คนท้องดื่มชาเขียวได้ไหม?

คนท้องดื่มชาเขียวได้ไหม? ดื่มมากไป เสี่ยงแท้ง จริงหรือ?

Alternative Textaccount_circle
event
คนท้องดื่มชาเขียวได้ไหม?
คนท้องดื่มชาเขียวได้ไหม?

เปรียบเทียบ ดื่มชาเขียว มีประโยชน์ หรือให้โทษมากกว่ากัน

ข้อดี ของการดื่มชาเขียว

  1. ชาเขียว ช่วยในการรักษาโรคปวดศีรษะ ไปจนถึงโรคซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี โดยประเทศจีนได้มีการใช้ชาเขียวในการรักษาโรคต่างๆ มาเป็นเวลามากกว่า 4,000 ปีมาแล้ว
  2. ชาเขียว ช่วยแก้หวัด แก้อาการร้อนใน ช่วยในการขับสารพิษ และช่วยขับเหงื่อในร่างกาย
  3. ชาเขียว ช่วยทำให้เจริญอาหารมากขึ้น
  4. ชาเขียว ช่วยในการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ จึงมีส่วนช่วยในการล้างสารพิษ และช่วยกำจัดพิษในลำไส้ได้
  5. ชาเขียว ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในร่างกาย
  6. ชาเขียว ป้องกันตับจากพิษต่างๆ รวมทั้งโรคชนิดอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นกับตับได้
  7. ชาเขียว มีฤทธิ์ในการต้านอาการอักเสบ ต้านจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้ ต้านเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส รวมทั้งช่วยต้านเชื้อ Botulinus และเชื้อ Staphylococcus
  8. ชาเขียว ช่วยในการห้ามเลือด หรือทำให้เลือดไหลได้ช้าลง
  9. ชาเขียว ช่วยในการขับปัสสาวะ และช่วยป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี และในไต
  10. ชาเขียว ช่วยในการป้องกันโรคข้ออักเสบรูมาติก ซึ่งเป็นโรคที่มีอาการอักเสบบวมแดง ส่งผลทำให้ปวดเมื่อตามกล้ามเนื้อ และข้อต่อ
  11. ชาเขียว ใช้เป็นยาพอกเพื่อรักษาแผลอักเสบ แผลพุพอง ฝีหนอง ไฟไหม้ รวมทั้งช่วยบรรเทาอาการผดผื่นคัน แมลงสัตว์กัดต่อย ใช้เป็นยากันยุง รวมทั้งแก้ผิวร้อนแห้งได้เป็นอย่างดี
  12. ชาเขียว ช่วยแก้อาการเมาเหล้า อีกทั้งยังทำให้สร่างเมาได้เป็นอย่างดี
  13. ชาเขียว ช่วยในการทำให้เกิดการผ่อนคลายอารมณ์ ช่วยระบายความร้อนที่เกิดกับศีรษะ และเบ้าตา จึงทำให้ตาสว่าง ไม่ง่วงนอน แถมยังช่วยทำให้หายใจสดชื่นขึ้นอีกด้วย

คนท้องดื่มชาเขียวได้ไหม?

