ในความเป็นจริง น้ำหนักตัวของแม่ท้อง ต้องแบบนี้! เพราะคุณแม่หลายคนยังมีความเชื่อว่า ขณะตั้งครรภ์ควรทานอาหารเผื่อลูกให้มากๆ รวมทั้งเข้าใจผิดเรื่องไม่ควรออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายมากๆ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อลูก จนทำให้คุณแม่มีปัญหาน้ำหนักขึ้นมากเกินไปขณะตั้งครรภ์ ส่งผลเสียทั้งต่อสุขภาพคุณแม่เอง เรื่องการคลอดและสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์
น้ำหนักตัวของแม่ท้อง ต้องแบบนี้
ดังนั้นเพื่อให้ลูกน้อยและคุณแม่สุขภาพดี แม่มีน้ำหนักที่พอดี ไม่เสี่ยงโรคภัย และไม่อ้วน เรามาดูกันว่าขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องมีน้ำหนักเท่าไรกันดี
น้ำหนักตัวคุณแม่ควรขึ้นเท่าไร?
ก่อนที่เราจะทราบว่าน้ำหนักขณะตั้งครรภ์ควรเพิ่มขึ้นเท่าไร ชวนคุณแม่มาคำนวณ ดัชนีมวลกาย(BMI)กันก่อนค่ะ
ดัชนีมวลกาย(BMI) = น้ำหนักคุณแม่ (กก.) หาร/ ความสูง (เมตร2)
ยกตัวอย่างการคำนวณ สมมุติว่าคุณแม่หนัก 50 กก. และสูง 165 ซม.
ก่อนอื่นต้องแปลงส่วนสูงเป็นเมตรก่อนค่ะ
โดย 165 ซม. เท่ากับ 1.65 เมตร
ก็นำค่ามาเทียบในสูตรข้างต้นได้เลย
= 50 / (1.65 x 1.65)
= 50 / 2.72
= 18.38
ค่า BMI ของคุณแม่ก็จะเท่ากับ 18.38 นั่นเองค่ะ
เมื่อคุณแม่คำนวณแล้ว มาดูกันค่ะว่าน้ำหนักตัวคุณแม่ก่อนตั้งครรภ์เป็นอย่างไร และคุณแม่ควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่าไรตลอดการตั้งครรภ์ ?
- ค่า BMI น้อยกว่า 18.5 > คุณแม่มีน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์น้อยกว่าปกติควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 12.5 – 18 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.51 กิโลกรัม
- ค่า BMI 18.5 – 22.9 > คุณแม่มีน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ปกติหรือสมส่วน ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 11.5 – 16 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.42 กิโลกรัม
- ค่า BMI 23 – 29.9 > คุณแม่มีน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์เกินมาตรฐาน ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 7 – 11.5 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.28 กิโลกรัม
- ค่า BMI 30 > คุณแม่มีภาวะอ้วน ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 5 – 9 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.22 กิโลกรัม
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
น้ำหนักของคุณแม่มาจากไหนกันนะ? หากคุณแม่กำลังสงสัยว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาจากอะไร ไปดูกันค่ะ
- ลูกน้อย 2-3.6 กิโลกรัม
- รก 7 กิโลกรัม
- ไขมันสะสม 7-3.6 กิโลกรัม
- เลือดที่เพิ่มขึ้น 0.4 – 1.8 กิโลกรัม
- น้ำคร่ำ 9 กิโลกรัม
- เต้านมที่ขยายใหญ่ 0.45- 1.4 กิโลกรัม
- ขนาดมดลูกที่ใหญ่ขึ้น 9 กิโลกรัม