รกต่ำ อันตราย!! ลูกน้อย "เสี่ยง" เสียชีวิต - amarinbabyandkids
รกต่ำ

รกต่ำ อันตราย!!

Alternative Textaccount_circle
event
รกต่ำ
รกต่ำ

ภาวะรกเกาะต่ำคืออะไร?

โดยทั่วไปของคุณแม่ตั้งครรภ์ รกจะเกาะตรงส่วนบนของมดลูก ถ้ารกมาเกาะส่วนล่างของมดลูก จะเรียกว่าภาวะรกต่ำ เป็นภาวะที่ไม่ปกติ กลไกนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร อาจเป็นเพราะว่าส่วนบนของมดลูกเกิดความไม่เหมาะสม รกเลยหาส่วนอื่นที่สมบูรณ์กว่า แบ่งเป็น 4 ชนิดตามความรุนแรง

1.ชายรกใกล้ปากมดลูกมากกว่า 2 ซม.

2.รกอยู่ขอบปากมดลูกด้านใน

3.รกคลุมปากมดลูกบางส่วน

4.รกคลุมปากมดลูกด้านในทั้งหมด

รกต่ำ
ภาวะรกเกาะต่ำ

เมื่อมีภาวะรกต่ำ รกจากผนังมดลูกจะเกิดการลอกตัวก่อนกำหนด หลอดเลือดบริเวณรกฉีกขาด จึงทำให้เลือดออก เห็นได้จากมีเลือดออกมาทางช่องคลอด โดยที่ไม่มีอาการเจ็บครรภ์ ส่วนมากเกิดในช่วง 7-8 เดือน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้รกต่ำ

1.ตั้งครรภ์หลายครั้ง

2.คุณแม่อายุมาก ตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป

3.เคยขูดมดลูก

4.เคยผ่าตัดคลอดลูกมาก่อน ยิ่งผ่าตัดหลายครั้งยิ่งเสี่ยงมากขึ้น

5.เคยผ่าตัดบริเวณมดลูก เช่น เนื้องอกมดลูก

6.มดลูกรูปร่างผิดปกติ

7.ตั้งครรภ์แฝด

8.ลูกน้อยในครรภ์มีภาวะซีด ร่างกายคุณแม่จึงพยายามเพิ่มออกซิเจนให้ลูก ทำให้รกเพิ่มขนาดใหญ่ขึ้น

9.ลูกน้อยในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าขวาง

10.มีการติดเชื้อในครรภ์ เช่น ซิฟิลิส

11.คุณแม่สูบบุหรี่

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “ภาวะรกเกาะต่ำอันตรายอย่างไร?” คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up