แม่ท้องใช้กัญชา ห้ามเด็ดขาดทำลูกในท้องตายหรือผิดปกติ -Amarin Baby & Kids
แม่ท้องใช้กัญชา

แม่ท้องใช้กัญชา ห้ามเด็ดขาดทำลูกในท้องตายหรือผิดปกติ

Alternative Textaccount_circle
event
แม่ท้องใช้กัญชา
แม่ท้องใช้กัญชา

แม่ท้องใช้กัญชา ห้ามเด็ดขาดทำลูกในท้องตายหรือผิดปกติ

เนื่องจากการปลดล็อกเสรีกัญชาในประเทศไทย ส่งผลให้เกิดความห่วงใยในสุขภาพของคนไทย ที่อาจได้รับกัญชาเข้าไป โดยเฉพาะกับ แม่ท้องใช้กัญชา ไม่ว่าจะโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ เช่น ได้รับผ่านทางขนม อาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา เพราะกัญชาอาจทำให้ลูกในท้องตาย และ/หรือเกิดมาพบกับความผิดปกติในหลาย ๆ ด้านค่ะ

แม่ท้องใช้กัญชา ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์

รศ.นพ.สมชาย ธนวัฒนาเจริญ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย กล่าวว่า กัญชามีสารเคมีที่ชื่อว่า tetrahydrocannabinol (THC) ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและถึงขั้น “เคลิ้ม” นอกจากนี้ ยังมีสารเคมีอื่นที่มีผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

มีการศึกษาพบว่ากัญชาทำให้ระดับฮอร์โมน luteinizing hormone (H) จากต่อมใต้สมองลดลง ซึ่งทำให้ไม่เกิดการตกไข่ แต่กลับมาตกไข่ได้หลังจากผ่านไป 3-4 เดือน แต่ก็มีการศึกษาในหนูทดลอง พบว่าการได้รับกัญชามาก ๆ จะสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ซ้ำลงของไข่เข้าสู่มดลูก ซึ่งอาจส่งผลต่อ การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือ ความล้มเหลวในการฝังตัวของตัวอ่อนได้ และสารเคมีในกัญชา สามารถผ่านรกไปยังทารกในครรภ์ได้

แม่ท้องใช้กัญชา ทำลูกในท้องตายได้

  • การตายคลอด
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • ภาวะทารกน้ำหนักน้อย
  • บางรายงานพบว่า การใช้กัญชาร่วมกับการสูบบุหรี่ มีผลให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้
  • การพัฒนาสมองของทารกไม่สมบูรณ์ ทารกอาจมีปัญหาการเรียนรู้ และพฤติกรรมในอนาคต

การนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ จึงควรมีการควบคุม และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และไม่แนะนำให้ใช้กัญชาในสตรีตั้งครรภ์แม้จะเป็นแบบรักษาก็ตาม

แม่ท้องใช้กัญชา
แม่ท้องใช้กัญชา ห้ามเด็ดขาด ทำลูกในท้องตายหรือผิดปกติ

ขอบคุณภาพจาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

กัญชาทำทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อย

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้ให้ความรู้เรื่อง “กัญชากับหญิงมีครรภ์” ไว้ใน FB Thira Woratanarat โดยระบุว่า ข้อมูลทางการแพทย์นั้นชัดเจนมาก Marchand G และคณะ ได้ทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ เผยแพร่ใน JAMA Network Open เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2565 จากงานวิจัย 16 ชิ้น มีกลุ่มประชากรหญิงมีครรภ์ 59,138 คน พบว่า หญิงมีครรภ์ที่ใช้กัญชาจะมีความเสี่ยงที่ทารกแรกคลอดจะมีน้ำหนักน้อย (น้อยกว่า 2,500 กรัม) มากกว่าคนที่ไม่ได้ใช้กัญชาถึง 2.06 เท่า [ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 1.25 เท่าถึง 3.42 เท่า]

ความเสี่ยงอื่น ๆ ที่จะเกิดกับทารก

นอกจากนี้ ทารกที่เกิดกับแม่ท้องที่ใช้กัญชา จะมีความเสี่ยงดังนี้

  • มีความเสี่ยงที่จะมีทารกตัวเล็กกว่าปกติเมื่อเทียบอายุครรภ์ (small for gestational age) มากกว่าคนที่ไม่ได้ใช้กัญชาถึง 1.61 เท่า [ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 1.44-1.79 เท่า]
  • มีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด 1.28 เท่า [ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 1.16-1.42 เท่า]
  • มีความเสี่ยงที่ทารกแรกเกิดจะป่วยจนต้องรักษาในหอผู้ป่วยหนัก 1.38 เท่า [ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 1.18-1.62 เท่า]
  • ทารกที่เกิดจากแม่ที่ใช้กัญชานั้นจะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยน้อยกว่าแม่ที่ไม่ได้ใช้กัญชา 112.30 กรัม [ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 57.41-167.19 กรัม]

แม่ท้องใช้กัญชาทำลูกมีปัญหาจิตเวช

หมอธีระยังยกงานวิจัยเสริมเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ Roncero C และคณะ ยังได้มีการวิจัยทบทวนอย่างเป็นระบบ เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ทางนรีเวชวิทยา Reproductive Health ในปี 2020 ชี้ให้เห็นว่า ทารกที่เกิดจากแม่ที่ใช้กัญชานั้นจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะผิดปกติด้านพัฒนาการ รวมถึงปัญหาจิตเวช เช่น ซึมเศร้า และสมาธิสั้น (ADHD) อีกด้วย

หมอธีระห่วงแม่ท้องรับกัญชาผ่านอาหารและเครื่องดื่ม

หมอธีระกล่าวเสริมว่า หญิงมีครรภ์จึงต้องระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการใช้ หรือสัมผัสกับกัญชา รวมถึงหากออกไปใช้ชีวิตประจำวันนอกบ้าน เวลาจะไปรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มใด ๆ ควรตรวจสอบไถ่ถามให้ดีว่ามีส่วนประกอบของกัญชาหรือไม่
ยิ่งหากปลดล็อกการใช้กัญชา มีการทำแคมเปญสนับสนุนให้มีการใช้ในการประกอบอาหาร เครื่องดื่ม หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ถ้าไม่มีการควบคุมอย่างดีพอ ก็อาจเกิดผลกระทบต่อคนในสังคม ทั้งในเด็ก เยาวชน หญิงมีครรภ์ และอื่น ๆ รวมถึงผลกระทบด้านอื่น เช่น อาชญากรรม อุบัติเหตุ ที่อาจเกิดตามมาได้ดังที่เห็นจากบทเรียนต่างประเทศ
อ้างอิง
1. Marchand G et al. Birth Outcomes of Neonates Exposed to Marijuana in Utero: A Systematic Review and Meta-analysis. JAMA Network Open. 27 January 2022.
2. Roncero C et al. Cannabis use during pregnancy and its relationship with fetal developmental outcomes and psychiatric disorders. A systematic review. Reproductive Health. 17 February 2020.

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย,Thira Woratanarat

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

กุมารแพทย์ห่วง กัญชา ! กระทบสมองเด็กและวัยรุ่น

ไขข้อข้องใจ!! คนท้องกินน้ำกระท่อมได้ไหม ?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up