กรมควบคุมโรคเผย เด็กเล็กป่วย โรคหัด กว่า 860 ราย ชี้ติดต่อได้ง่ายผ่านไอ จาม พูดระยะใกล้ชิด เตือนขาดวิตามินเอส่งผลอาการรุนแรงมาก พ่วงมีปอดอักเสบอาจถึงขั้นตายได้ แนะวิธีป้องกัน
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2559 นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ทั้งนี้ จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 23 พฤศจิกายน 2559 พบผู้ป่วยโรคหัด 1,548 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต โดยพบผู้ป่วยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 ปี 869 ราย คิดเป็นร้อยละ 56.1 ของผู้ป่วยทั้งหมด
ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรกคือ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี ภูเก็ต และ กรุงเทพมหานคร ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคใต้
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันอัตราการเกิดโรคนี้จะไม่สูงมาก แต่ปัจจุบันยังคงพบการระบาดโรคหัดเป็นระยะ ซึ่งไม่ควรมองข้าม เพราะสามารถเป็นได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ถ้าลูกน้อย หรือคุณพ่อ คุณแม่ ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนก็อาจจะทำให้มีความเสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย คุณพ่อ คุณแม่ควรระวัง
โรคหัด เป็นไข้ออกผื่น เกิดจากเชื้อไวรัส Measles โดยติดต่อที่ระบบทางเดินหายใจ คือจมูก และลำคอ เมื่อเชื้อเข้าไปจะแบ่งตัวในทางเดินหายใจ ใช้เวลาประมาณ 7-14 วัน จึงเริ่มมีอาการแสดงให้เห็น โดยเริ่มจากมีไข้ต่ำๆ แล้วสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยจะสูงถึง 41-42 องศาเซลเซียส ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ตาแดง
ผู้ป่วยโรคหัดอาจมีโรคแทรกซ้อน ได้แก่ ปอดอักเสบ อุจจาระร่วง ช่องหูอักเสบ สมองอักเสบและภาวะทุพโภชนาการ โดยเฉพาะในเด็กที่มีภาวะขาดสารอาหาร หรือขาดวิตามินเอ เมื่อเป็นหัดจะมีความรุนแรงมาก และถ้ามีปอดอักเสบร่วมด้วย อาจทำให้เสียชีวิตได้
ผู้ที่เป็นโรคนี้แล้วมักไม่เป็นซ้ำอีก ยกเว้นเป็นเมื่ออายุน้อยกว่า 1 ปี เพราะร่างกายยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
โรคหัด โรคที่พ่อแม่ลูกต้องกลัว
ในประเทศไทยมีระบบสาธารณสุขอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เราอาจจะคุ้นเคยแต่โรคไข้ออกผื่นชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ร้ายแรง แต่ไม่คุ้นเคยกับโรคหัด แต่ไม่คุ้นเคยกับโรคหัด ทำให้ไม่ทราบถึงความน่ากลัวของโรคนี้ โดยหัดเป็นโรคที่สามารถก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ มีตั้งแต่อาการที่ไม่รุนแรง เช่น อาการท้องเสีย หูชั้นกลางอักเสบ ไปจนถึงอาการแทรกซ้อนรุนแรง ได้แก่ ปอดอักเสบ อาการชักที่สามารถเกิดได้ทั้งแบบมีไข้และไม่มีไข้ ไข้สมองอักเสบและเสียชีวิต
การเสียชีวิตจากโรคหัด ส่วนมากเกิดจากปอดอักเสบและอาการทางสมอง โดยมักพบในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ขวบ หรือผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 20 ปี มีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 2 คนต่อผู้ติดเชื้อ 1,000 คน