ฟังเพลงตอนท้อง ช่วยลูกฉลาดจริงหรือ? - amarinbabyandkids
ฟังเพลงตอนท้อง

ฟังเพลงตอนท้อง ช่วยลูกฉลาดจริงหรือ?

Alternative Textaccount_circle
event
ฟังเพลงตอนท้อง
ฟังเพลงตอนท้อง

เลี้ยงลูกด้วยดนตรี ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีให้ลูก

ไม่ใช่เพียงแค่การ ฟังเพลงตอนท้อง จะช่วยให้ลูกน้อยเป็นเด็กอารมณ์ดีแล้ว แต่เมื่อลูกเติบโตขึ้นมา คุณแม่ๆก็ยังสามารถเลี้ยงลูก โดยการให้ลูกได้ซึบซับกับกิจกรรมที่เกี่ยวกับดนตรีได้ เพราะคุณแม่รู้หรือไม่ว่า การเลี้ยงลูกด้วยดนตรี มีข้อดีที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของลูกหลายด้านมากๆค่ะ

  • เสริมสร้างความสามารถในการรับรู้และความสามารถทางภาษา

การใช้เวลากับการเล่นดนตรีสามารถช่วยเสริมความสามารถในการรับรู้ด้านภาษา และส่งผลไปถึงทักษะการอ่านที่ดีด้วย เนื่องจากเสียงดนตรีและคำพูดนั้นมีระบบการทำงานร่วมกัน การเล่นดนตรีบ่อยๆ จึงช่วยฝึกการถอดเสียงและรูปแบบคำต่างๆ ให้ง่ายขึ้น ยิ่งเด็กใช้เวลากับดนตรีนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้สมองส่วนภาษาศาสตร์พัฒนาไปด้วย โดยจะสามารถจำคำศัพท์และมีการรับรู้ด้านการอ่านที่ดี เพราะฉะนั้นคุณแม่ที่อยากให้ลูกมีพัฒนาการด้านการรับรู้สิ่งต่างๆ หรือทักษะทางภาษาและการสื่อสารที่รวดเร็ว ลองมองการเล่นดนตรีไว้เป็นทางเลือกได้เลยค่ะ

  • เสริมสร้างทักษะทางคณิตศาสตร์

คุณแม่อาจจะสงสัยว่า จะช่วยเสริมสร้างทักษะทางคณิตศาสตร์ได้อย่างไร แต่ทักษะการคิดคำนวณสร้างได้ด้วยการเล่นดนตรีจริงๆค่ะ ซึ่งมีงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกา ได้ทดลองแบ่งเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ออกเป็นสองกลุ่ม พบว่าเด็กนักเรียนกลุ่มที่มีประสบการณ์เล่นดนตรี  2 ปีขึ้นไป สามารถทำคะแนนทดสอบคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานได้สูงกว่าเด็กนักเรียนกลุ่มที่ไม่เคยเล่นดนตรีมาก่อน นอกจากนี้ ในกลุ่มที่เคยเล่นดนตรีมาก่อน เด็กที่เล่นคีย์บอร์ดมีคะแนนการทดสอบสูงกว่าเด็กที่เล่นเปียโนและร้องเพลงมาก ดังนั้นหากลูกสนใจเล่นคีย์บอร์ดก็น่าสนับสนุนทีเดียว เพราะเป็นไปได้ว่าเขาจะมีทักษะการคิดคำนวณที่ยอดเยี่ยมตามมาด้วยค่ะ

