ดาวน์ซินโดรม รู้ล่วงหน้า..หยุดความเสี่ยงได้ตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์

ดาวน์ซินโดรม รู้ล่วงหน้า..หยุดความเสี่ยงได้ตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์

Alternative Textaccount_circle
event

gradyeyesblog

การรักษาโรคดาวน์ซินโดรม

ในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถหาทางป้องกันหรือรักษาโรคดาวน์ซินโดรมได้ แต่วิธีที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงที่จะคลอดลูกเป็นดาวน์ซินโดรมนั่นก็คือ หลีกเลี่ยงการแต่งงานและตั้งครรภ์เมื่ออายุเกิน 35 ปี และผู้ที่มีพาหะของดาวน์ซินโดรมหรือเป็นผู้ที่อยู่ในอาการดาวน์นั้นก็ไม่ควรจะแต่งงานหรือตั้งครรภ์อย่างยิ่งเพราะจะยิ่งทำให้มีความเสี่ยงที่จะคลอดลูกที่มีอาการดาวน์ซินโดรมได้ ทั้งนี้ ถ้าหากผู้ที่มีอาการในกลุ่มอาการดาวน์ฯนั้นคลอดลูก ลูกที่คลอดมาจะมีความเสี่ยงเป็นโรคดาวน์ซินโดรมได้ถึง 50% เลย

และหากคุณพ่อคุณแม่เลือกที่จะเก็บลูกน้อยไว้ ในเด็กกลุ่มอาการดาวน์ฯ จำเป็นต้องดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่และสังคมรอบข้างร่วมกัน เพื่อให้เด็กที่เป็นโรคนี้สามารถเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด และไม่กลายเป็นปัญหาของสังคมในอนาคต

downsyndrome31

พ่อแม่ควรทำอย่างไรเมื่อลูกเป็นดาวน์ซินโดรม

เมื่อพ่อแม่รู้ว่าลูกเป็นดาวน์ซินโดรมแล้วนั้น สิ่งที่ดีที่สุดคือการยอมรับความจริง พ่อแม่ควรจะทำใจยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นและพยายามมองโลกในแง่ดีเพื่อเสริมสร้างกำลังใจให้กับตัวเอง และควรจะขอคำปรึกษาจากแพทย์และคอยหมั่นหาความรู้เกี่ยวกับดาวน์ซินโดรมอยู่เสมอ ๆ  และควรพาลูกที่มีอาการดาวน์ซินโดรมไปตรวจเช็คร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเด็กอยู่ในวัยที่เจริญพันธุ์ก็ควรที่จะพาเด็กไปทำการคุมกำเนิดป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดการตั้งครรภ์  ที่สำคัญไม่ควรจะเลี้ยงลูกให้เขารู้สึกว่าแตกต่างจากคนอื่น ควรจะเลี้ยงและดูแลเขาเหมือนกับเด็กทั่วไป เพื่อที่เด็กจะได้ไม่รู้สึกแตกต่างและกลายเป็นปัญหาของสังคมค่ะ

อย่างไรก็ตาม ดาวน์ซินโดรม ไม่ใช่โรคที่ติดต่อได้หรือน่ารังเกียจ ดังนั้นเราจึงควรทำความเข้าใจผู้ที่เป็นโรคนี้ เพราะเขาเองก็มีชีวิตจิตใจเช่นเดียวกันกับเรา เราควรที่จะเปิดโอกาสให้กับพวกเขาเหล่านั้นได้ใช้ชีวิตอย่างปกติสุข และไม่มองเขาเป็นปัญหาของสังคมนะคะ


ขอขอบคุรข้อมูลจาก : โรงพาบาลปิยะเวท www.thaipr.net , baby.kapook.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up