมดลูกนั้นออก คุณแม่ก็จะมีการคลอดลูกน้อยตามมา แต่การเย็บปากมดลูกจะมีขั้นตอนยุ่งยาก มีการวางยาสลบ และอื่นๆ ทำให้หลังผ่าตัดต้องนอนโรงพยาบาลหลายวันเมื่ออายุครรภ์มากขึ้นก็จําเป็นต้องนอนโรงพยาบาลไปเรื่อยๆจนกว่าจะคลอดเนื่องจากเมื่อเด็กตัวโตขึ้นปากมดลูกจะหย่อนลงมาอีกทําให้รู้สึกเจ็บหน่วงและเดินไม่ไหว
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่