อาหารและเครื่องดื่ม คนท้องห้ามกิน กินแล้วอันตรายต่อลูก - Amarin Baby & Kids
คนท้องห้ามกิน

อาหาร เครื่องดื่ม ที่ คนท้องห้ามกิน กินแล้วอันตรายต่อลูก!

Alternative Textaccount_circle
event
คนท้องห้ามกิน
คนท้องห้ามกิน

คนท้องห้ามกิน – สิ่งแรกที่ว่าที่คุณแม่หลายคนต้องทำความเข้าใจเมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คงหนีไม่พ้นเรื่องของอาหารการกิน  การเตรียม ตัวเป็นว่าที่คุณแม่อาจต้องใส่ใจเกี่ยวกับเรื่องอาหารการกินมากเป็นพิเศษ สิ่งสำคัญ คือ ควรเข้าใจและระมัดระวังการกินและดื่มเพื่อความปลอดภัยสำหรับตัวคุณเองและลูกน้อยในครรภ์ อาหารบางชนิดควรบริโภคแต่น้อย ในขณะที่อาหารบางชนิดก็ควรหลีกเลี่ยงโดยสิ้นเชิง อาหารและเครื่องดื่ม 11 ชนิดที่ควรหลีกเลี่ยงหรือลดให้น้อยที่สุดขณะตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง วันนี้เรามาดูกันค่ะ

อาหาร เครื่องดื่ม ที่ คนท้องห้ามกิน กินแล้วอันตรายต่อลูก!

ช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ ระดับภูมิคุ้มกันของคุณแม่อาจทำงานได้ไม่ดีนัก  หากไม่ระวังอาจเกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย การเลือกโภชนาการที่ดีมีประโยชน์ ทำให้ร่างกายของคนท้องรวมทั้งทารกในครรภ์ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน การเลือกทานอาหารที่สุ่มเสี่ยงอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายของแม่และพัฒนาการของลูกได้มากกว่าที่เราคิด วันนี้เรามีข้อมูลโภชนาการ 11 อาหารและเครื่องดื่ม ที่แม่ท้องไม่ควรกินมาฝากว่าที่คุณแม่ทุกคนค่ะ

อาหารที่คนท้องไม่ควรบริโภค ได้แก่

1. ปลาที่มีสารปรอทสูง

สารปรอทเป็นธาตุที่มีพิษสูง พบมากที่สุดในน้ำเสีย ปรอทในปริมาณที่สูงอาจเป็นพิษต่อระบบประสาทระบบภูมิคุ้มกันและไตของมนุษย์ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดปัญหาพัฒนาการที่รุนแรงในเด็กโดยมีผลเสียแม้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย สารปรอทพบได้ในทะเลที่มีมลพิษ ปลาทะเลขนาดใหญ่จึงสามารถสะสมปรอทได้ในปริมาณสูง ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงปลาที่มีสารปรอทสูงในขณะตั้งครรภ์และให้นมบุตร

ปลาที่มีสารปรอทสูงที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ :

  • ฉลาม
  • ปลาอินทรี
  • ปลาฉนาก (ปลาดาบ)
  • ปลากระโทง
  • ปลาทูน่า (โดยเฉพาะปลาทูน่าตาพอง)
คนท้องห้ามกิน
คนท้องห้ามกิน

อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่ามีเพียงปลาบางชนิดเท่านั้นที่อาจมีสารปรอทตกค้างในปริมาณสูง การบริโภคปลาที่มีสารปรอทต่ำในระหว่างตั้งครรภ์นั้นดีต่อสุขภาพมาก และปลาเหล่านี้สามารถรับประทานได้ถึง สามครั้งต่อสัปดาห์

ปลาที่มีสารปรอทต่ำ ได้แก่:

  • ปลาแองโชวี่
  • ปลาคอด
  • ปลากระพง
  • ปลาแซลมอน
  • ปลานิล
  • ปลาเทราท์ (น้ำจืด)

ปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาแซลมอนและปลากะตักเป็นตัวเลือกที่ดีเป็นพิเศษเนื่องจากมีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงซึ่งมีความสำคัญต่อลูกน้อยของคุณ

2. ปลาดิบหรือหอยดิบ

ข้อนี้ใครชอบทานซูชิ อาจต้องห้ามใจกันไว้ก่อน  ปลาดิบหรือหอยที่ไม่ผ่านการทำให้สุก สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อหลายชนิด ทั้งการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือปรสิต เช่น โนโรไวรัส วิบริโอ ซัลโมเนลลา และลิสเตอเรีย เป็นต้น

