มะเร็งรังไข่ เป็นมะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้กับอวัยวะสืบพันธุ์ในผู้หญิง และที่น่าตกใจคือเป็นมะเร็งในผู้หญิงอันดับ 3 ที่พบว่าเกิดขึ้นได้บ่อย และก็เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สูงมากด้วยเช่นกัน ทีมงาน Amarin Baby & Kids จะพาคุณแม่ รวมถึงสาวๆ ทุกคนไปรู้จักกับมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ชนิดนี้กันค่ะ
มะเร็งรังไข่ สาเหตุ และปัจจัยที่เสี่ยง ?
เมื่อพูดถึงมะเร็งเชื่อว่าผู้หญิงทุกคนไม่อยากป่วยด้วยโรคร้ายนี้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะ มะเร็งรังไข่ ที่ถือเป็นหนึ่งใน โรคมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ที่กลัวกันมาก เพราะในปัจจุบันพบว่าอัตราการรอดชีวิต 5 ปี ของผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้เฉลี่ยแล้วเพียง ร้อยละ 25-30 สรุปง่ายๆ คือ หากคุณแม่หรือสาวๆ ที่เป็นมะเร็งในรังไข่ จะมีโอกาสการรอดชีวิตภายใน 5 ปี เพียง 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 ของจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ทั้งหมด เห็นไหมคะว่าน่ากลัวมากแค่ไหน!!
ส่วนสาเหตุ และปัจจัยที่ผู้หญิงเสี่ยงต่อการป่วยจากมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ชนิดนี้ มาได้จากหลายสาเหตุ นั่นคือ…
- คนในครอบครัวโดยเฉพาะมารดา พี่สาว/น้องสาว หรือลูกสาวมีประวัติสุขภาพเคยเป็นมะเร็งรังไข่
- ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 63 ปีขึ้นไป พบว่าป่วยเป็นมะเร็งรังไข่ได้มากถึงร้อยละ 50
- ผู้หญิงที่มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี
- ผู้หญิงที่ยังไม่เคยแต่งงานหรือไม่มีลูก
- ผู้หญิงที่คลอดบุตรคนแรกหลังจากอายุ 30 ปีแล้ว
- ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนช้ากว่าอายุ 55 ปี
- ผู้หญิงที่เคยมีประวัติสุขภาพเคยเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งลำไส้
- ผู้หญิงที่มีลูกแล้วไม่ได้ให้ลูกกินนมแม่ ซึ่งการให้นมลูกจะทำให้รังไข่หยุดทำงาน ส่งผลให้โอกาสป่วยมะเร็งรังไข่น้อยลง
บทความแนะนำ คลิก>> วิธีสังเกตลักษณะต้องสงสัย “มะเร็งไฝ”
และไม่ว่าคุณจะอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อาจป่วยเป็นมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์หรือไม่ก็ตาม การตรวจเช็กร่างกายอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างมาก เพราะถึงจะไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่ป่วยเป็นมะเร็ง อันนี้รวมถึงมะเร็งทุกชนิดในผู้หญิงเลยค่ะ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงควรต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลา ทานอาหารที่มีประโยชน์(บุหรี่ เหล้า ควรเลิกอย่างเด็ดขาด) ออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด เป็นต้น
อ่านต่อ เช็ก 11 สัญญาณเตือนอาจป่วยมะเร็งในรังไข่ หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่