คนท้องต้องรู้! กินน้ำตาล ตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ทำอย่างไร? - Amarin Baby & Kids

คนท้องต้องรู้! กินน้ำตาล ตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ทำอย่างไร?

Alternative Textaccount_circle
event

ในขณะตั้งครรภ์ก็สามารถเป็นเบาหวานได้ โดยหากเป็นโรคนี้ จะมีผลกระทบกับทั้งแม่ท้องและลูกในท้อง ดังนั้น แม่ท้องทุกคนจะต้องได้รับการ ตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในสัปดาห์ที่ 24-28 ของการตั้งครรภ์

คนท้องต้องรู้! กินน้ำตาล ตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ทำอย่างไร?

ทำความรู้จักกับเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือภาวะที่แม่ท้องมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ เพราะในระหว่างการตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีการผลิตฮอร์โมนบางชนิดขึ้น ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับร่างกาย เช่น น้ำหนักเพิ่ม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ นี้ จึงทำให้ร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะนี้เรียกว่า ภาวะดื้อต่ออินซูลิน หญิงตั้งครรภ์ทุกคนจะมีภาวะดื้อต่ออินซูลินได้เล็กน้อยในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ แต่ส่วนใหญ่ของหญิงตั้งครรภ์จะสามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอที่แก้ไขปัญหาภาวะดื้อต่ออินซูลินได้ แต่บางรายไม่สามารถทำได้ จึงทำให้เกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ขึ้น

โดยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ เป็นเบาหวานอยู่แล้วก่อนการตั้งครรภ์ และ เพิ่งเป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกระยะการตั้งครรภ์ แต่โดยทั่วไปมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพมารดาและทารกในครรภ์ รวมทั้งอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้

ผลกระทบต่อทารกในครรภ์

ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดที่สูงระหว่างการตั้งครรภ์จะทำให้เกิดปัญหาต่อทารก เช่น

  • ทารกคลอดก่อนกำหนด
  • น้ำหนักทารกแรกคลอดมากกว่าปกติที่ควรจะเป็น เช่น ทารกมีตัวใหญ่มากขึ้นกว่าปกติ ทำให้คลอดยาก หรืออาจเกิดอันตรายขณะคลอด เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดของแม่มีสูง ทารกจึงได้รับน้ำตาลมากไปด้วย
  • ทารกตัวเล็กมีน้ำหนักน้อย สำหรับแม่ท้องที่เป็นเบาหวานมานานจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงมดลูกได้น้อยลง ซึ่งอาจจะทำใให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้
  • มีโอกาสพิการแต่กำเนิดสูงกว่าทารกปกติ
  • มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำทันทีหลังคลอด
  • อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนในทารกแรกเกิด เช่น เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ, ภาวะแคลเซียมต่ำในเลือดทารก, ภาวะตัวเหลือง, ภาวะเม็ดเลือดแดงมากเกิน, ภาวะหัวใจโต, ภาวะ Respiratory distress syndrome (RDS), ภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอดและการบาดเจ็บจากการคลอด, ระดับเกลือแร่ต่าง ๆ ผิดปกติ เป็นต้น การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของคุณแม่ในระยะใกล้คลอดและช่วงเจ็บครรภ์คลอดจะมีผลต่อภาวะแทรกซ้อนในทารกแรกเกิดดังกล่าวได้

นอกจากนี้ทารกที่คลอดจากมารดาที่มีภาวะนี้จะมีโอกาสที่จะมีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วนในอนาคต และอาจเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคตได้

เบาหวานขณะตั้งครรภ์
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถเกิดขึ้นได้กับแม่ท้องเนื่องจากการผลิตฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปขณะตั้งครรภ์

ผลกระทบต่อมารดา

  • มีโอกาสเกิดความดันโลหิตสูง จนเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • อาจเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ เพราะในปัสสาวะของแม่ท้องที่เป็นเบาหวานจะมีน้ำตาลสูง ซึ่งเป็นอาหารที่เชื้อแบคทีเรียชอบ
  • ตั้งครรภ์แฝดน้ำ
  • มีน้ำคร่ำมากกว่าปกติ
  • มีโอกาสเป็นเบาหวานหลังคลอด
  • มักจะต้องผ่าตัดคลอด
  • มีอันตรายการเสียชีวิตสูงกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่เป็นเบาหวาน

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ ทราบได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และ ขั้นตอนการ ตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up