-
ไตรมาสที่สอง
อาการปวดจากภาวะที่เอ็นยึดมดลูกยืดตัวเร็วเกินไป จนทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทันเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการปวดท้องข้างใดข้างหนึ่งในช่วงไตรมาสที่สอง เส้นเอ็นยึดมดลูกซึ่งทำหน้าที่รองรับมดลูกจะยืดออกในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อรองรับทารกที่กำลังเติบโตของคุณ เมื่อเกิดกรณีนี้ คนท้องอาจรู้สึกถึงอาการปวดเฉียบพลันที่รู้สึกได้ที่หน้าท้องหรือบริเวณสะโพกทั้งสองข้าง การเคลื่อนไหวกะทันหันที่ทำให้เอ็นเหล่านี้หดตัวเร็วอาจทำให้เกิดอาการปวดได้ โดยเฉพาะเมื่อลุกขึ้นจากเตียง ระวห่างอาบน้ำ หรือการไอ อย่างไรก็ตามจะรู้สึกปวดไม่นาน และโดยทั่วไปอาการเหล่านี้จะดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่สาม
-
ไตรมาสที่สาม
อาการปวดอุ้งเชิงกราน (PGP) ซึ่งบางครั้งเรียกว่าอาการผิดปกติของหัวหน่าว (SPD) สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์ แต่จะพบได้บ่อยในการตั้งครรภ์ช่วงปลายโดยเฉพาะไตรมาสที่สาม ความเจ็บปวดอาจเกิดขึ้นที่กระดูกหัวหน่าว ที่ระดับสะโพกโดยประมาณที่ข้างใดข้างหนึ่งของหลังส่วนล่าง หรือในฝีเย็บ ซึ่งเป็นพื้นที่ระหว่างช่องคลอดและทวารหนักของคุณ และอาจลามไปถึงต้นขาได้เช่นกัน คุณอาจมีความรู้สึกเจ็บจี๊ดๆ บริเวณหัวหน่าวของคุณ อย่างไรก็ตาม อาการปวดอุ้งเชิงกรานไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อยของคุณ แต่อาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจได้
ในช่วงไตรมาสที่สาม หากคุณมีอาการใด ๆ ต่อไปนี้ร่วมกับอาการปวดด้านซ้าย ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของครรภ์
- มีไข้หรือหนาวสั่น
- มีเลือดออกทางช่องคลอด
- รู้สึกจะเป็นลมหรือมึนหัว
- ปัญหาในการเคลื่อนย้ายไปมา
- ของเหลวไหลออกจากช่องคลอด
- ทารกเคลื่อนไหวน้อยลง
- คลื่นไส้หรืออาเจียน
- ท้องเสียซ้ำๆ
- ปัสสาวะลำบากหรือ ปวดหรือแสบร้อนเมื่อปัสสาวะ
- ตกขาวผิดปกติ
- ปวดหลังส่วนล่าง
- อาการปวดจะรุนแรงหรือไม่หายไปหลังจากพักผ่อนเป็นเวลา 30 ถึง 60 นาที
การวินิจฉัยอาการเจ็บท้องข้างซ้ายระหว่างตั้งครรภ์
แพทย์ของคุณจะซักประวัติ และสอบถามอาการของคุณ และทำการตรวจร่างกาย หากจำเป็นแพทย์ของอาจทำอัลตราซาวนด์หรือการถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดด้านซ้าย หรืออาจมีการตรวจเลือดหรือปัสสาวะเพิ่มเติมเพื่อตรวจปัญหาอื่นๆ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTIs)
การป้องกัน และรักษาอาการเจ็บท้องข้างซ้ายระหว่างตั้งครรภ์
การรักษาอาการปวดด้านซ้ายจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ อาจรวมถึงการรักษาที่บ้าน การใช้ยา หรือการบำบัดร่วมกัน สำหรับอาการปวดข้างซ้ายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงการตั้งครรภ์ตามปกติ วิธีต่อไปนี้อาจช่วยป้องกัน หรือบรรเทาอาการได้
- ไม่ยกของหนัก
- ใช้หมอนรองครรภ์แบบ U-Shape เวลานอน
- เคลื่อนไหวให้ช้าลงแต่บ่อยขึ้น
- ใช้วิธีประคบร้อนที่ท้อง (ครั้งละไม่เกิน 10 นาที)
- ออกกำลังกายแบบคีเกล (Kegel) เพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
- ใช้เข็มขัดสำหรับพยุงครรภ์
หากอาการปวดท้องด้านซ้ายของคุณเกิดจากอาการปวดเอ็นยึดมดลูก ให้ลองใช้ตัวเลือกเหล่านี้ เพื่อบรรเทาอาการ
- ควรพักผ่อนให้เต็มที่
- ย้ายและเปลี่ยนตำแหน่งอย่างช้าๆ
- ถ้ารู้ว่าต้องไอหรือจาม ให้งอสะโพกเล็กน้อย
- สำหรับอาการปวดเรื้อรัง แพทย์อาจแนะนำให้ทำการยืดกล้ามเนื้อ
