คลอดลูก ในมุมมองหมอสูติฯ แบบไหนดีกว่ากัน คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด?
คลอดลูก

หมอสูติฯตอบ! คลอดลูก “แบบผ่ากับคลอดเอง” อะไรดีกว่ากัน?

Alternative Textaccount_circle
event
คลอดลูก
คลอดลูก

ส่วนหมอเปรมใจ (ชื่อสมมุติ) เรียนจบเป็นหมอสูติแล้วจึงแต่งงาน เธอมาทำงานโรงพยาบาลในต่างจังหวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีหมอสูติแค่ 2 คน นอกจากต้องทำงานในเวลาราชการแล้ว กลางคืนต้องอยู่เวรวันเว้นวัน

หมอเปรมใจแต่งงานนาน 1 ปีจึงท้อง เพราะมีความรู้ ท้องแรก เธอสังเกตว่าตนเองไม่แพ้ท้องเลย ซึ่งแสดงว่าฮอร์โมนของการตั้งครรภ์น่าจะต่ำ  ผลการตรวจอัลตร้าซาวนด์ ตอนท้อง6 สัปดาห์ พบว่าเธอตั้งครรภ์ไข่ลม มีแต่ถุงการตั้งครรภ์ไม่มีเด็ก ซึ่งตามธรรมชาติต้องแท้ง เธอใจเย็นมาก ไม่โวยวาย ไม่เสียใจ หลังจากที่รู้ว่าท้องไข่ลม ต้องแท้งแน่ๆ เธอรอให้แท้งเอง นานถึง 1 เดือนเศษ ก็แท้งเองครบ ไม่ต้องขูดมดลูก เธอเป็นตัวอย่างให้หมอสูติคนอื่นๆเห็นว่าการรอให้แท้งเองในตั้งครรภ์ไข่ลม ไม่มีอันตรายใดๆ หลังจากนั้นหมอเปรมใจปล่อยให้ท้องอีก ท้องที่สอง ท้องได้ 8 สัปดาห์ ทารกตายในครรภ์ หมอเปรมใจยังคงใจเย็น รอนาน 1 เดือน ก็แท้งเองตามธรรมชาติ แท้งครบไม่ต้องขูดมดลูก เธอไปตรวจหาสาเหตุการแท้ง พบว่าตนเองมีกลุ่มอาการภูมิต้านทานผิดปกติ (Antiphospholipid syndrome) จึงรับประทานยาต้านเกล็ดเลือด ต่อมาจึงท้องที่ 3

คลอดลูก

เมื่อตั้งครรภ์ ขณะที่หมอสูติแนะนำให้คนไข้พักผ่อนตอนกลางวันอย่างน้อยครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง หมอเปรมใจไม่เคยได้พักผ่อน เมื่อท้องโตขึ้น เวลาเข้าห้องผ่าตัด ผ่าตัดคนไข้ เธอยืนข้างเตียงผ่าตัด เอาท้องวางไว้กับเตียงผ่าตัด หมอสูติผู้หญิงไม่ได้รับการยกเว้นอยู่เวร ไม่ว่าจะท้องแก่แค่ไหน ก็อยู่เวรทั้งคืน จนกว่าจะคลอด ในช่วงท้องแก่เป็นเรื่องลำบากมาก  หลายครั้งที่ต้องตื่นไปดูคนไข้คลอด หรือผ่าตัดคนไข้ เกิดอาการหน้ามืดเป็นลม ต้องนอนพักในห้องผ่าตัดนั่นเอง จนกว่ามีแรงจึงจะกลับบ้าน

ตอนหมอเปรมใจท้อง คุณแม่คุณพ่อของหมอเปรมใจซึ่งมีลูกสาวคนเดียว ห่วงหมอเปรมใจมาก ท่านทั้งสองซึ่งเกษียณอายุแล้ว เดินทางมาจากต่างจังหวัด มาอยู่หอพักด้วย มาช่วยดูแล ครั้งหนึ่งเห็นลูกสาวอยู่เวร โดนตามไปผ่าตัดแล้วไม่กลับหอพัก ก็โทรศัพท์ตามที่ห้องคลอด ห้องผ่าตัด พยาบาลบอกกลับหอพักแล้ว ท่านทั้งสองตกใจมาก รีบออกจากหอพักจะไปตามลูก จึงพบว่าหมอเปรมใจนั่งเอนอยู่ที่ตีนบันได เธอกลับมาจากการผ่าตัดคนไข้คลอดแต่เหนื่อยมาก เดินขึ้นบันไดไม่ได้ เลยนั่งรอที่ตีนบันได ในช่วงนั้นเธอท้องแก่มากแล้ว

คลอดลูก

เมื่อตั้งครรภ์ครบคลอด คืนหนึ่งหมอเปรมใจ ถูกตามมาดูคนไข้คลอดยาก เธอใช้คีมช่วยคลอดลูกของคนไข้ ขณะดึงคีม หมอเปรมใจล้ม ก้นจ้ำเบ้า เธอรู้สึกเจ็บครรภ์คลอด ทำคลอดเสร็จ เย็บแผลให้คนไข้ เธอนอนรอในห้องคลอด ร้องครางด้วยความปวดเหมือนคนไข้ทั่วไป คลอดลูกเองตามธรรมชาติ ในวันเดียวกับทำคลอดลูกให้คนไข้ หลังจากนั้นเธอมีลูกอีกสองคน คลอดเองตามธรรมชาติทุกคน

หากถามหมอเปรมใจ หมอซึ่งเป็นคนใจเย็น แข็งแรงอดทน คลอดง่าย ก็จะตอบว่าคลอดเองดี หายเร็ว เจ็บปวดก็พอทนได้ เพราะหมอเองก็เคยคลอดธรรมชาติมาก่อนถึงสามท้อง

สรุปแล้ว คลอดลูก ไม่ว่าจะเลือกวิธีคลอด แบบ คลอดธรรมชาติหรือผ่าตัดคลอด ก็ควรพิจารณาถึงความสะดวก สุขภาพร่างกายของคุณแม่ท้อง  ความตั้งใจของคุณแม่ (คุณแม่บางคนตั้งใจอยากคลอดเองมาก) รวมถึงการประเมินจากคุณหมอเจ้าของครรภ์ด้วย เพราะแม้คุณแม่ท้องหลายท่านจะอยากคลอดเอง แต่อาจมีหลายปัจจัยทำให้ต้องเลือกการผ่าตัดคลอด ดังเช่นคุณหมอสุมิตราในเรื่องนี้ค่ะ

เพราะไม่ว่าจะ ” คลอดลูก ” แบบไหน
ก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของชีวิตการเลี้ยงลูกอันแสนยาวไกล จริงไหมคะ 🙂

 

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :

 

ขอบคุณเรื่องจาก  : พญ.ชัญวลี ศรีสุโข
สูตินรีแพทย์ ระดับนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หัวหน้าแผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลพิจิตร

 

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up