การติดเชื้อเหล่านี้อาจส่งผลต่อร่างกาย อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ และมีอาการอ่อนเพลีย  การติดเชื้อ อาจส่งผลที่ร้ายแรงและอาจทำให้ทารกในครรภ์พิการหรือถึงแก่ชีวิตได้

สตรีมีครรภ์สามารถติดเชื้อลิสเทอเรียได้ง่ายกว่าคนทั่วไป  ตามที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ระบุว่าหญิงตั้งครรภ์มีโอกาสติดเชื้อลิสเทอเรีย ได้มากกว่าประชากรทั่วไปถึง 10 เท่า แบคทีเรียนี้สามารถพบได้ในดินและที่ปนเปื้อนในน้ำหรือพืช ปลาดิบ โดยสามารถติดเชื้อได้ในระหว่างการแปรรูปรวมถึงการอบแห้ง

ลิสเทอเรีย เป็นเชื้อแบคทีเรียที่สามารถติดยังทารกในครรภ์ผ่านทางรกแม้ว่าคุณแม่จะไม่แสดงอาการเจ็บป่วยก็ตาม สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนด การแท้งการคลอดบุตรและปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงอื่น ๆ ได้

คนท้องห้ามกิน

ขอแนะนำอย่างยิ่งให้หลีกเลี่ยงปลาดิบและหอยรวมถึงซูชิหลายรายการ แต่ไม่ต้องกังวลไป คุณจะกลับมาเพลิดเพลินไปกับอาหารเหล่านี้มากขึ้นหลังจากที่ทารกคลอดออกมาแล้ว

3. เนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกๆดิบๆ และแปรรูป

เช่นเดียวกันกับปลาดิบ เนื้อสัตว์ที่ไม่สุกหรือแปรรูปสามารถส่งผลเสียต่อคนท้องและทารกในครรภ์ได้เช่นกัน  การกินเนื้อสัตว์ที่ไม่สุกหรือสุกๆ ดิบๆ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากแบคทีเรียหรือปรสิตหลายชนิดรวมถึง ท็อกโซพลาสมา อีโคไล ซัลโมเนลลา และ ลิสเตอเรีย  ซึ่งแบคทีเรียอาจคุกคามสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์และอาจนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนด หรือความเจ็บป่วยทางระบบประสาทขั้นรุนแรง รวมถึงความพิการทางสติปัญญา ตาบอดและโรคลมบ้าหมู แม้ว่าแบคทีเรียส่วนใหญ่จะพบอยู่บนพื้นผิวของเนื้อสัตว์ทั้งหมด แต่แบคทีเรียอื่น ๆ อาจเกาะอยู่ภายในเส้นใยกล้ามเนื้อของสัตว์ได้  นอกจากนี้เนื้อสัตว์แปรรูปอาจติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดในระหว่างการแปรรูปหรือการเก็บรักษา

คนท้องห้ามกิน

4. ไข่ดิบ

ไข่ดิบสามารถปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา อาการของการติดเชื้อซัลโมเนลลา ได้แก่ ไข้คลื่นไส้อาเจียนปวดท้องและท้องร่วง

อย่างไรก็ตามในบางกรณี การติดเชื้ออาจทำให้เกิดตะคริวในมดลูกซึ่งนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดได้

อาหารที่มักมีไข่ดิบ ได้แก่ :

  • ไข่คน
  • ไข่ลวก
  • มายองเนสโฮมเมด
  • น้ำสลัดโฮมเมด
  • ไอศกรีมโฮมเมด
  • ไอซิ่งเค้กโฮมเมด

คนท้องห้ามกิน

ผลิตภัณฑ์ทางการค้าส่วนใหญ่ที่มีไข่ดิบ ทำด้วยไข่พาสเจอร์ไรส์ และปลอดภัยต่อการบริโภค อย่างไรก็ตามคุณควรอ่านฉลากให้แน่ใจเสมอ เพื่อความปลอดภัยอย่าลืมปรุงไข่ให้สุกเสมอหรือทางที่ดีควรบริโภคไข่พาสเจอร์ไรส์ ก็น่าอุ่นใจยิ่งขึ้นค่ะ