ข้อเสีย ของการดื่มชาเขียว

  1. ในชาเขียว มีคาเฟอีน ที่เป็นสารกระตุ้น ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น เช่นเดียวกับในกาแฟ และโกโก้
  2. ชาเขียว ไม่เหมาะคนที่เป็นโรคหัวใจ เพราะคาเฟอีน สามารถทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
  3. ชาเขียว ไม่เหมาะกับคนที่เป็นเบาหวาน เพราะคาเฟอีน อาจจะส่งผลรบกวนการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  4. การดื่มชาเขียวอาจจะทำให้ภาวะวิตกกังวลมีอาการแย่ลงได้
  5. การรับประทานชาเขียวมากเกินไปในขณะให้นมบุตร อาจจะทำให้คาเฟอีนในชาเขียว ส่งผ่านไปยังเด็กผ่านทางน้ำนม ซึ่งถ้าเด็กได้รับปริมาณมาก อาจจะเกิดอันตรายจากคาเฟอีนได้ โดยมีคำแนะนำว่าไม่ควรดื่มเกินวันละ 2 ถ้วย
  6. สำหรับคนท้อง การทานชาเขียวอาจเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งลูก ดังนั้น ในระหว่างตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงชาเขียว และเครื่องดื่มที่ให้คาเฟอีน เช่น กาแฟ และโกโก้
  7. เนื่องจากมีความเชื่อที่ว่าชาเขียวสามารถรักษา และยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ จึงทำให้ความนิยมของการดื่มชาเขียวในคนที่เป็นมะเร็งจึงเพิ่มมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน สารโพลีฟีนอล ซึ่งพบได้มากในชาเขียว สามารถเกิดอันตรกิริยากับ ยารักษามะเร็ง หรือยาตีกันได้ โดยเฉพาะกับยา bortezomib นอกจากนี้ วิตามินเค ที่พบมากในชาเขียว สามารถทำให้ฤทธิ์ละลายลิ่มเลือดของยาวาร์ฟาริน ลดลง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะในหลอดเลือดสมองและหัวใจ ดังนั้น ก่อนการทานชาเขียวและสมุนไพรอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
  8. สารแทนนิน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดรสขมในชาเขียว สามารถยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กในอาหารได้ จึงเพิ่มความเสี่ยงของภาวะขาดเหล็ก ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคโลหิตจาง
  9. การรับประทานชาเขียวในปริมาณที่มาก อาจส่งผลทำให้มีการขับแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะมากขึ้น ซึ่งอาจจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุน และอาจทำให้เกิดภาวะบาดเจ็บที่กระดูกได้ง่ายขึ้น
  10. การดื่มชาเขียวในขณะท้องว่าง ไม่ถูกต้อง เพราะจากการทดลองในหนูทดลอง ที่ให้หนูดื่มชาเขียวในขณะท้องว่าง พบว่าเกิดพิษต่อตับ ไต และระบบทางเดินอาหาร แต่สำหรับผลในมนุษย์นั้นยังไม่มีการทดลอง
  11. สารคาเทชิน ซึ่งเป็นสารในกลุ่มโพลีฟีนอล มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ พบว่าสารตัวนี้จะมีพิษต่อไมโทคอนเดรีย ซึ่งเป็นส่วนที่สร้างพลังงานให้กับเซลล์ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติต่อตับ ได้แก่ ตัวเหลืองตาเหลือง ตับอักเสบ รวมถึงตับวาย นอกจากนี้สารคาเทชินยังส่งผลทำให้กลูตาไธโอน ซึ่งเป็นสารที่คอยกำจัดสารพิษในตับลดลง
  12. มีรายงานว่า การให้หนูทดลองกินชาเขียวในปริมาณสูง จะส่งผลทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายลดลง ซึ่งอาจจะเกิดจากการทำงานของอัณฑะผิดปกติ ดังนั้น ชาเขียวอาจจะทำให้เกิดความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ได้

 

ทราบถึงประโยชน์ และโทษของการดื่มชาเขียวกันไปแล้ว แต่บอกเลยว่าไม่ต้องวิตกกังวลจนเกินไปค่ะ เพราะไม่ว่าการรับประทานสิ่งใดนั้น มีทั้งประโยชน์ และโทษทั้งสิ้น ดังนั้น ควรรับประทานแต่พอดี และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อื่นๆควบคู่ไปด้วย รวมถึงรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และออกกำลังกาย เท่านี้ก็จะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงได้ค่ะ 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก www.akerufeed.com  / www.honestdocs.com  /www.kapook.com

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ 

เผยเทคนิคดี! “กินตามกรุ๊ปเลือด” ช่วยลดน้ำหนักได้ชัวร์

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในสตรีมีครรภ์ เรื่องที่คุณแม่ท้อง ต้องระวัง

อัพเดท แพคเกจคลอด 2561 โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up