โรคไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง "ฮาชิโมโตะ" ภัยเงียบของแม่ตั้งครรภ์
โรคฮาชิโมโตะ ไทรอยด์ เสี่ยงแท้ง

โรคไทรอยด์อักเสบเรื้อรังฮาชิโมโตะ ภัยเงียบเพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก

Alternative Textaccount_circle
event
โรคฮาชิโมโตะ ไทรอยด์ เสี่ยงแท้ง
โรคฮาชิโมโตะ ไทรอยด์ เสี่ยงแท้ง

ดังนั้น สมาคมไทรอยด์แห่งสหรัฐอเมริกาจึงกำหนดแนวทางสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไว้ว่า ผู้หญิงที่เป็นโรคไทรอยด์อักเสบเรื้อรังฮาชิโมโตะ ซึ่งไม่ได้รับการรักษาใดๆ จะต้องตรวจเช็กว่าพร่องฮอร์โมนไทรอยด์หรือไม่ในช่วงตั้งครรภ์ ควรวัดระดับฮอร์โมน TSH ทุกๆ 4 สัปดาห์ระหว่างครึ่งแรกของการตั้งครรภ์ และอย่างน้อยหนึ่งครั้งระหว่างช่วงอายุครรภ์ 26-32 สัปดาห์ หากพบว่าระดับฮอร์โมน TSH สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานในหญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับการรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทน (เกณฑ์มาตรฐานของระดับฮอร์โมน TSH ในหญิงตั้งครรภ์ ในไตรมาส 1 คือ 0.1-2.5 mIU/L ไตรมาส 2 คือ 0.2-3.0 mIU/L และไตรมาส 3 คือ 0.3-3.0 mIU/L)

ฮาชิโมโตะ ไทรอยด์ เสี่ยงแท้ง

นอกจากนี้ นพ.เดวิด คลาร์ก ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาให้ความเห็นไว้ดังนี้

  1. ในฐานะแม่ หากคุณตรวจพบว่ามี TPO แอนติบอดี ก็หมายความว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งทำให้มีโอกาสแท้งและคลอดก่อนกำหนด
  2. หากคุณมี TPO แอนติบอดี หมายความว่าระบบภูมิคุ้มกันของคุณผิดปกติ และระบบดังกล่าวกำลังโจมตีเนื้อเยื่อหนึ่งๆ ของตัวคุณเองอยู่ และมันก็สามารถจะไปโจมตีอย่างอื่นได้ง่ายเช่นกัน อย่างเช่นทารกในครรภ์ที่กำลังเติบโต

หากคุณแม่ท้องไม่มั่นใจว่าต่อมไทรอยด์ของตนเองมีความผิดปกติหรือไม่ หรือเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์หรือเคยเป็นมาก่อน อย่าลังเลที่จะขอตรวจเพิ่มเติม เพื่อความปลอดภัยของลูกในครรภ์ค่ะ

 

ที่มา : hypothyroidmom.com, www.med.nu.ac.th

ภาพ : Shutterstock

banner300x250-1

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up