5. เครื่องในสัตว์

แม้เครื่องใน จะเป็นแหล่งของสารอาหารที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึง ธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 วิตามินเอ สังกะสี ซีลีเนียม และทองแดง ที่ดีต่อคุณแม่และลูกน้อย อย่างไรก็ตามคนท้องไม่ควรรับประทานวิตามินเอจากสัตว์มากเกินไป (วิตามินเอแบบสำเร็จรูป) ในระหว่างตั้งครรภ์ การบริโภควิตามินเอมากเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ อาจนำไปสู่ความผิดปกติแต่กำเนิด และการแท้งบุตร คุณควร จำกัด การบริโภคเครื่องใน เช่นตับ ให้เหลือเพียงไม่กี่ออนซ์ต่อสัปดาห์

6. คาเฟอีน

คุณอาจเป็นหนึ่งในหลายล้านคน ที่ชื่นชอบ กาแฟชา น้ำอัดลม หรือโกโก้   โดยทั่วไปหญิงตั้งครรภ์ ควรจำกัดปริมาณคาเฟอีนให้น้อยกว่า 200 มิลลิกรัม (มก.) ต่อวัน คาเฟอีนถูกดูดซึมได้เร็วและผ่านเข้าสู่รกได้ง่าย เนื่องจากทารกและรกไม่มีเอนไซม์หลักที่จำเป็นในการเผาผลาญคาเฟอีน การบริโภคคาเฟอีนปริมาณสูงในระหว่างตั้งครรภ์สามารถขัดขวางการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และเพิ่มความเสี่ยงของน้ำหนักแรกคลอดที่ต่ำ (น้อยกว่า 5 ปอนด์, 8 ออนซ์ (หรือ 2.5 กก.)  นอกจากนี้ คาเฟอีนยังมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเสียชีวิตของทารก และความเสี่ยงที่สูงขึ้นของโรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ ดังนั้นคุณควรแน่ใจว่าลูกน้อยและตัวคุณไม่ได้รับคาเฟอีนในปริมาณที่มากเกินไป

7. ถั่วงอกดิบ

ถั่วงอกดิบ รวมทั้ง บร็อคโคลี่ กระหล่ำดอก หัวไช้เท้า หัวหอม ผักเหล่านี้ อาจปนเปื้อน เชื้อ ซัลโมเนลลา เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ชื้นที่เมล็ดพืชต้องการในการเริ่มแตกหน่อนั้นเหมาะอย่างยิ่งสำหรับแบคทีเรียชนิดนี้ และแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะชะล้างออก ด้วยเหตุนี้คุณควรหลีกเลี่ยงการบริโภคถั่วงอกดิบโดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตามถั่วงอกสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัยหลังจากปรุงสุกแล้ว

8. ผักผลไม้ที่ไม่ได้ล้าง

ผักและผลไม้ที่ไม่ได้ล้างอาจปนเปื้อนด้วยแบคทีเรียและปรสิตหลายชนิด ซึ่งรวมถึง ท็อกโซพลาสมา อีโคไล ซัลโมเนลลา และ ลิสเตอเรีย จากดิน นอกจากนี้การปนเปื้อนอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในระหว่างการผลิต ทั้งการเก็บเกี่ยว การแปรรูป การเก็บรักษา การขนส่ง หรือการขายปลีก

คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคท็อกโซพลาสโมซิส จะไม่มีอาการ ในขณะที่การติดเชื้ออื่น ๆ อาจรู้สึกว่าเป็นไข้หวัดเป็นเวลาหนึ่งเดือนหรือมากกว่านั้น ทารกส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อแบคทีเรีย ท็อกโซพลาสมา ในขณะที่ยังอยู่ในครรภ์จะไม่มีอาการใด ๆ ตั้งแต่แรกเกิด อย่างไรก็ตามอาการต่างๆ เช่นตาบอด หรือความบกพร่องทางสติปัญญาอาจพัฒนาขึ้นที่มาได้ภายหลังการคลอด

ยิ่งไปกว่านั้นทารกแรกเกิดที่ติดเชื้อเพียงเล็กน้อยอาจได้รับความเสียหายต่อดวงตา หรือสมองอย่างรุนแรงตั้งแต่แรกเกิด ดังนั้นในขณะที่คุณตั้งครรภ์สิ่งสำคัญอย่างยิ่งก่อนการรับประทานผลไม้ คือ ต้องลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโดยการล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือก หรือปรุงผัก และผลไม้

9. นม เนยแข็ง และน้ำผลไม้ที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์

