ไบโพลาร์ – ช่วงหลังคลอดเป็นช่วงเวลาที่ผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเกิดความท้าทายด้านสุขภาพจิตมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณหรือสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคทางจิต รวมถึงโรคไบโพลาร์ นอกจากนี้สำหรับการตั้งครรภ์ท้องแรก คุณแม่หลายๆ คนอาจเกิดความวิตกกังวลได้ต่างๆ นาๆ จนอาจพัฒนากลายเป็นโรคทางจิตใจได้ ที่สำคัญผู้ที่ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์อยู่แล้วก่อนตั้งครรภ์ อาการต่างๆ อาจทรุดลงได้ทั้งระหว่างและหลังการตั้งครรภ์ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม
ทำความเข้าใจ ไบโพลาร์ โรคอารมณ์สองขั้วหลังคลอด ควรรับมืออย่างไร?
หากพูดถึงอารมณ์ที่แปรปรวนช่วงหลังคลอดคงเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับคนท้องทุกคน และเป็นเรื่องปกติมากหากคุณประสบกับความสุข ความเศร้า ความเหนื่อยล้า และความกังวลในช่วงของสัปดาห์หลังคลอด แต่ถ้าคุณมีความรู้สุกคุ้มดีคุ้มร้ายแที่ต่างกับแบบสุดขั้ว คุณอาจกำลังประสบกับโรคอารมณ์สองขั้ว ผู้หญิงมากถึงครึ่งหนึ่งที่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอด ในจำนวนนี้อาจตรวจพบโรคอารมณ์สองขั้วหลังคลอดด้วยเช่นกัน
การต้อนรับทารกแรกเกิดสู่โลกเป็นเรื่องปกติที่คุณจะได้สัมผัสกับอารมณ์ที่หลากหลาย แต่ถ้าดูเหมือนว่าอารมณ์ของคุณมีลักษณะแตกต่างเป็นสองขั้วอย่างรุนแรงคงไม่ใช่เรื่องปกติ
แน่นอนว่าโรคอารมณ์สองขั้วมาพร้อมกับความท้าทายเฉพาะตัว ซึ่งรวมถึงอารมณ์แปรปรวนอันเป็นผลมาจากความผันผวนของฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอาจส่งผลต่ออารมณ์ของคุณ บางวันคุณอาจรู้สึกมีความสุข แต่อีกวันคุณอาจรู้สึกหงุดหงิดและหดหู่ ที่สำคัญ อาการไบโพลาร์อาจเด่นชัดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ผู้หญิงอาจพบว่าการตั้งครรภ์สามารถเปลี่ยนแปลงอารมณ์ได้
ผู้ที่ต้องเผชิญกับโรคที่สภาวะทางอารมณ์แบ่งเป็นสองขั้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่สำคัญซึ่งสลับกันไปมา ระหว่างอารมณ์ดีมากแบบผิดปกติและอารมณ์ซึมเศร้าอย่างหนักหน่วง เมื่อเข้าสู่ช่วงหลังคลอด มีโอกาสเป็นไปได้ที่คุณอาจต้องเผชิญกับภาวะอารมณ์สองขั้ว ซึ่งเป็นภาวะสุขภาพจิตที่อาจเริ่มต้นขึ้นไม่นานหลังคลอด ได้แก่ อารมณ์ดีผิดปกติและภาวะซึมเศร้า ในบางกรณี สัญญาณแรกของโรคอารมณ์สองขั้วหลังคลอดอาจคล้ายกับโรคจิตหลังคลอด เป็นความเจ็บป่วยทางจิตที่พบได้น้อยแต่ร้ายแรง ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับอารมณ์แปรปรวนอย่างรวดเร็วจนสามารถเห็นภาพหลอน หรือมีความเชื่อแบบหลงผิดได้ งานวิจัยจากแหล่งที่เชื่อถือได้ในปี พ.ศ. 2561 ชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอารมณ์สองขั้วหลังคลอดอาจมีความเสี่ยงสูงต่อการต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (PPD) หรือโรคจิตหลังคลอด ในช่วงหลังคลอด
ไบโพลาร์ หลังคลอดสาเหตุเกิดจากอะไร?