  • เสริมสร้างพัฒนาการด้านสติปัญญา

การเล่นดนตรีเป็นอีกทางที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาได้ค่ะ ซึ่งมหาวิทยาลัยโทรอนโตแห่งแคนาดา ได้ทำการทดลองแบ่งเด็กออกเป็น 4 กลุ่ม โดย 2 กลุ่มแรกเรียนคีย์บอร์ดและร้องเพลง 5 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลา 7 เดือน  ส่วน 2 กลุ่มหลังทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่การเล่นดนตรี ปรากฏว่าทั้งกลุ่มที่เรียนดนตรีและไม่เรียนดนตรีมีไอคิวสูงขึ้นตามพัฒนาการ แต่ข้อแตกต่างคือ เด็กกลุ่มที่เรียนดนตรีมีไอคิวสูงขึ้นถึง 7 จุด ขณะที่อีกกลุ่มที่ไม่ได้เรียนดนตรีนั้นมีไอคิวเพิ่มขึ้น 4.3 จุด

  • เสริมสร้างด้านสุขภาพและร่างกาย

การเล่นดนตรียังสามารถช่วยเพิ่มทักษะการประสานงานของส่วนต่างๆ ในร่างกายได้ดีด้วยค่ะ การทดสอบทางวิทยาศาสตร์พบว่า ในวัยก่อนเข้าเรียน การเล่นดนตรีมีประโยชน์มากไม่ต่างกับการทำกิจกรรมพละด้วยซ้ำ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัย ที่พบว่าประโยชน์อันน่าทึ่งของการร้องเพลง การเล่นดนตรี มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน หัวใจ การหายใจ และการทำงานของปอด อีกทั้งยังช่วยปรับท่าทางที่ดีขึ้นให้ร่างกายด้วย รวมถึงช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้น ลดความตึงเครียด สนุกสนาน ซึ่งแม้จะทดลองกับผู้ใหญ่แต่ประโยชน์เหล่านี้ก็น่าจะเกิดขึ้นกับเด็กได้เช่นกันค่ะ

  • เสริมสร้างทักษะด้านสังคม

การสนับสนุนให้ลูกเล่นดนตรีนั้น  ยังเป็นการเสริมสร้างทักษะการเข้าสังคมให้ลูกด้วยนะคะ การเล่นดนตรีจะทำให้ลูกรู้สึกประสบความสำเร็จจากความมุ่งมั่น และอดทนที่เกิดจากการฝึกซ้อมจนทำได้ รวมถึงเป็นการสร้างวินัยให้ตัวเองไปในตัว เมื่อทำได้สำเร็จ จึงเกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง และยังส่งผลให้ลูกเติบโตมาเป็นคนที่กล้าแสดงออกอีกด้วย

ทักษะและการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองเหล่านี้ ยังนำไปสู่พัฒนาการทางสังคมของลูกด้วยให้ดียิ่งขึ้นได้ด้วย เพราะการเล่นดนตรีเป็นกลุ่ม จะทำให้ลูกได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น และช่วยสร้างมิตรภาพ ความรู้สึกในการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม ฝึกความมีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบต่อส่วนรวมของลูก

เห็นแล้วใช่ไหมคะแม่ๆ ว่าการส่งเสริมให้ลูกเรียนรู้และทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับดนตรี มีประโยชน์ต่อตัวลูกมากแค่ไหน ซึ่งหากแม่ๆส่งเสริมตั้งแต่ยังเล็ก ก็จะยิ่งดีกับลูกมากๆเลยค่ะ แต่คุณแม่ท่านไหนที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ ก็ ฟังเพลงตอนท้อง ไปก่อนได้เลย แล้วระหว่างนั้นก็ลองศึกษาหากิจกรรมทางดนตรีเผื่อไว้ให้ลูกก็ได้นะคะ

 

ขอบคุณข้อมูล pobpad

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

แม่ท้องรับเพิ่ม ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม เริ่ม 1 พฤษภาคมนี้

แม่ท้องระวัง ไข้มาลาเรีย เป็นแล้วอันตรายถึงชีวิตทั้งแม่และลูก

รวม 5 เมนูสตรอเบอรี่ สูตรเด็ดเพื่อแม่ท้อง

คนท้องดื่มน้ำขิงได้ไหม? เสี่ยงแท้งจริงหรือ?

คนท้องดื่มชาเขียวได้ไหม? ดื่มมากไป เสี่ยงแท้ง จริงหรือ?

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up