นมดิบ ชีส ที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์  อาจมีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายหลายชนิด เช่น ลิสเตอเรีย ซัลโมเนลลา อีโคไล และแคมปิโลแบคเตอร์  เช่นเดียวกับน้ำผลไม้ที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีการปนเปื้อนของแบคทีเรียเช่นกัน การติดเชื้อเหล่านี้อาจส่งผลร้ายแรงถึงชีวิตได้  แบคทีเรียอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือเกิดจากการปนเปื้อนระหว่างการเก็บรักษา การพาสเจอร์ไรส์เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายโดยไม่ทำให้คุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์เปลี่ยนแปลงไป เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อให้ควรบริโภคนม ชีส น้ำผลไม้ ที่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์แล้วเท่านั้นค่ะ

10. แอลกอฮอล์

หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร และการคลอดก่อนกำหนด แม้ปริมาณแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อยก็อาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยได้ การดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดความผิดปกติของใบหน้าของทารก ความบกพร่องของหัวใจ และความบกพร่องทางสติปัญญาของเด็กได้

11. อาหารจั๊งฟู้ด อาหารแปรรูป

โภชนาการที่ดีที่สุดเมื่อคุณตั้งครรภ์คือการได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างครบถ้วน เพื่อช่วยให้ทั้งคุณและลูกน้อยที่กำลังเติบโตมีสุขภาพและพัฒนาการที่ดี คุณจะต้องได้รับสารอาหารที่จำเป็นในปริมาณที่เพิ่มขึ้นจากปกติ รวมถึง โปรตีนโ ฟเลต โคลีน และธาตุเหล็ก

คุณอาจเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ท้องแล้วต้อง “กินเผื่อสองคน” จริงๆ แล้ว คุณสามารถทานอาหารได้ตามปกติในช่วงไตรมาสแรก จากนั้นสามารถเพิ่มปริมาณขึ้นได้คิดเป็นประมาณ 350 แคลอรี่ต่อวันในไตรมาสที่สอง และประมาณ 450 แคลอรี่ต่อวัน ในช่วงไตรมาสที่สาม

ควรงดอาหารขยะ อาหารแปรรูปต่างๆ เนื่องจากมีสารอาหารต่ำ และมีแคลอรี่ น้ำตาล และไขมันในปริมาณสูง แม้ว่าการเพิ่มน้ำหนักจะเป็นสิ่งที่จำเป็นในระหว่างตั้งครรภ์ แต่การเพิ่มน้ำหนักส่วนเกินนั้นเชื่อมโยงกับภาวะแทรกซ้อน และโรคต่างๆ รวมถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เช่นเดียวกับภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์หรือการคลอด ทางที่ดี ควรทานอาหารและของว่างที่เน้นโปรตีน ผัก และผลไม้ ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ และคาร์โบไฮเดรตที่มีเส้นใย เช่น เมล็ดธัญพืช ถั่วแ ละผักที่มีแป้ง จะดีต่อสุขภาพของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์มากกว่าค่ะ

การใส่ใจเรื่องโภชนาการระหว่างตั้งครรภ์ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับว่าที่คุณแม่ทุกคน ทั้งนี้ก็เพื่อการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ คุณแม่มีสุขภาพดี  รวมถึงการเจริญเติบโต และพัฒนาการที่ดีของลูกน้อยในครรภ์ ในอนาคตเมื่อลูกของคุณเติบโตขึ้น การปลูกฝังลูกในเรื่องการใส่ใจด้านโภชนาการ อาหารการกิน และการใส่ใจต่อการมีสุขภาพที่ดี ควรเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุรแม่ควรทำอย่างต่อเนื่อง และให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างทักษะด้าน ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี HQ ให้กับลูกได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถแนะนำลูกได้ว่า ควรกินอะไรจึงจะเหมาะกับสุขภาพ และขนมแบบไหนที่กินแล้วไม่มีประโยชน์ อธิบายให้ลูกเข้าใจถึงคุณค่าทางโภชนาการที่จะได้รับจากอาหารที่รับประทานเข้าไป เพื่อให้ลูกสามารถเลือกซื้ออาหารได้อย่างชาญฉลาดค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : healthline.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

คนท้องกินยาพาราได้ไหม คนท้องกินยาอะไรได้บ้าง ยาที่คนท้องห้ามกิน มีอะไรบ้างเช็กเลย!

17 อาหารที่คนท้องห้ามกิน ห้ามกินจริงหรือ?

คนท้องห้ามกินอะไร 9 อาหาร ที่แม่ท้องควรห้ามใจ เลี่ยงได้เลี่ยงก่อนนะแม่!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up