หากอาการปวดท้องด้านซ้ายเกิดจากบริเวณอุ้งเชิงกราน (PGP) ให้ลองใช้ตัวเลือกเหล่านี้ เพื่อบรรเทาอาการ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรง หรือยกของหนัก
- ใช้แผ่นประคบร้อน หรือประคบเย็นในบริเวณที่เจ็บปวด (ไม่ควรใช้แผ่นประคบร้อนเกินครั้งละ 10 นาที)
- สวมเข็มขัดพยุงอุ้งเชิงกราน
- ออกกำลังกายแบบคีเกล (Kegel) เพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
- ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาแก้ปวดหากมีอาการปวดรุนแรง
- ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการทำกายภาพบำบัดสำหรับคนท้อง
หากอาการปวดท้องด้านซ้ายเกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และการติดเชื้อที่ไต นั้นอาจมีอาการคล้ายคลึงกัน ซึ่งกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่การติดเชื้อที่ไตได้ หากแพทย์ของคุณสงสัยว่ามีอาการใดอาการหนึ่งเหล่านี้ แพทย์อาจลองใช้วิธีรักษาด้วยการ สั่งยาปฏิชีวนะ รักษาเชิงป้องกันด้วยยาปฏิชีวนะสำหรับ UTIs ที่เกิดซ้ำ หรืออาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ (IV) หากเกิดการติดเชื้อในไต
นอกจากนี้ อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ว่าอาการท้องผูก อาจทำให้เกิดอาการเจ็บท้องข้างซ้ายในระหว่างการตั้งครรภ์ได้ ซึ่งอาการท้องผูกเป็นเรื่องปกติในสตรีมีครรภ์ เนื่อจากฮอร์โมนที่แปรปรวน และการรับประทานอาหารที่ใยอาหารน้อย บวกกับการไม่ได้ออกกำลังกาย การกินยาเสริมธาตุเหล็กบำรุงเลือด หรือความวิตกกังวลทั่วไป ล้วนนำไปสู่อาการท้องผูกได้
อาการท้องผูกอาจทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงได้ในบางครั้ง ซึ่งแนวทางในการลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการท้องผูก คือ ให้คุณลองเพิ่มปริมาณเส้นใยในอาหารของคุณ และการเพิ่มของเหลวอาจช่วยได้เช่นกัน สตรีมีครรภ์ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 ถึง 10 แก้ว พูดคุยกับแพทย์ของคุณก่อนที่จะใช้ยาระบาย ไม่แนะนำให้ใช้ยาถ่ายอุจจาระบางชนิดในระหว่างตั้งครรภ์
สุดท้ายนี้จะเห็นได้ว่าอาการปวดท้องข้างซ้ายในระหว่างตั้งครรภ์นั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุและแตกต่างกันไปในแต่ละไตรมาส ซึ่งหลังจากการคลอดแล้วคุณแม่อาจต้องพบเจออาการผิดปกติได้อีกหลายอย่าง เช่น อาการปวดหลัง ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการที่ต้องแบกน้ำหนักตอนตั้งครรภ์เนื่องจากกล้ามเนื้อส่วนหลังรับบทหนักเป็นเวลานาน ซึ่งต้องให้เวลาร่างกายในการฟื้นตัว
นอกจากนี้อาการปวดหลังยังเกิดได้จากการต้องอุ้มลูกบ่อยๆ ตลอดจนท่าให้นมลูกที่ไม่เหมาะสมก็สามารถทำให้คุณแม่มีอาการปวดหลังได้ ดังนั้นการใส่ใจกับอาการผิดปกติต่างๆ ของสุขภาพและร่างกายจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เมื่อลูกน้อยเติบโตขึ้นคุณแม่ก็ควรปลูกฝังเขาเช่นกันในเรื่องการใส่ใจต่อการมีสุขภาพที่ดี เพื่อให้เด็กๆ เกิดทักษะความฉลาดที่รอบด้านด้วย Power BQ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับเด็กๆ ในศตวรรษที่ 21 นอกจากที่พวกเขาจะห่างไกลจากอาการเจ็บป่วยด้วยแนวทางในการใช้ชีวิตที่เหมาะสมแล้วยังจะช่วยให้เด็กๆ เกิด ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี (HQ) ซึ่งจะช่วยให้เด็กๆ มีภูมิต้านทานโรคที่ดี และไม่เจ็บป่วยบ่อยได้อีกด้วยค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.medicinenet.com , https://www.healthline.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่