กัญชากับคนท้อง และแม่ให้นม อันตรายต่อเด็กหรือไม่? - Amarin Baby & Kids
กัญชากับคนท้อง

กัญชากับคนท้อง กัญชากับแม่ให้นม อันตรายต่อเด็กหรือไม่?

Alternative Textaccount_circle
event
กัญชากับคนท้อง
กัญชากับคนท้อง

กัญชากับคนท้อง –  เมื่อกัญชาได้รับการปลดออกจากรายชื่อในบัญชียาเสพติดให้โทษประเภท 5  และสามารถจัดหาได้ง่าย ส่งผลให้มีการซื้อ-ขายกัญชาอย่างแพร่หลายขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้กัญชาจะมีประโยชน์ต่อการใช้ในทางการแพทย์ ตามเจตนารมย์ในการออกกฎหมาย แต่ในกรณีของคนท้องและแม่ให้นม หากได้รับสารต่างๆ ในกัญชา อาจส่งผลเสียต่อลูกน้อยในครรภ์และการเจริญเติบโตของเด็กที่กำลังกินนมแม่ได้ ดังนั้นวันนี้เรามาติดตามในประเด็นกัญชากับคนท้องและแม่ให้นมกันค่ะ

กัญชากับคนท้อง กัญชากับแม่ให้นม อันตรายต่อเด็กหรือไม่?

ผลิตภัณฑ์กัญชากำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นทุกวัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการออกกฎหมายสำหรับการใช้ส่วนตัวและทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคุณจะใช้งานส่วนตัวหรือทางการแพทย์ไม่ว่ากัญชาในปริมาณเท่าใดก็ไม่ปลอดภัยที่จะใช้ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมลูก นอกจากนี้ยังไม่มีวิธีที่ปลอดภัยในการใช้กัญชาหากคุณกำลังคิดที่จะใช้กัญชาเพื่อช่วยแก้อาการแพ้ท้อง ดังนั้นให้พูดคุยกับผู้ให้บริการของคุณเกี่ยวกับการรักษาอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อยของคุณ

ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ไม่แนะนำให้ใช้กัญชารวมทั้งอาหารที่มีส่วนผสมของสารกัญชาในขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร  เนื่องจากในกัญชา มีสารออกฤทธิ์มากกว่า 400 ชนิด ซึ่งสารเคมีออกฤทธิ์หลัก ได้แก่  delta-9-tetrahydrocannabinal (THC) และ cannabidiol (CBD) ทั้ง THC และ CBD สามารถซึมเข้าสู่รกระหว่างการตั้งครรภ์ ส่วนผสมในกัญชาที่ทำให้รู้สึกเคลิบเคลิ้ม  คือ  THC สามารถส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อทารกในครรภ์ได้ ซึ่งทารกจะได้รับสารต่างๆ จากการซึมผ่านรก ซึ่งเป็นอวัยวะที่หล่อเลี้ยงทารกด้วยออกซิเจนและสารอาหาร ยังไม่ชัดเจนว่าต้องใช้ THC มากเพียงใดในการสร้างความเสียหายต่อสมองที่กำลังพัฒนาของทารก แต่กัญชาในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมี THC มากกว่าเมื่อหลายปีก่อน

ไม่ว่าจะใช้กัญชาอย่างไร (เช่น สูบ รับประทาน) การพัฒนาของทารกอาจได้รับผลกระทบจากกัญชาได้

กัญชากับคนท้อง และแม่ให้นม

กัญชาอาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยของคุณไม่ว่าคุณจะใช้มันอย่างไร นั่นเป็นเพราะว่าในกัญชามีสารเคมีมากกว่า 400 ชนิด และสามารถส่งผ่านรกไปยังทารกที่กำลังพัฒนาการเจริญเติบโตของคุณได้  ความเสี่ยงต่อสุขภาพของแม่ก็เช่นกัน การศึกษาหลายชิ้นทั้งในและต่างประเทศ แสดงให้เห็นว่าการกินหรือสูบกัญชาในขณะตั้งครรภ์อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของทารกและทำให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อปัญหาต่างๆ ได้แก่

  • ปัญหาการพัฒนาสมองก่อนคลอด
  • ภาวะตายคลอด
  • คลอดก่อนกำหนด
  • น้ำหนักแรกเกิดน้อย
  • โรคโลหิตจาง
  • เพิ่มโอกาสที่เด็กอาจพูดได้ช้า
  • เพิ่มความเสี่ยงของความผิดปกติของสุขภาพจิตต่างๆ
  • ปัญหาด้านพฤติกรรมและความสนใจ
การใช้กัญชาระหว่างตั้งครรภ์
การใช้กัญชาระหว่างตั้งครรภ์

แม้ว่าจะต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมอีกมากเกี่ยวกับผลกระทบของกัญชาต่อทารกในครรภ์  แต่ THC ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ในกัญชา อาจส่งผลกระทบต่อตัวรับในสมองที่มีอยู่ตั้งแต่อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของไตรมาสแรก มันสามารถข้ามรกและไปถึงทารกในครรภ์ที่กำลังพัฒนา ซึ่งทารกในครรภ์อาจได้รับ THC ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ที่แม่รับเข้าไป ไม่ว่าจะโดยการกินของที่กินหรือสูบไอ การศึกษาได้เชื่อมโยงการใช้กัญชาระหว่างตั้งครรภ์กับความบกพร่องทางระบบประสาทที่เป็นไปได้ ข้อมูลจากการศึกษาพบว่าโดยทั่วไปเด็กที่มารดาใช้กัญชาในระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อโตขึ้นจะมีอัตราความยากลำบากในการพูดและการรับรู้ที่สูงขึ้น คะแนนคณิตศาสตร์ และ คะแนนการสะกดคำที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ตลอดจนอัตราในการโฟกัสและการมีปัญหาด้านสมาธิที่สูงมากขึ้น นอกจากนี้ THC ยังเชื่อมโยงกับน้ำหนักแรกเกิดที่ลดลง (ตัวบ่งชี้สุขภาพที่สำคัญสำหรับทารกแรกเกิด) และกล้ามเนื้อและความตื่นตัวที่ลดลงในทารกแรกเกิด

นอกจากนี้ความเสี่ยงสำหรับสตรีมีครรภ์ที่เป็นผู้ใช้กัญชาในปริมาณมาก อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและคุณภาพในการตั้งครรภ์ ซึ่งการใช้กัญชาเพิ่มความเสี่ยงของ:

  • หกล้มเพราะเวียนหัว
  • ได้รับบาดเจ็บจากการตัดสินใจที่บกพร่อง
  • ร่างกายมีออกซิเจนน้อย อาจทำให้หายใจลำบาก
  • ปัญหาปอดในกรณีสูบกัญชา

นอกจากนี้ การได้รับกัญชาในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร อาจส่งผลเสียต่อการพัฒนาสมองตามปกติของทารก เนื่อง จากองค์ประกอบของกัญชาถูกเก็บไว้ในไขมันในร่างกายโดยเฉพาะในนมแม่และสามารถส่งต่อให้ลูกน้อยได้โดยตรงทางน้ำนมแม่  หากคุณให้นมลูกเด็กอาจได้รับสาร  THC และสารเคมีอื่นๆ ผ่านทางน้ำนม  อาจทำให้ลูกน้อยของคุณมีแนวโน้มที่จะมีปัญหากับการพัฒนาสมอง นอกจากนี้ กัญชาอาจส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของน้ำนมแม่ที่ร่างกายผลิต

อ่านต่อ…กัญชากับคนท้อง กัญชากับแม่ให้นม อันตรายต่อเด็กหรือไม่? ได้ที่หน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up