ภาวะสุขภาพจิตหลังคลอดอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหลังคลอด ในผู้หญิงบางคนอาจมีอาการมากอาการน้อยแตกต่างกันได้ สำหรับโรคไบโพลาร์เคมีในสมองส่วนบุคคล ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสมองและองค์ประกอบทางพันธุกรรมอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรค
หากคุณมีประวัติภาวะซึมเศร้าหลังคลอดหรือโรคจิตเภทหลังคลอด ตลอดจนมีประวัติส่วนตัวหรือประวัติครอบครัวเป็นโรคไบโพลาร์ คุณอาจมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาอาการของโรคไบโพลาร์ในช่วงหลังคลอดได้มากขึ้น ซึ่งทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมนั้นมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโรคสองขั้วหลังคลอด
ปัจจัยที่ใหญ่ที่สุดที่อาจส่งผลต่อการพัฒนาของไบโพลาร์หลังคลอด ได้แก่
- มีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคอารมณ์สองขั้ว
- ประวัติเคยเป็นโรคไบโพลาร์
- ประวัติภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
- ประวัติโรคจิตหลังคลอด
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอารมณ์สองขั้วหลังคลอด ได้แก่
- การไม่ได้รับการสนับสนุนที่ดี
- การว่างงานหรือความยากจน
- การมีลูกเมื่อยังไม่พร้อม
ความผิดปกติอื่นๆ หลังคลอดที่มีผลต่อการเกิดโรคอารมณ์สองขั้ว อาจรวมถึง
- การอดนอน
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่สำคัญ (เช่น ระหว่างตั้งครรภ์หรือคลอดบุตร)
- ประสบการณ์การคลอดที่เจ็บปวด
สัญญาณและอาการของโรค ไบโพลาร์ หลังคลอด
เช่นเดียวกับโรคไบโพลาร์ โรคไบโพลาร์หลังคลอดมีลักษณะเฉพาะด้วยความผันผวนของอารมณ์ที่เรียกได้ว่าคุ้มดีคุ้มร้ายแบบสุดขั้ว ความแตกต่างหลักคือการเริ่มมีอาการในวันหรือสัปดาห์หลังการคลอดบุตร โดยอาการจะเริ่มเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในศูนย์ถึงสองเดือน ซึ่งหากเปรียบเทียบกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดโดยทั่วไปจะมีระยะเวลาที่เริ่มมีอาการนานกว่าตั้งแต่ศูนย์ถึงห้าเดือนหลังคลอด
อารมณ์สุดขั้วที่เกิดขึ้นหลังคลอดสามารถแสดงออกเป็นความคุ้มคลั่งหรือภาวะ Hypomania ความคุ้มคลั่งเป็นอาการที่รุนแรงมากที่ทำให้เกิดความบกพร่องในการใช้ชีวิต คุณอาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน หรือสำหรับอารมณ์ที่ยกระดับขึ้นเพื่อพิจารณาความคุ้มคลั่งนั้นจะต้องคงอยู่อย่างน้อยเจ็ดวันติดต่อกันและมีอยู่เกือบทั้งวัน
สำหรับผู้ป่วยไบโพลาร์หลังคลอด จะมีช่วงที่รู้สึกซึมเศร้า (depressive episode) สลับกับช่วงที่อารณ์ดี หรือคึกคักมากกว่าปกติ โรคไบโพลาร์หลังคลอดอาจเริ่มต้นด้วยภาวะซึมเศร้าหรือความคลุ้มคลั่งที่เรียกว่าภาวะ Hypomania ซึ่ง Mania และ Hypomania เป็นอารมณ์ “คุ้มร้าย” ของโรคอารมณ์สองขั้ว ซึ่งอาการ Mania มีอาการรุนแรงกว่า ซึ่งส่งผลให้มีความบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจทำให้เกิด อาการทางจิต เช่น ภาพหลอนและอาการหลงผิด สามารถเกิดขึ้นได้ในภาวะคลุ้มคลั่งและภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง
อาการของ Mania หรือ Hypomania อาจรวมถึง:
- คุ้มคลั่ง
- ความรู้สึกว่าตัวเองยิ่งใหญ่
- มีความคิดที่อยากจะแข่งขัน
- ฟุ้งซ่านง่าย/ขาดสมาธิ
- พูดมาก พูดในแง่ลบ
- ความต้องการนอนลดลง
- อารมณ์หุนหันพลันแล่น
- หงุดหงิดง่าย
การวิจัยจาก Trusted Source ชี้ให้เห็นว่าโรคไบโพลาร์ส่วนใหญ่ระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอดนั้นมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับอาการของโรคซึมเศร้า
โดยอาการซึมเศร้าในโรคไบโพลาร์หลังคลอด ได้แก่
- อารมณ์หดหู่ ไม่ยินดียินร้าย
- เหนื่อยล้าไม่ค่อยมีแรง
- วิตกกังวล
- รู้สึกว่างเปล่าหรือสิ้นหวัง
- รู้สึกตัดขาดจากทารก
- รู้สึกไม่สามารถดูแลลูกได้อย่างเหมาะสม
- รู้สึกผิดกับการเป็น “พ่อแม่ที่ไม่ดี”
- โกรธหรือหงุดหงิดง่าย
- ร้องไห้หนัก
- นอนไม่หลับ
- ความอยากอาหารเปลี่ยนไป
- สูญเสียความสนใจในงานอดิเรกหรือกิจกรรมต่างๆ
- รู้สึกกลัวการพลัดพรากจากคนที่รัก
- การเกิดอาการแพนิค
- กังวลว่าตัวเองจะทำร้ายลูก
- ความรู้สึกหนักที่แขนและขา
อ่านต่อ…ทำความเข้าใจ ไบโพลาร์ โรคอารมณ์สองขั้วหลังคลอด อาการกำเริบควรรับมืออย่างไร? คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่