เปรียบเทียบ ดื่มชาเขียว มีประโยชน์ หรือให้โทษมากกว่ากัน
ข้อดี ของการดื่มชาเขียว
- ชาเขียว ช่วยในการรักษาโรคปวดศีรษะ ไปจนถึงโรคซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี โดยประเทศจีนได้มีการใช้ชาเขียวในการรักษาโรคต่างๆ มาเป็นเวลามากกว่า 4,000 ปีมาแล้ว
- ชาเขียว ช่วยแก้หวัด แก้อาการร้อนใน ช่วยในการขับสารพิษ และช่วยขับเหงื่อในร่างกาย
- ชาเขียว ช่วยทำให้เจริญอาหารมากขึ้น
- ชาเขียว ช่วยในการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ จึงมีส่วนช่วยในการล้างสารพิษ และช่วยกำจัดพิษในลำไส้ได้
- ชาเขียว ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในร่างกาย
- ชาเขียว ป้องกันตับจากพิษต่างๆ รวมทั้งโรคชนิดอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นกับตับได้
- ชาเขียว มีฤทธิ์ในการต้านอาการอักเสบ ต้านจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้ ต้านเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส รวมทั้งช่วยต้านเชื้อ Botulinus และเชื้อ Staphylococcus
- ชาเขียว ช่วยในการห้ามเลือด หรือทำให้เลือดไหลได้ช้าลง
- ชาเขียว ช่วยในการขับปัสสาวะ และช่วยป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี และในไต
- ชาเขียว ช่วยในการป้องกันโรคข้ออักเสบรูมาติก ซึ่งเป็นโรคที่มีอาการอักเสบบวมแดง ส่งผลทำให้ปวดเมื่อตามกล้ามเนื้อ และข้อต่อ
- ชาเขียว ใช้เป็นยาพอกเพื่อรักษาแผลอักเสบ แผลพุพอง ฝีหนอง ไฟไหม้ รวมทั้งช่วยบรรเทาอาการผดผื่นคัน แมลงสัตว์กัดต่อย ใช้เป็นยากันยุง รวมทั้งแก้ผิวร้อนแห้งได้เป็นอย่างดี
- ชาเขียว ช่วยแก้อาการเมาเหล้า อีกทั้งยังทำให้สร่างเมาได้เป็นอย่างดี
- ชาเขียว ช่วยในการทำให้เกิดการผ่อนคลายอารมณ์ ช่วยระบายความร้อนที่เกิดกับศีรษะ และเบ้าตา จึงทำให้ตาสว่าง ไม่ง่วงนอน แถมยังช่วยทำให้หายใจสดชื่นขึ้นอีกด้วย
ข้อเสีย ของการดื่มชาเขียว
- ในชาเขียว มีคาเฟอีน ที่เป็นสารกระตุ้น ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น เช่นเดียวกับในกาแฟ และโกโก้
- ชาเขียว ไม่เหมาะคนที่เป็นโรคหัวใจ เพราะคาเฟอีน สามารถทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
- ชาเขียว ไม่เหมาะกับคนที่เป็นเบาหวาน เพราะคาเฟอีน อาจจะส่งผลรบกวนการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
- การดื่มชาเขียวอาจจะทำให้ภาวะวิตกกังวลมีอาการแย่ลงได้
- การรับประทานชาเขียวมากเกินไปในขณะให้นมบุตร อาจจะทำให้คาเฟอีนในชาเขียว ส่งผ่านไปยังเด็กผ่านทางน้ำนม ซึ่งถ้าเด็กได้รับปริมาณมาก อาจจะเกิดอันตรายจากคาเฟอีนได้ โดยมีคำแนะนำว่าไม่ควรดื่มเกินวันละ 2 ถ้วย
- สำหรับคนท้อง การทานชาเขียวอาจเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งลูก ดังนั้น ในระหว่างตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงชาเขียว และเครื่องดื่มที่ให้คาเฟอีน เช่น กาแฟ และโกโก้
- เนื่องจากมีความเชื่อที่ว่าชาเขียวสามารถรักษา และยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ จึงทำให้ความนิยมของการดื่มชาเขียวในคนที่เป็นมะเร็งจึงเพิ่มมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน สารโพลีฟีนอล ซึ่งพบได้มากในชาเขียว สามารถเกิดอันตรกิริยากับ ยารักษามะเร็ง หรือยาตีกันได้ โดยเฉพาะกับยา bortezomib นอกจากนี้ วิตามินเค ที่พบมากในชาเขียว สามารถทำให้ฤทธิ์ละลายลิ่มเลือดของยาวาร์ฟาริน ลดลง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะในหลอดเลือดสมองและหัวใจ ดังนั้น ก่อนการทานชาเขียวและสมุนไพรอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
- สารแทนนิน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดรสขมในชาเขียว สามารถยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กในอาหารได้ จึงเพิ่มความเสี่ยงของภาวะขาดเหล็ก ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคโลหิตจาง
- การรับประทานชาเขียวในปริมาณที่มาก อาจส่งผลทำให้มีการขับแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะมากขึ้น ซึ่งอาจจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุน และอาจทำให้เกิดภาวะบาดเจ็บที่กระดูกได้ง่ายขึ้น
- การดื่มชาเขียวในขณะท้องว่าง ไม่ถูกต้อง เพราะจากการทดลองในหนูทดลอง ที่ให้หนูดื่มชาเขียวในขณะท้องว่าง พบว่าเกิดพิษต่อตับ ไต และระบบทางเดินอาหาร แต่สำหรับผลในมนุษย์นั้นยังไม่มีการทดลอง
- สารคาเทชิน ซึ่งเป็นสารในกลุ่มโพลีฟีนอล มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ พบว่าสารตัวนี้จะมีพิษต่อไมโทคอนเดรีย ซึ่งเป็นส่วนที่สร้างพลังงานให้กับเซลล์ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติต่อตับ ได้แก่ ตัวเหลืองตาเหลือง ตับอักเสบ รวมถึงตับวาย นอกจากนี้สารคาเทชินยังส่งผลทำให้กลูตาไธโอน ซึ่งเป็นสารที่คอยกำจัดสารพิษในตับลดลง
- มีรายงานว่า การให้หนูทดลองกินชาเขียวในปริมาณสูง จะส่งผลทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายลดลง ซึ่งอาจจะเกิดจากการทำงานของอัณฑะผิดปกติ ดังนั้น ชาเขียวอาจจะทำให้เกิดความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ได้
ทราบถึงประโยชน์ และโทษของการดื่มชาเขียวกันไปแล้ว แต่บอกเลยว่าไม่ต้องวิตกกังวลจนเกินไปค่ะ เพราะไม่ว่าการรับประทานสิ่งใดนั้น มีทั้งประโยชน์ และโทษทั้งสิ้น ดังนั้น ควรรับประทานแต่พอดี และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อื่นๆควบคู่ไปด้วย รวมถึงรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และออกกำลังกาย เท่านี้ก็จะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงได้ค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก www.akerufeed.com / www.honestdocs.com /www.kapook.com
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ
เผยเทคนิคดี! “กินตามกรุ๊ปเลือด” ช่วยลดน้ำหนักได้ชัวร์
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในสตรีมีครรภ์ เรื่องที่คุณแม่ท้อง ต้องระวัง
อัพเดท แพคเกจคลอด 2561 โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่